บันเทิง

'The Songs of Rice เพลงของข้าว'

'The Songs of Rice เพลงของข้าว'

23 ม.ค. 2558

'The Songs of Rice เพลงของข้าว' : คอลัมน์ เอกเขนกดูหนัง โดย... ณัฐพงษ์ โอฆะพนม

 
 
          ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นใดใดต่อหนังเรื่อง “เพลงของข้าว” หรือ “The Songs of Rice” ลองอ่านถ้อยแถลงของผู้กำกับ คุณอุรุพงศ์
รักษาสัตย์ ที่ประกาศถึงเจตนารมณ์ของตนอย่างเด่นชัดในการทำหนังเรื่องนี้ 
 
          “คงเป็นเพราะยังมีความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องราวของข่าวหลงเหลืออยู่ หลังจากทําภาพยนตร์ เรื่องเล่าจากเมืองเหนือและสวรรค์บ้านนาผมจึงจําเป็นต้องทําต่อให้หมดความแคลงใจเหมือนคนทําหนังไตรภาคอื่นๆ คือถ้าไม่ครบสามตอนมันเหมือนกับว่าจะไปทําอย่างอื่นไม่ได้ ต้องมีเรื่องที่สามเพื่อปิดฉาก ส่วนวันข้างหน้าจะหวนคืนมาทําเรื่องราวเกี่ยวกับข่าวอีกหรือไม้นั้นยังเป็นเรื่องของอนาคตอยู่ เรื่องเล่าจากเมืองเหนือเป็นสารคดีผสมเรื่องแต่งแต่แบ่งเรื่องราวข้างในเป็นบทเล็กๆ ที่ค่อนข้างชัดเจน ส่วนสวรรค์บ้านนาเป็นเรื่องแต่งแต่ใช้รูปแบบการถ่ายทําแบบสารคดีแม้ว่ากลวิธีการพัฒนาเรื่องจะกลับตาลปัตรกันก็ตามที
 
          สําหรับเพลงของข่าวผมตั้งใจที่จะสร้างภาพยนตร์ที่มีลักษณะผ่อนคลายลงไปและเปิดเผยมากขึ้นในแง่ของการทํางานโดยใช้รูปแบบของสารคดีแบบ non-preconception ที่เป็นการบันทึกความจริงที่เผชิญกับเหตุการณ์ที่เพึ่งเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาสําหรับผมเป็นการทําให้สารคดีหายใจได้ด้วยตัวของมันเองราวกับว่าเราไม่ได้แต่งมันขึ้นมาทว่าเราแค่บันทึกชีวิตที่มีอยู่ของมันมากกว่า
 
          การทํางานศิลปะชิ้นหนึ่งเช่นการวาดภาพดอกไม้ด้วยสีน้ำอะไรสําคัญกว่ากันระหว่างภาพดอกไม้ที่วาดเสร็จแล้วบนกระดาษหรือห่วงขณะที่ศิลปินกําลังจุ่มพู่กันลงในถาดสีและป้ายบนกระดาษจนปรากฏภาพดอกไม้ บนนั้นภาพดอกไม้นั้นอาจจะสวยต้องตาต้องใจคนดูแต่โมงยามของการวาดนั้นก็สําคัญกับศิลปินเช่นกันแล้วการสร้างภาพยนตร์และเราหวังผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นภาพยนตร์แล้วหรือว่าเราทําเพราะมันเป็นชีวิตของเราเพื่อที่เราจะได้สัมผัสกับห้วงขณะของการติดต่อกับผู้คนกับแสงที่ตกกระทบกับเลนส์และมาสู่ดวงตาเราในที่สุดกับชีวิตบนโลกที่เคลื่อนตัวอยู่ตรงหน้าเราและความน่าจะเป็นอันหลากหลายของชีวิตของจักรวาลที่อาจจะเกิดตรงหน้า ณ วินาทีนั้นเราคงไม่หวังสิ่งใดมากไปกว่านี้อีกแล้ว
 
          จริงอยู่ที่เราต้องมีกรอบในการทํางานเราวางกรอบให้มันแต่กรอบนั้นอย่างน้อยควรจะมีช่องเล็กๆ บ้างเพื่อระบายอากาศให้มันสัมผัสกับอากาศภายนอกให้มันหายใจเอาอากาศเดียวกันกับผู้คนข้างนอก ศิลปะนั้นจึงจะสื่อสารกับผู้คนข้างนอกผู้คนร่วมโลกได้รู้เรื่อง ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วกรอบนั้นจะเป็นกรงเหล็กที่กักขังศิลปินไว้กับโลกของตัวเองเสียเองโดยตัดขาดกับความจริงข้างนอก” ถ้อยความอรรถาธิบายของผู้กำกับคงจะสร้างความกระจ่างชัดได้ดีที่สุดหากใครที่ได้ชมจะตั้งคำถามถึงหนังเพลงของข้าวทั้งในแง่มุมการนำเสนอเรื่องราวที่ต้องการบอกเล่าออกไปหรือประเด็นที่ตัวหนังต้องการสื่อสารอันที่จริงความงามที่หนังถ่ายทอดผ่านภาพและเสียงที่ชวนให้เพ่งพิศสดับตรับฟังในพิธีกรรมการละเล่นงานรื่นเริงมหรสพหรือประเพณีฯ เกี่ยวกับ “ข้าว” ของผู้คนทั่วทุกภูมิภาคที่ทีมดั้นด้นเดินทางตามไปบันทึกทุกรายละเอียดแต่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งมวลทุกวัฒนธรรมเหล่านั้นล้วนผูกพันกับวิถึชีวิตของคน “ข้าว” ทุกเม็ดประหนึ่งลมหายใจเข้าออก ประคับประคองหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณผู้คนให้ดำรงอยู่ หากบ้านเมืองนี้
 
          คนทำอาชีพปลูกข้าว หรือชาวนาส่วนใหญ่จะประสบแต่ชะตากรรมทุกข์ยาก มีสถานะของคนชายขอบถูกเอารัดเอาเปรียบ ดูหมิ่นเหยียดหยาม ตกเป็นเหยื่อระบบทุนนิยม กลายเป็นทาสพ่อค้าคนกลาง เป็นตุ๊กตาของเล่นนักการเมืองที่เมื่อถึงฤดูเลือกตั้ง ก็จะถูกจับเชิด ยกเป็นตัวประกันในฐานะส่วนหนึ่งของนโยบาย ที่สุดท้ายคำหวานที่ให้ความหวังลมๆ แล้งๆ ก็เป็นฝุ่นไอระเหยไปในที่สุด
 
          ความทุกข์ยากมากคณานับของชาวนาไทย รู้เห็นกันอยู่ตลอดหลายหลายสิบปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปัญหาผลผลิตตกต่ำ ข้าวไม่ได้ราคา ปัญหาเรื่องการรับจำนำและประกันราคา ปัญหาศัตรูพืช ปุ๋ยแพง สารเคมีตกค้าง คุณภาพไม่ได้มาตรฐานจนมีปัญหาต่อการส่งออกฯ เรื่องเหล่านี้ได้ยินกรอกหู ได้เห็นผ่านตา ตามสื่อต่างๆ แทบทุกวันจนไม่จำเป็นต้องบอกเล่าซ้ำๆ ผ่านหนังอีก (หนังเรื่องก่อนหน้าของ 
 
          ผู้กำกับ อุรุพงศ์ อย่าง เรื่องเล่าจากเมืองเหนือ และสวรรค์บ้านนา ก็สะท้อนปัญหาเหล่านี้) และถ้าหากการปลอบประโลมและยกคุณค่าของ “ข้าว” ทั้งในฐานะทิพยแห่งอาหาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หล่อเลี้ยงชีวิตควรแก่การเคารพบูชาผ่านพิธีกรรม ประเพณี ตามวิถีวัฒนธรรมและความเชื่อของผู้คนแต่ละท้องถิ่น “เพลงของข้าว” กำลังทำหน้าที่นี้อย่างทรนงองอาจ ถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้นอย่างหมดจดงดงาม ตั้งแต่ประเพณีทางภาคอีสาน บุญข้าวสาก บุญข้าวจี่ บุญผะเหวด ที่มีข้าวเหนียวเป็นพุทธบูชา การละเล่นหลังฤดูเก็บเกี่ยวในประเพณีบั้งไฟตะไลล้านของอ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ประเพณีบุญบั้งไฟขอฝนทำนาของชาวยโสธร ประเพณีวิ่งควายหลังฤดูไถหว่านในจ.ชลบุรี ประเพณีกวนข้าวทิพย์ของชาวสงขลา หรือการลงแขกเกี่ยวข้าว ปักดำหว่านไถในภาคเหนือและอีสาน (แม้บางพื้นที่จะใช้เครื่องจักรกลแทนแรงคนและแรงควายแล้วก็ตาม)
 
          ไม่เพียงความงามที่หนังถ่ายทอดวิถีวัฒนธรรมที่เกี่ยวพันกับเกษตรกรรม ชาวนา และเมล็ดข้าว ผ่านภาพและเสียงเท่านั้น หากแต่ตลอดเวลากว่า 75 นาที “เพลงของข้าว” ยังสะท้อนให้เห็นถึงความมีชีวิตชีวา จิตวิญญาณของผู้คนที่เชื่อมโยง กระหวัดรัดเกี่ยวเข้าด้วยกันผ่านประเพณีในแต่ละแหล่งแห่งที่แม้จะห่างกันไกล แตกต่างกันตามแต่สภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละภูมิภาค แต่เหมือนว่าคนเหล่านั้นต่างร่วมร้องเล่น “เพลงของข้าว” ไปด้วยกันอย่างมีความสุข ถือเป็นฤกษ์งามยามดีของวงการหนังไทยที่เปิดต้นปีด้วยหนังที่เชื่อว่าทุกคนดูแล้วต้องมีความสุขกลับไปไม่มากก็น้อย
 
.......................................
(หมายเหตุ 'The Songs of Rice เพลงของข้าว' : คอลัมน์ เอกเขนกดูหนัง โดย... ณัฐพงษ์ โอฆะพนม)