
รู้ทันกฎหมาย - หุ้นส่วนถอนตัว
หลายคนคิดว่าทำธุรกิจน่าจะรุ่งกว่ารับราชการ แม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้างแต่ถ้าสำเร็จก็รวยเข็ดไปเลย ดีกว่าเป็นมนุษย์เงินเดือนเสียอีก แต่ครั้นจะทำคนเดียวมันก็หวาดเสียวไปหน่อย หาหุ้นส่วนชวนมารวยมาเสี่ยงด้วยก็ไม่เลว สองมันสมองสองแรงกาย น่าจะทำให้กิจการรุ่งเรืองไ
การเข้าหุ้นทำการค้าถือว่าหุ้นส่วนมีความผูกพันตามกฎหมาย ทั้งสิทธิและหน้าที่ต่อกันที่ต้องแบ่งปันขาดทุนและกำไร ช่วยกันคิด ช่วยกันบริหาร แบ่งสรรหน้าที่ทำงาน และการตัดสินใจ
แต่แล้วก็มักจะมีเรื่องไม่ถูกใจ ถ้าเป็นเรื่องเล็กก็ไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเรื่องใหญ่อาจขยายกลายเป็นทะเลาะ เพราะไม่ตกลงกันไว้ให้ชัดเจนตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มเป็นหุ้นส่วนกัน
ไหนจะมีการออกเงินช่วยกันไปในระหว่างที่ทำกิจการร่วมกันดีๆ บางทีก็อาจมีซื้อข้าวของเครื่องใช้เข้ามาใส่ในออฟฟิศ ไม่คิดอะไรกันมาก อยากได้กำไรอย่างเดียว
เวลาลงบัญชีก็เลยไม่มีการทำเป็นที่ชัดเจน แล้วก็ต้องมาเถียงว่าเงินที่ให้มันเป็นเงินยืมของกิจการหรือเป็นเงินทุนที่ลงหุ้นเพิ่มขึ้น ฝ่ายไหนได้เปรียบอย่างไรก็จะอ้างให้เข้าข้างตัว
ตอนแยกตัวก็ไม่ควรต้องให้ถึงกับเลิกคบกัน แม้จะไม่ถึงกับตัดสัมพันธ์ด้านธุรกิจเท่านั้น มันก็ไม่ง่ายที่จะแยกตัวจากไป มีใครเคยบอกว่าเลิกกับสามีหรือภรรยาตัวเองยังง่ายกว่าเลิกห้างเลิกหุ้นด้วยซ้ำป
อย่าลืมว่า เรื่องนี้มันไม่ใช่เพียงแค่หุ้นส่วนด้วยกัน ยังมีอะไรต่ออะไรในธุรกิจที่ต้องคิดสะสางไม่ว่าจะเป็นลูกค้า หรือว่าเจ้าหนี้ทางการค้าอีกเท่าไหร่ แล้วจะปิดร้านเลิกไป มันไม่ใช่เรื่อง
การเข้าหุ้นส่วนใหญ่หรือทั่วๆ ไปก็จะใช้ลงขันลงเงิน ใครลงเท่าไหร่ เวลาแบ่งกำไรก็จะได้ตามสัดส่วนนั้น ทุกคนก็ฝันแต่กำไร หาได้คิดให้อัปมงคลว่าจะอับจนขาดทุน
ธุรกิจทั้งหลายกว่าจะได้กำไรก็ต้องใช้เวลา ถ้าถอดใจรอไม่ไหวจะถอนหุ้นคืนดื้อๆ ไม่ได้ เพราะเงินที่ลงไปก็ใช้ในกิจการเสียแล้ว
ถ้าใครอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องการแยกวง ก็ต้องให้ลงตัวตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้ทำได้แต่ต้องมีขั้นตอนและเวลา
ที่แน่ๆ ก็คือ ต้องบอกให้บรรดาหุ้นส่วนทั้งหลายรับทราบเสียก่อน โดยต้องบอกก่อนล่วงหน้าจะสิ้นรอบระยะเวลาทางบัญชีของกิจการไม่น้อยกว่า 6 เดือน
เลิกกันแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะรับเงินที่ลงทุนมาคืนไป ต้องสะสางบัญชีกำไรขาดทุนกัน หนี้สินทั้งหลายที่มีต่อลูกค้าอย่างไรก็ต้องเคลียร์ให้ลงตัว จากนั้นค่อยมาว่ากันไปถ้าเงินเหลือเพื่อจะได้แบ่งกันไปตามส่วน
ในทางกลับกัน ถ้าบัญชีมันมีตัวแดงติดอยู่ คือมีหนี้ค้างชำระอยู่กับลูกค้าหรือบุคคลภายนอกที่ไหน แล้วเงินของห้างไม่พอจ่าย ก็ต้องควักกระเป๋ากันถ้วนทั่วทุกตัวหุ้นส่วน ตามสัดส่วนที่เข้าหุ้นกัน
ไม่ว่าจะมีหุ้นส่วนกี่คน ลองต้องการเลิกสักคนเมื่อไหร่ กฎหมายก็ถือว่าสัญญาหุ้นส่วนเป็นอันเลิกกัน แม้จะไม่ได้เซ็นสัญญากันเป็นเรื่องราวก็ตามที
แบบนี้หุ้นส่วนคนอื่นๆ ที่กำลังมันกับการทำธุรกิจ ไม่คิดว่าจะมีวันนี้ก็อาจยังอยากที่จะทำต่อไป กฎหมายก็ยังเปิดช่องให้โดยใช้วิธีเจรจาตกลงราคาซื้อหุ้นของคนนั้นไป
ดังนั้น จึงต้องจำให้ขึ้นใจ เมื่อเริ่มเข้าหุ้นกับใครต้องคุยเรื่องส่วนของตนให้ชัดเจน ระหว่างทำกิจการก็ลงบัญชีให้มีหลักฐาน ว่าเงินค่าอะไร ของใคร เท่าไหร่ และอย่างไร...
เพื่อที่ว่าเวลาแยกวงจากกันไป ก็สามารถจัดการเช็กบิลกันได้แบบไม่ต้องการเป็นศัตรูกัน
"ศรัณยา ไชยสุต"