บันเทิง

มองนอกดูใน - “โลกกำลังต้องการพระธรรมนำทาง”

มองนอกดูใน - “โลกกำลังต้องการพระธรรมนำทาง”

22 มิ.ย. 2554

การประชุมนานาชาติศากยธิดาเพื่อพุทธสาวิกา ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 12-18 มิถุนายน ซึ่งเสถียรธรรมสถานเป็นเจ้าบ้านในการจัดประชุม ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยในภาคบ่าย คณะผู้เข้าร่วมประชุมฯ ได้เดินทางไปชมศิลปวัฒนธรรมไทย ณ วัดพระแก้ว และเช้าวันรุ

   ตลอดเวลา 1 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเปิดใจกว้างและวางอคติ ทุกเวทีเสวนา อันได้แก่ พุทธสาวิกาผู้อาจหาญ, ทิศทางใหม่ของการปฏิรูปสังคมพุทธศาสนิกชน, พุทธสาวิกากับความยั่งยืนของโลก, หลากหลายรูปแบบแห่งความกรุณา, พุทธสาวิกาในฐานะบัณฑิตและนักการศึกษา, ‘จิตสงบ, โลกสงบ’, วาทะจากนานาศาสนา, จริยธรรมศึกษา, ย้อนประเด็นภิกษุณี, นายธรรมะ, น.ส. สังสาระ : ต้นแบบที่ท้าทาย (ซึ่งมีล่ามแปล : อังกฤษ, เวียดนาม, เกาหลี, จีน และไทย) ต่างได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ทั้งผู้เข้าร่วมประชุม และผู้สนใจที่ลงทะเบียนเข้ารับฟัง

 สำหรับเวิร์กช็อป-กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพลังจิตวิญญาณ ทั้งโดยองค์กรศากยธิดานานาชาติเพื่อพุทธสาวิกาและเสถียรธรรมสถาน ก็ล้วนได้รับความสนใจ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมต่างๆ เพื่อเจริญเมตตา, แนวคิดความเป็นคนและคุณค่าแห่งชีวิต, เส้นทางแห่งการตื่นรู้แห่งความเป็นผู้นำ, พัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำทางธรรม, การรับมือกับความขัดแย้ง...สู้ผู้นำสันติภาพ, ฟังอย่างมีสติ, การสงบจิตและอารมณ์, อานาปานสติกับศิลปะ, สุขภาพดีทั้งกายใจ...การรมยาและไทชิ, โยคะแห่งสติ การปลดปล่อยกายและจิตให้เป็นอิสระ, จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์, โรงเรียนพ่อแม่, เมล็ดพันธุ์แห่งปัญญาของเยาวชน, ศิลปะการพัฒนาชีวิตด้วยอานาปานสติภาวนา, ธรรมาศรม : อาศรมเพื่อเรียนรู้การพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพด้วยธรรมโอสถและธรรมชาติบำบัด, อโรคยาศาล พ้นมะเร็งด้วยพลังแห่งรักและเมตตา  และ การยุติความรุนแรงในใจสู่มรรคาแห่งการหลุดพ้น

 และในเวิร์กชอปเรื่อง ‘การยุติความรุนแรงในใจสู่มรรคาแห่งการหลุดพ้น’  แม่ชีพม่า 2 ท่านซึ่งมีโอกาสได้พบกันเมื่อครั้งเสถียรธรรมสถานนำสิ่งของไปช่วยตอนถูกพายุนาร์กิสถล่มได้กล่าวกับข้าพเจ้าว่า เมื่อเห็นข้าพเจ้าเยียวยาบัว (ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย จากดีวีดี ‘วันที่บัว...บาน’ แล้ว) ทำให้เกิดคำถามว่าข้าพเจ้าทำได้อย่างไร เนื่องจากบัวต้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลที่มีคนไข้มากมาย ข้าพเจ้าจึงบอกเธอว่า ให้มองว่างานเป็นฐานแห่งการภาวนา อย่ามองว่างานเป็นภาระ เมื่อไม่ได้มองว่างานเป็นภาระไม่ได้ทำภารกิจ เราทำพุทธกิจ แม่ไม่ได้ทำงานเป็นภาระเลย และเมื่อไม่ได้มองว่างานเป็นภาระ ข้าพเจ้าจึงไม่ได้กำลังทำ ‘ภารกิจ’ หากแต่ทำ ‘พุทธกิจ’ และออกจากการทำงานที่เป็น ‘พันธกิจ’ คือการแบ่งปันผลประโยชน์ ปัจจุบันงานของข้าพเจ้าทุกชิ้นเป็น ‘พุทธกิจ’ คือกิจที่สงบเย็นและเป็นประโยชน์ ทุกวันนี้ข้าพเจ้าจึงต้องขอบคุณงานทุกชิ้นที่ได้ทำ

 ในฐานะเจ้าของสถานที่ในการจัดการประชุม  การประชุมในครั้งนี้สำเร็จลงได้ด้วยดีด้วยความเสียสละของสมาชิกชุมชนเสถียรธรรมสถาน และและบรรดาอาสาสมัครของเรา ข้าพเจ้าจึงขอโอกาสใช้วันที่ 18 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมฯ ในการแสดงความชื่นชมและยินดีต่อการเสียสละของสมาชิกชุมชนและอาสาสมัครทุกชีวิต ด้วยการชักชวนให้ทุกคนเข้ามาเป็นหนึ่งในหัวใจของ ‘ผู้หญิงพันมือ’ ด้วยว่าถ้าเรามีผู้หญิงจำนวน 500 คน (จาก 34 ประเทศ) แล้วเราส่งหัวใจของเราผ่านมือสองมือไปถึงเพื่อนๆ ของเราทั้งซ้ายขวา เราจะได้ ‘ผู้หญิงพันมือ’ ที่จะออกไปทำงานเพื่อโลกใบนี้ ซึ่งกล่าวได้ว่า ไม่ใช่เฉพาะพุทธเท่านั้นที่จับมือกับเรา เพื่อนคริสต์ เพื่อนมุสลิมก็อยู่กับเราด้วย...อย่างไม่มีความหวาดระแวงต่อกัน

 ในกฎของกรรมในพุทธศาสนา คนเราจะเหมือนหรือต่างกันก็อยู่ที่กรรม ไม่ใช่อยู่ที่การเกิดมาอยู่ในวรรณะใด ถ้าทำชั่วก็ได้กรรมในฝ่ายอกุศลวิบากกรรม ถ้าทำดีก็ได้กุศลวิบากกรรม...การกระทำจึงเป็นตัวกำหนดชีวิตของเรา ไม่ใช่ความเป็นสมมติที่ถูกเรียกว่าเราคือใคร

 วันนี้...การประชุมนานาชาติศากยธิดาเพื่อพุทธสาวิกา ครั้งที่ 12 ได้จบลงแล้ว แต่งานเผยแผ่พระธรรมของเหล่าศากยธิดาจะยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด...

 เฉกเช่นที่ ท่านเทนซิน พัลโม ได้กล่าวไว้ในการเปิดงาน ‘ผู้หญิงหัวใจแม่ หัวใจโพธิสัตว์ ผู้หญิงพันมือ’ ว่า

 “นี่คือช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่เพื่อนพุทธสาวิกาผู้งดงามจากหลากหลายประเทศทั่วโลกได้มารวมตัวกันในสังฆะแห่งพุทธะ เพื่อนพุทธสาวิกาต่างเบิกบานในธรรม และนำความจริงแท้แห่งพระธรรมเผยแผ่สู่โลกในเวลาที่โลกกำลังต้องการพระธรรมนำทางอย่างยิ่ง ในความเป็นจริงที่เผชิญ คือ โลกกำลังโหยหาเสียงของผู้หญิง และพระธรรมจะเผยแผ่สู่โลกด้วยเสียงของผู้หญิง...

 “ข้าพเจ้าในนามของเพื่อนพุทธสาวิกา ขอเชิญชวนผู้หญิงมาร่วมกันทำงานเพื่อพระธรรม ประหนึ่งร่วมกันขับร้องบทเพลงแห่งธรรมเพื่อโลกนี้ด้วยกัน”
ธรรมสวัสดี