โควิด-19

ทำไม "โควิด19" กลับมาระบาด ช่วง ฤดูหนาว หลังพบ ผู้ติดเชื้อ สูงขึ้นต่อเนื่อง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดข้อมูล ทำไม "โควิด19" ถึงกลับมาระบาด ระลอกใหม่ ในช่วง ฤดูหนาว หลังพบยอด ผู้ติดเชื้อ เพิ่มขึ้น คาดสูงขึ้นถึงต้นปีหน้า พร้อมจับตา สายพันธุ์ลูกผสมที่มีการกลายพันธุ์ออกมาเรื่อยๆ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ "โควิด19" ที่ดูจะเริ่มเบาบางลงในช่วงเดือนกันยายน - เดือนตุลาคม ซึ่งถือว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงในช่วงปลายฤดูฝนนั้น เมื่อเข้าสู่ช่วง ฤดูหนาว ในเดือนพฤศจิกายน กลับพบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อมียอดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของแพทย์หลายท่าน

 

 

เมื่อ "โควิด19" เข้าสู่โรคประจำฤดูกาลแล้ว สิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ จำนวนผู้ติดเชื้อที่จะต้องมีมากขึ้น เพราะมาตรการที่มีการผ่อนคลายลง รวมไปถึงการป้องกันที่ดูจะลดลงตามไปด้วย ยิ่งเมื่อเข้าสู่ ฤดูหนาว ตามสภาพอากาศ ที่เชื้อไวรัส สามารถอยู่ได้นานและแพร่กระจายได้มากขึ้น จึงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

 

ยอดผู้ติดเชื้อ "โควิด19" เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

 

ซึ่งจากตัวเลขผู้ติดเชื้อล่าสุด จาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 6-12 พฤศจิกายน 2565 ประเทศไทย พบผู้ป่วย "โควิด19" รวม 3,166 ราย เฉลี่ย 452 รายต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 12.8% มีผู้เสียชีวิต 42 ราย แนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยว

 

ซึ่งทาง กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งโครงการรณรงค์ฉีด วัคซีนโควิด โดยมีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 2 ล้านโดส ภายในเดือนธันวาคม 2565 เพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะเด็กเล็ก และเข็มกระตุ้นในกลุ่ม 608 เพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนักและเสียชีวิต

 

โดย นพ.สุเทพ เพชรมาก หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า มี วัคซีน เพียงพอ เข้าถึงได้ง่าย ขอให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่ม 608 ที่ฉีดเข็มล่าสุดมากกว่า 4 เดือนขึ้นไป มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น ที่หน่วยบริการวัคซีนใกล้บ้าน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียม ยาต้านไวรัส เวชภัณฑ์ วัคซีน รวมทั้ง LAAB ไว้เพียงพอ เพื่อรองรับการระบาดของโรค

 

 

เตือน ซุปโอไมครอน อาจนำระบาดระลอกใหม่

 

ด้าน ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เปิดข้อมูลถึง ซุปโอไมครอน (A soup of omicron subvariants) ซึ่งถูกเรียกขานมาจากผู้เชี่ยวชาญ "โควิด19" ทั่วโลกบ่งชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายตามธรรมชาติของการกลายพันธุ์ของ ไวรัสโคโรนา 2019 ที่เปลี่ยนไปในยุคของ โอไมครอน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ (new wave) ในแต่ละภูมิภาคด้วยสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกัน

 

โควิด19

 

จับตา เดลทาครอน XBC สายพันธุ์ลูกผสม

 

ขณะที่ล่าสุด ต้องเฝ้าระวัง สายพันธุ์ เดลทาครอน XBC ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง เดลตา และ โอไมครอน BA.2 พบระบาดในฟิลิปปินส์หลายราย กลายพันธุ์ไปมากกว่า XBB และ BQ.1 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจับตามอง เดลทาครอน โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของ "โควิด19" ปลายปีที่ 3 ซึ่ง โอไมครอน กำลังอ่อนกำลังลง และดูเหมือน เดลทาครอน หลายสายพันธุ์กำลังระบาดขึ้นมาแทนที่ เช่น XBC, XAY, XBA และ XAW โดยเฉพาะ เดลทาครอน XBC มีการกลายพันธุ์ต่างไปจาก "โควิด19" สายพันธ์ดั้งเดิม อู่ฮั่น มากที่สุดถึงกว่า 130 ตำแหน่ง

 

 

แนวโน้มผู้ติดเชื้อสูงขึ้นในช่วงปลายปีจนถึงต้นปี

 

ด้าน หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงการแพร่ระบาดของ "โควิด19" ซึ่งมีแนวโน้มพบเพิ่มสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ เมื่อเข้าสู่โรคตามฤดูกาล การระบาดของโรคสำหรับประเทศไทยจะพบมากในฤดูฝน และช่วงปลายปีจนถึงต้นปี อีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับการระบาดในสมัยไข้หวัดใหญ่ 2009 อย่างไรก็ตามความรุนแรงของโรคจะลดลง ทั้งนี้เพราะประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน และการติดเชื้อ

 

ขณะเดียวกัน มียาที่ใช้รักษาที่ดีขึ้นกว่าในช่วงแรกๆ มาก คือ monulpiravia paxlovid และ remdicevir เช่นเดียวกับสมัยไข้หวัดใหญ่ 2009 เรามี oseltamivir และวัคซีนเข้ามาปลายปี ในปัจจุบันยาสำหรับ "โควิด19" ก็หาได้ง่ายขึ้น กว่าเมื่อต้นปีมาก 

 

จำนวนการฉีดวัคซีนขณะนี้ น้อยกว่าธรรมชาติที่ฉีดวัคซีนให้หรือการติดเชื้อนั่นเอง ซึ่งเมื่อรวมกันก็จะทำให้ภูมิในประชากรเพิ่มมากขึ้น

 

โดยหลักการแล้วเราอยากให้ประชากรไทยได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ได้ไม่แตกต่างกัน และใครที่ได้มากกว่า 3 เข็มแล้ว ถ้าเข็มสุดท้ายได้รับมาแล้วนานเกินกว่า 6 เดือน ระดับภูมิต้านทานที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอ ก็ควรจะได้รับการกระตุ้น อีกครั้งหนึ่ง

 

ขณะนี้มีวัคซีนไม่ได้ขาดแคลน จึงอยากเชิญชวนให้กลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มที่เมื่อเป็นโรคแล้วจะรุนแรง ควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นได้แล้ว ถ้าฉีดเข็มสุดท้ายมาเป็นเวลานานแล้ว 4 ถึง 6 เดือนขึ้นไป ก็ควรได้รับการกระตุ้น เพื่อช่วยความจำของร่างกาย เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน 

 

วัคซีนโควิด

 

 

การระบาดอาจยาวถึงเดือนกุมภาพันธ์

 

การระบาดในครั้งนี้จะยาวไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ และหลังจากนั้นก็จะเริ่มลดลง ต่ำมากๆ แล้วจะไปเพิ่มอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน ซึ่งคาดว่าในปีหน้า ประชากรเกือบทั้งหมดก็น่าจะมีภูมิต้านทานแล้ว

 

ดังนั้นในขณะนี้ถ้าไม่ได้กระตุ้นด้วยวัคซีน ธรรมชาติหรือการติดเชื้อก็จะกระตุ้นให้ การติดเชื้ออาการแทรกซ้อนก็จะมากกว่าการฉีดวัคซีน

 

 

"โควิด19" ยุคปลายปี 2022 ไปปีหน้า

 

ขณะที่ "หมอดื้อ" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ "โควิด19" ในช่วงปลายปี 2022 

 

1. ไม่จบ ติดใหม่แน่ เพราะไวรัสผันตัวไป หนีภูมิ ที่สร้างจากวัคซีนทั้งหมด และที่ได้จากการติดเชื้อตามธรรมชาติ ขณะนี้มีหลากหลายเช่น BQ.1, BQ.1.1, XBB, และ XBB.1 เป็นต้น

 

2. วัคซีนชุดใหม่ที่สร้างจาก โอไมครอน อาจหยุดสายย่อยเหล่านี้ และในอนาคตไม่ได้ 
(รายงาน สถานการณ์ โควิด ของจอห์นส ฮอปกินส์) ทั้งไม่ว่า mRNA 3 เข็ม หรือ 4 เข็ม

3 เข็ม บวก 1 วัคซีนใหม่ โอไมครอน
3 เข็ม บวก  ติดเชื้อ BA.2
3 เข็ม  บวก  ติดเชื้อ BA.4/.5
(กลุ่มสุดท้ายดูจะดีกว่าเพื่อน)

 

เนื่องจาก ภูมิที่ได้จาก การติดเชื้อหรือวัคซีนทั้งหมด รวม ของยุคใหม่ โอไมครอน จะไปจงรักภักดี สร้างภูมิต่อ ไวรัสอู๋ฮั่น (immune imprinting) โดยได้ ภูมิต่อต้านโอไมครอนสายย่อยใหม่ไม่มาก จาก hybrid immune damping effect
 

3. ต้อง "จิตตก" มั้ย? ยังก่อน แม้ติดได้ แต่คอยสังเกตุ ว่ารุนแรงขึ้นมั้ย ง่ายๆ ดูจากคนรอบๆ ตัวก็รู้

 

4. ติดแล้วทำอย่างไร? เราก็ใช้สูตรเดิม มีฟ้าทะลายโจรอยู่แล้วไม่ใช่หรือ 60 มก (เด็ก 10 มก) แอนโดรกราโฟไลท์ เช้า กลางวันและเย็น ไปห้าวันกินทันที เมื่อไม่สบาย (กระทรวงสาธารณสุขรับรองการใช้ ไม่ใช่ขัอมูลปลอม) ทั้งนี้เนื่องจากสมุนไพรของไทยเราออกฤทธิ์ที่หลายขั้นตอนในการต่อต้านไวรัสไม่ใช่ขั้นตอนเดี่ยว แบบยาปัจจุบัน

 

5. แล้วทำไม ไม่ใช้ฟาวิพิราเวียร์ โมลนูพิราเวียร์ แพกซ์โลวิด ไปเลย หรือไปฉีด แอนติบอดี และ evusheld กันล่วงหน้า? จากหลักฐานข้อ (2) สายย่อยใหม่ แสดงพลังดื้อยาเหล่านี้มากขึ้นเรื่อยๆแลัว ตามรอย ที่ปลาย ปี 2020 เริ่มดื้อ ฟาวิ เป็นตันมาดังนั้น ฟ้า ก่อน 2 วันเอาไม่อยู่ ต่อมอลนู ก็ได้ แต่มอลนู และ แพกซ์ มี rebound กลับขึ้นมาใหม่ ได้ภายใน 28 วัน ระวังการใช้แอนติบอดี เพราะ มีการประกาศ เลิกใช้เกือบหมดทุกตัวแล้ว ในต่างประเทศ 

 

6. ต้องปิดบ้านล็อคดาวน์มั้ย? ไม่น่าแล้ว เพราะไม่เหมือนสมัย 2020 ตอนนี้คนน่าจะอดตาย กันหมด ปรับตัวตามสถานการณ์ ถ้าสายย่อยทำท่า รุนแรงก็วินัยเคร่งครัดมากขึ้น ติดตัวด้วย ฟ้าทะลายโจรและยาอื่นๆ ไว้

 

7. วัคซีน คือคำตอบสุดท้าย? ขณะนี้คงไม่ใช่ ย้ำ …ถ้าจะฉีดไม่ใช่เรื่องเสียหาย ตามความสมัครใจ ภาวนาอย่าให้แพ้ ถึงเวลาใช้ชีวิตแบบปกติตามสถานการณ์ได้แล้ว

 

โควิด19

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ