"โอไมครอน" XBB แพร่เร็ว แรง แค่ไหน ? ระบาด สิงคโปร์ ต่อเนื่อง ขณะ ไทยเจอแล้ว 2 ราย
เปิดข้อมูล "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย XBB แพร่เชื้อเร็ว รุนแแรง แค่ไหน หลัง พบระบาดที่ สิงคโปร์ ต่อเนื่อง ขณะ ประเทศไทยเจอแล้ว 2 ราย
ภายหลังที่ ได้มีการออกมารายงานว่า ประเทศไทย พบผู้ป่วยติดเชื้อ "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย XBB 2 ราย ซึ่งรายแรกเป็นหญิงต่างชาติอายุ 60 ปี เดินทางมาจากฮ่องกง ส่วนรายที่ 2 เป็นคนไทยอายุ 49 ปี เดินทางมาจากสิงคโปร์ ซึ่งทั้ง 2 ราย อาการไม่มากและหายเป็นปกติแล้ว ซึ่งล่าสุด ได้มีการแพร่ระบาด สายพันธุ์ย่อย XBB ที่ ประเทศสิงคโปร์ อย่างต่อเนื่อง แต่พบว่ามีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล น้อยกว่า ผู้ติดเชื้อ "โอไมครอน" BA.5 ที่ระบาดมาก่อนหน้าถึง 30%
กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ได้ชี้แจงเรื่อง "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย XBB ผ่านเว็บไซต์ของกระทรวงฯดังนี้
- ไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์บ่งชี้ว่า "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย XBB จะก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงไปกว่า "โอไมครอน" สายพันธุ์ดั้งเดิม ข้อมูลในพื้นที่ของ สิงคโปร์ ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าผู้ติดเชื้อ "โอไมครอน" XBB กลับมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยกว่า "โอไมครอน" BA.5 (ซึ่งระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้) ถึง 30%
- ไม่พบการเสียชีวิตจากผู้ติดเชื้อ โควิด19 เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนที่ผ่าน
- ข้อมูลจากสาธารณสุขสิงคโปร์ในรอบ 28 วันที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 120,575 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรงถึงร้อยละ 99.8%,
กลุ่มที่ต้องให้ออกซิเจนร้อยละ 0.2% ผู้ที่ต้องเข้ารักษาตัวใน ICU ร้อยละ 0.03 และเสียชีวิตเพียงร้อยละ 0.02 ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ที่มิได้รับวัคซีน หรือรับไม่ครบโดส หรือไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น
แม้จะมีโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย XBB แพร่เพิ่มจำนวนใน สิงคโปร์ แต่จากข้อมูลในแต่ละท้องถิ่นของ สิงคโปร์ ขณะนี้ยังไม่พบผู้เจ็บป่วยที่ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. และ เสียชีวิตเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ปัจจัยหลักน่าจะมาจากประเทศสิงคโปร์มีจำนวนผู้รับวัคซีนครบโดสถึงร้อยละ 92% และได้รับเข็มกระตุ้นถึงร้อยละ 79
ดังนั้นการฉีดวัคซีนครบโดส และการฉีดเข็มกระตุ้นจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะ โควิด19 ยังคงอยู่กับเราไปอีกระยะหนึ่งสังเกตจากยังมี "โอไมครอน" สายพันธุ์ใหม่อุบัติขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เช่น BQ.1.1, BF.7, BA.2.3.20, BA.2.75.2, BN.1, และ XBB
ทาง ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ได้ประสานกับศูนย์จีโนมสิงคโปร์แบบเรียลไทม์ได้รับการยืนยันเช่นกันว่าขณะนี้ยังไม่พบ ผู้เจ็บป่วยติดเชื้อ "โอไมครอน" XBB ที่ต้องเข้ารักษาตัวใน รพ. และ เสียชีวิตเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่เพื่อความไม่ประมาทยังเฝ้าติดตามการกลายพันธุ์ของโอไมครอนสายพันธุ์ต่างๆอย่างใกล้ชิดต่อไป
โดย ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม อนุมานได้ว่า XBB จะมีความสามารถในการแพร่กระจายเป็นวงกว้างจนเกิดการระบาดระลอกที่ชัดเจนขึ้น ไวรัส XBB หนีภูมิคุ้มกันได้ดี และ แพร่กระจายได้ไวขึ้นกว่า สายพันธุ์ BA.5 ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่เดิม แต่ความรุนแรงของโรคดูเหมือนจะไม่ได้มีผลกระทบในประชากรทั่วไปที่มีสุขภาพแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันจาก วัคซีน แต่ถ้าไวรัสเข้าไปส่งผลในกลุ่มเปราะบาง เช่นกลุ่มผู้สูงอายุซึ่ง ภูมิคุ้มกัน ไม่แข็งแรง และ ตกไวกว่าปกติ จะสามารถเห็นความรุนแรงของไวรัสดังกล่าวได้
ข้อมูลจาก www.moh.gov.sg
ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w