โควิด-19

1 ต.ค. มาตรการ "โควิด19" อะไรเปลี่ยนไปบ้าง ถึงเวลากลับมาใช้ชีวิตแบบปกติ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

1 ต.ค. มาตรการป้องกัน "โควิด19" อะไรเปลี่ยนไปบ้าง เช็คลิสต์วางแผนเตรียมกลับมาให้ชีวิตแบบปกติ 6 ข้อสำคัญต้องรู้หลังจากนี้

นานกว่า 3 ปี ที่เราต้องเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของ "โควิด19" การระบาดใหญ่นั้นเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 ตอดระยะเวลา 3 ปีของการระบาดส่งผลให้รูปแบบการดำเนินกิจกรรม วิถีชีวิต การคิดค้นวัคซีน และ ยารักษาโควิด ถูกปรับเปลี่ยน และพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ตอบสนองกับสถานกาณ์มาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนทั่วไปต้องใช้ชีวิตภายใต้การสวมหน้ากากอนามัย การทำงาน การเรียน ถูกปรับให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์หมด การทำกิจกรรมต่าง ๆ  ถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้มาตรการเว้นระยะห่าง งดเว้นการเคลื่อนหรือเดินทางออกนอกพื้นที่ หลายประเทศใช้มาตรการปิดเมือง เพื่อควบคุมไม่ให้เชื้อรุกลาม และลดอัตราการติดเชื้อของคนในประเทศให้ได้มากที่สุด 

ปัจจุบันวิกฤตโรคระบาด "โควิด19" ได้เริ่มคลี่คลายลงอย่างมาก หลาย ๆ ประเทศเริ่มออกมาตรการให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตไปกับ "โควิด19" ให้ได้อย่างดีที่สุดไปพร้อม ๆ กับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ประเทศไทยเองได้เริ่มลดมาตรการป้องกัน "โควิด19" ลงเช่นเดียวกัน เนื่องจากสถานการณ์ ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวัน อัตราการเสียชีวิต หรือป่วยหนักจาก "โควิด19" ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 นี้ ประเทศไทยจึงเริ่มผ่อนคลาย และปลดล็อกมาตรการป้องกันการระบาดของโควิด โดยนับตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป สิ่งที่จะปรับเปลี่ยนต่อจากนี้ ถือว่าเป็นสัญญาณสำคัญที่บ่งบอกว่าการระบาดของ "โควิด19" กำลังจะสิ้นสุดลงแล้ว 

สำหรับการเปลี่ยนมาตรการควบคุมการระบาดของ  "โควิด19"  ที่ทางรัฐบาล ได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่านับตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป มีดังนี้ 

 

1.ยกเลิก โควิด19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตราย และกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องมากจากสถานการณ์การระบาดทั่วโลก มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตลดลง ประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง มีภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น จึงสมควรปรับมาตรการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในประเทศและสถานการณ์ปัจจุบัน 

 

2.ผู้ติดเชื้อ โควิด19 ให้เข้ารับการรักษาตัวตามสิทธิการรักษาพยาบาล
เป็นสิทธิบัตรทอง : สามารถติดต่อที่เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข, คลินิกชุมชนอบอุ่น, หน่วยบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาล ตามนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่, สถานพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ หรือ ร้านยาในโครงการ "เจอ แจก จบ" 
 

สิทธิประกันสังคม : ผู้มีสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตนที่มีอาการป่วยไม่รุนแรงรักษาแบบเจอ แจก จบ ณ สถานพยาบาลประกันสังคมและ สถานพยาบาลที่ร่วมให้บริการของรัฐและเอกชนทุกแห่ง คลินิกและร้านยา ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม(สปส.) ทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนกรณีมีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในตามดุลพินิจของแพทย์
 

สิทธิข้าราชการ : สามารถเข้ารับการรักษากับสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง หรือกรณีหน่วยงานใดมีสิทธิรักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้ก็รักษาตามสิทธิที่องค์กรกำหนด 

 

3.ยกเลิกมาตรการกักตัวสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด ให้เน้นมาตรการ DMHT โดยเฉพาะการใส่หน้ากากอนามัย-ล้างมือ และเข้ารับการรักษา 
โดยมีแนวทางการรักษา ดังนี้ 

  • ไม่มีอาการ รักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) และ DMHT นาน 5 วัน
  • มีอาการเล็กน้อย เอกซเรย์ปอดปกติ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง/โรคร่วม  รักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) และ DMHT นาน 5 วัน
  • อาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง หรือ โรคร่วม  ปอดอักเสบเล็กน้อย หรือผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย-ปานกลาง พิจารณาตามดุลพินิจแพทย์
  • การใช้ยาในการรักษา ไม่มีอาการ ไม่ให้ยาใด ๆ 
  • อาการไม่รุนแรง อาจให้ยาฟ้าทะลายโจร หรือฟาวิพิราเวียร์ โดยให้เร็วที่สุดเพื่อลดอาการ
  • อาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง ให้ยาต้านไวรัส เพียงตัวใดตัวหนึ่ง เน้นแพกซ์โลวิด ข้อมูลจากการวิจัยประสิทธิภาพดีกว่าโมลนูพิราเวียร์ หากเข้า รพ. ฉีดเรมเดสซิเวียร์ 3 วัน ทั้งนี้ ไม่มีฟาวิพิราเวียร์ในกลุ่มนี้

 

4.ยุบ ศบค. ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ ยกเลิกการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหมาต่อวัน 
ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการตั้งศูนย์ ศบค. ขึ้นมาเพื่อเป็นหน่วยบัญชาการ กำหนดมาตรการ ทิศทาง ในการควบคุมการระบาดของโควิด19 พร้อมทั้งมีการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั่วประเทศ และมีการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินมาแล้วกว่า 19 ครั้ง ครั้งล่าสุดจะไปสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. 2565 นี้ และจะถือว่าเป็นวันสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ของ ศบค. ด้วย  

ยกเลิกการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เสียชีวิต ป่วยหนัก จากการติด โควิด19 ขณะนี้ความรุนแรงของโควิดลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ลดลงต่ำกว่าพันราย สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในภาพรวมทั่วโลกมีแนวโน้มดีขึ้น สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่และแนวโน้มของผู้เสียชีวิตลดลง อีกทั้งประชาชนและผู้ประกอบการสามารถดำเนินชีวิตและขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคมให้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 

 

5. เดินทางเข้าประเทศไทยไม่ต้องแสดงเอกสารฉีดวัคซีน และผลตรวจ ATK   
สำหรับนักท่องเที่ยว หรือ ผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ไม่ต้องแสดง เอกสารวัคซีน หรือผลการตรวจ ATK โรคโควิด-19 ยกเว้นโรคไข้เหลือง ที่ยังดำเนินการตามปกติที่ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังยกเลิกการสุ่มตรวจสอบบันทึกการฉีดวัคซีนโควิด-19

 

6.จุดฉีดวัคซีนจุดใหม่ที่สาสามารถขอรับบริการได้ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2565 เป็นต้นไป  
ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีน โควิด19 สามารถฉีดวัคซีนต่อได้ที่สถาบันโรคผิวหนัง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เริ่มเปิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w


เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8 สาขา Popular Vote ได้ที่นี่

(https://awards.komchadluek.net/#)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ