โควิด-19

เทียบ "อาการโควิด" และ "ไข้หวัดใหญ่" ก่อนเป็น โรคติดต่อ เฝ้าระวังลำดับที่ 57

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เทียบชัด "อาการโควิด" และ "ไข้หวัดใหญ่" ก่อนประกาศให้เป็น โรคติดต่อ เฝ้าระวังลำดับที่ 57 โรคระบาด เหมือนกันแต่ระดับความรุนแรง อาการ ต่างกัน

ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มีแนวทาง กำหนดให้ โควิด เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังลำดับที่ 57 เช่นเดียวกับ ไข้หวัดใหญ่ และ ไข้เลือดออก โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง สำหรับการปรับลดระดับความอันตรายของ โควิด ให้เทียบเท่ากับ ไข้หวัดใหญ่ นั้น คงทำให้หลายคนเกิดความสับสนถึงแนวทางการปฏิบัติตัว ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป รวมไปถึงลักษณะ "อาการโควิด" และ อาการ "ไข้หวัดใหญ่" ว่ามีความรุนแรง และ มีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร 

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) 


เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน "อาการไข้หวัดใหญ่" ที่พบนั้น มีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไข้หวัดใหญ่ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ เนื่องจากเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มาแล้วหลายครั้ง  


ไข้หวัดใหญ่ สามารถติดต่อได้ทางการหายใจ โดยจะได้รับเชื้อที่ออกมาปนเปื้อนอยู่ในอากาศเมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด  นอกจากนี้การแพร่เชื้ออาจเกิดโดยการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย (droplet transmission) จากมือที่สัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แล้วใช้มือสัมผัสที่จมูกและปาก สาเหตุของการติดเชื้อในคนที่พบในปัจจุบันได้แก่ A(H1N1), A(H1N2), A(H3N2), A(H5N1) และ A(H9N2) 

 

โดย ไข้หวัดใหญ่ จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 1-3 วัน ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการ ส่วนเด็กอาจจะแพร่เชื้อได้นาน 7 วัน คนที่ไม่ได้รับเชื้อและไม่แสดงอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้เช่นกัน  

โควิด19 (COVID-19)


เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนา (Coronavirus) สายพันธุ์ใหม่ ต้นตอของไวรัสชนิดนี้มาจากสัตว์ที่เป็นตัวกลางที่แพร่เชื้อสู่คนสามารถแพร่เชื้อจากสารคัดหลั่ง เช่น การไอหรือจาม น้ำลาย อาการเบื้องต้นหากได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้และพบความผิดปกติด้านระบบทางเดินหายใจ โดยพบว่าบางรายที่มีโรคประจำตัวหรือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากนี้โควิดยังสามารถกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา ทำให้เมื่อติดเชื้อเข้าไปในร่างกาย มักจะลามไปสู่ปอดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม ปอดอักเสบได้มากกว่าไข้หวัดใหญ่มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย จะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ  2-14 วัน 

 

สำหรับ "อาการโควิด"  และ "ไข้หวัดใหญ่"   มีความคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน สามารถสังเกตได้ดังนี้  

"อาการไข้หวัดใหญ่" 
-มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเชียส 
-ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก 
-ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น 
-คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ  ไอแห้ง 
-บางรายอาเจียน คลื่นไส้

"อาการโควิด" 
-มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส 
-เหนื่อยล้ามาก ปวดเกล้ามเนื้อ 
-ปวดศรีษะ  
-เบื่ออาหาร 
-เจ็บคอ มีน้ำมุก ไอแห้ง หายใจลำบาก
-แพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 48 ชั่วโมงก่อนมีอาการ 

 

ขอบคุณข้อมูล:  ศิครินทร์ ,กรมควบคุมโรค

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote ได้ที่นี่ (https://awards.komchadluek.net/#)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ