โควิด-19

"วัคซีนโควิด" เด็ก 5-11 ปี เปิดข้อมูลใหม่ ทำไม เสี่ยงกว่าไม่ ฉีดวัคซีน 4.4 เท่า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"วัคซีนโควิด" ในเด็ก 5-11 ปี หมอสันต์ เปิดข้อมูล ผลวิจัย ใหม่ ทำไม เสี่ยงกว่าไม่ "ฉีดวัคซีน" ถึง 4.4 เท่า ชัดเจนในยุค โอไมครอน

(22 ก.ค. 2565) "หมอสันต์" นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ระบุว่า เมื่อวันที่ 20 กค.65 วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์เจอร์นาล ได้ตีพิมพ์ผลวิจัยการใช้ "วัคซีนโควิด" ในเด็กอายุ 5-11 ขวบ ที่ประเทศสิงคโปร์ 

ข้อมูลที่ตีพิมพ์ เป็นข้อมูลใหม่ที่ให้ภาพในเรื่องนี้ ชัดเจนกว่าที่ผ่านมา ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ ครูอาจารย์ และผู้กำหนดนโยบายของรัฐในแง่ที่จะชั่งน้ำหนัก "วัคซีนโควิด" ความเสี่ยงและประโยชน์ ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะ "ฉีดวัคซีน" ให้เด็กหรือไม่ จึงได้สรุปมาให้อ่าน

 

 

ในภาพใหญ่งานวิจัยนี้ เป็นการติดตามเด็กสิงคโปร์ จับช่วงเวลาตั้งแต่ 21 มค. ถึง 8 เมย.2565 ซึ่งเป็นยุคโอไมครอน 100% ครอบคลุมเด็กจำนวน 255,936 คน ในจำนวนนี้ได้รับวัคซีนครบสองเข็มแล้ว 66.7% (173,268 คน) ได้แต่ไม่ครบ 12%(30,712 คน) ไม่ได้วัคซีนเลย 20.3% (51,995 คน)

 

ในแง่ของการรักษาโรค มีการติดเชื้อโควิด-19 เกิดขึ้น 53,429 ครั้ง ต้องเข้าโรงพยาบาล 288 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นการป่วยหนักถึงต้องให้ออกซิเจน หรือเข้าไอซียู 5 คน ในจำนวน 5 คนที่ป่วยหนักนี้ เป็นคนไม่ได้ฉีดวัคซีนมาก่อนเลย 1 คน ได้วัคซีนแล้ว 4 คน (ได้ครบ 2 คน ได้ไม่ครบ 2 คน)

 

ในแง่ของภูมิคุ้มกันของวัคซีนที่วัดจากโมเลกุลภูมิคุ้มกัน (antibody) ในเลือด พบว่า ภูมิคุ้มกันเกิดสูงสุด 48.9% ใน 1-2 สัปดาห์หลังฉีด แล้วลดลงอย่างรวดเร็วเหลือ 25.6% ใน 2 เดือนหลังฉีด

ในแง่ของผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด มีการเกิดผลเสียของวัคซีนระดับรุนแรง (severe adverse reaction) ตามนิยามทางการแพทย์ขึ้น 22 ราย

 

ข้อสรุปของหมอสันต์

  1. งานวิจัยนี้ทำในยุค "โอไมครอน" จึงใช้กับเหตุการณ์วันนี้ได้มากกว่างานวิจัยอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ที่ทำในยุคเดลตา
  2. ความเชื่อแต่เดิมที่เชื่อกันว่า การ "ฉีดวัคซีน" ให้เด็ก จะป้องกันการป่วยรุนแรงนั้นไม่เป็นความจริงในงานวิจัยนี้ เพราะอัตราการป่วยรุนแรงไม่แตกต่างกันระหว่างผู้ได้กับไม่ได้วัคซีน
  3. ความเชื่อแต่เดิมที่เชื่อกันว่า "วัคซีนโควิด" ผลเสียระดับรุนแรงของวัคซีนมีน้อยกว่าประโยชน์ที่จะได้จากการป้องกันการป่วยรุนแรงเพราะโรคนั้นไม่เป็นความจริง เพราะอัตราเกิดผลเสียระดับรุนแรงของวัคซีน สูงกว่าอัตราป่วยรุนแรงถึงขั้นให้ออกซิเจน หรือเข้าไอซียู.จากโรค (ผลเสียรุนแรงของวัคซีนเกิด 8.59 คน: 100,000 คน การป่วยรุนแรงจากโรคเกิด 1.95 คน : 100,000 คน) ประมาณว่าฉีดวัคซีนมีความเสี่ยงโหลงโจ้งมากกว่าไม่ฉีด 4.4 เท่า
  4. ถ้าจะถือตามเกณฑ์สมมุติบัญญัติของวงการแพทย์ที่ว่าวัคซีนที่จะนำมาใช้ควรป้องกันโรคได้ 50% ขึ้นไปวัคซีนโควิดในเด็กก็สอบตก เพราะป้องกันโรคสูงสุดได้ไม่ถึง 50% และผ่านไปแค่สองเดือนก็ป้องกันได้แค่ 25%

 

สรุป จากงานวิจัยนี้คือ ประโยชน์ที่พึงได้จากวัคซีนโควิดในแง่ป้องกันการป่วยรุนแรงในเด็กไม่มี ผลเสียของวัคซีนมีมากกว่าไม่ยุ่งกับวัคซีน 4.4 เท่า

 

 

 

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Line: https://lin.ee/qw9UHd2
YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ