โควิด-19

"ติดโควิด" เช็คแนวปฏิบัติใหม่ อาการขนาดไหน ได้ยา ฟาวิพิราเวียร์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"ติดโควิด" ล่าสุด กรมการแพทย์ ออกแนวปฏิบัติใหม่ ผู้ป่วย โควิด กลุ่มใด อาการขนาดไหน ได้ยา ฟาวิพิราเวียร์ favipiravir แบบไหนใช้ ฟ้าทะลายโจร

"ติดโควิด" กลุ่มไหน อาการแบบใด ได้ยาอะไร ในการรักษา ล่าสุด "กรมการแพทย์" ออกแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อโควิดในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงใหม่ ครั้งที่ 24 วันที่ 11 ก.ค. 2565 

โดยความร่วมมือของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างาน ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ได้ทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศ และต่างประเทศ ดังนี้

 

ติดโควิด เข้าข่าย (Probable case) ผู้ที่มีผลตรวจ ATK ต่อ SARS-CoV-2 ให้ผลบวก และรวมผู้ติดเชื้อยืนยัน ทั้งผู้ที่มีอาการและไม่แสดงอาการ แบ่งเป็นกลุ่มตามความรุนแรงของโรค และปัจจัยเสี่ยงได้เป็น 4 กรณี ดังนี้

 

1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือสบายดี (Asymptomatic COVID-19)

  • ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self Isolation)
  • ให้ดูแลรักษาตามอาการตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เช่น favipiravir เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง
  • อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรตามดุลยพินิจของแพทย์

 

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง โรคร่วมสำคัญและภาพถ่ายรังสีปอดปกติ (Symptomatic COVID-19 
without pneumonia and no risk factors for severe disease) อาจพิจารณาให้ ฟาวิพิราเวียร์ favipiravir ควรเริ่มยาโดยเร็วที่สุด ตามดุลยพินิจของแพทย์

 

  •  หากตรวจพบเชื้อเมื่อผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย อาจไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยจะหายได้เอง โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

แนวปฎิบัติ รักษาโควิด ฉบับใหม่

3. ติดโควิด ที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ oxygen

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่

  1. อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป
  2. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) (GOLD grade 2 ขึ้นไป) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
  3. โรคไตเรื้อรัง (CKD) (stage 3 ขึ้นไป)
  4. โรคหัวใจและหลอดเลือด (NYHA functional class 2 ขึ้นไป รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด
  5. โรคหลอดเลือดสมอง
  6. เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
  7. ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI 230 กก/ตร.ม.)
  8. ตับแข็ง (Child-Pugh class B ขึ้นไป)
  9. ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (เป็นโรคที่อยู่ในระหว่างได้รับยาเคมีบำบัด หรือยากดภูมิหรือ corticosteroid equivalent toprednisolone 15 มก./วัน นาน 15 วัน ขึ้นไป)
  10. ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มี CD. cell count น้อยกว่า 200 เชลล์/ลบ.มม. แนะนำให้ยาต้านไวรัสเพียง 1 ชนิด โดยควรเริ่มภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการจึงจะได้ผลดี ให้ยาตามตารางที่ 1 โดยพิจารณาจากปัจจัยต่อไปนี้ ได้แก่ ประวัติโรคประจำตัว ข้อห้ามการใช้ยา ปฏิกิริยาต่อกันของยาต้านไวรัสกับยาเดิมของผู้ป่วย (drug-drug interaction) และการบริหารเตียง ความสะดวกของการให้ยารวมถึงปริมาณยาสำรองที่มี

 

ตารางที่ 1 การให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยกลุ่มที่ 3 

 

  • ไม่มีปัจจัยเสี่ยง ให้ยา ฟาวิพิราเวียร์
  • มีปัจจัยเสี่ยง 1 ข้อ ให้ยา โมลนูพิราเวียร์ Molnupiravir หรือ Remdesivir หรือ Nirmatrelvir/ritonavir หรือ Favipiravir
  • มีปัจจัยเสี่ยง มากกว่า 2 ข้อ ให้ยา Remdesivir** หรือ Nirmatrelvir/ritonavir หรือ Molnupiravir

 

หมายเหตุ

ลำดับการให้ยากลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง 1 ข้อ ดังนี้

  1. Molnupiravir
  2. Remdesevir
  3. Nirmaltrevir/ritonavir
  4. Favipiravir**Remdesivir เป็นเวลา 3 วัน

 

ข้อควรระวังในการให้ยา

 

  • Nirmatrelvir/ritonavir และ Molnupiravir ในตารางที่ 2
  • การจัดลำดับการให้ยา พิจารณาจากปริมาณยาที่มีในประเทศ ประสิทธิภาพของยาในการลดอัตราการป่วยหนัก และอัตราตาย ความสะดวกในการบริหารยา และราคายา ข้อมูลปัจจุบัน Nirmaltrelvi/ritonavir มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่มีราคาสูงที่สุด ส่วน favipiravir ไม่ช่วยลดอัตราการป่วยหนัก แต่ช่วยลตอาการได้ หากได้รับยาเร็วตั้งแต่วันแรกที่มีอาการ ในกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง ทั้งนี้ การเลือกใช้ยาใดกับผู้ป่วยรายใด แพทย์อาจใช้ยาใดตามรายการข้างต้นนี้ก็ได้ โดยพิจารณาจากปัจจัยดังกล่าว สถานพยาบาลแต่ละแห่งในช่วง สถานการณ์อาจจะมีความแตกต่างกัน

 

4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบที่มี hypoxia (resting Q, saturation <94% ปอดอักเสบรุนแรง ไม่เกิน 10 วัน หลังจากมีอาการ และได้รับ oxygen

  • แนะนำให้ remdesivir โดยเร็วที่สุดเป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก ควรติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
  • ร่วมกับให้ corticosteroid ขนาดยา ตังตารางที่ 2


การรักษา COVID-19 ในผู้ป่วยเด็กอายุ <18 ปี

 

ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย (Probable case) ผู้ที่มีผลตรวจ ATK ต่อ SARS-CoV-2 ให้ผลบวก และรวมผู้ติดเชื้อยืนยัน ทั้งผู้ที่มีอาการ และไม่แสดงอาการ ให้ใช้ยา
ในการรักษาจำเพาะดังนี้ โดยมีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเหมือนผู้ใหญ่

 

1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ (Asymptomatic COVID-19)

  • แนะนำให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์

 

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง (Mild symptomatic COVID-19 without pneumoniaand no risk factors)

  • แนะนำให้ดูแลรักษาตามอาการ พิจารณาให้ favipiravir เป็นเวลา 5 วัน

 

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการปอดอักเสบ (pneumonia) เล็กน้อยไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 4 (Mild symptomatic COVID-19 
pneumonia but with risk factors) ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงโรคร่วมสำคัญ ได้แก่ อายุน้อยกว่า 1 ปี และภาวะเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ โรคอ้วน (น้ำหนักเทียบกับความสูง 
(weight for height) มากกว่า +3 SD)โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือต โรคหลอดเลือด
สมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ โรคเบาหวาน กลุ่มโรคพันธรรม รวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการช้า

  • แนะนำให้ favipiravir เป็นเวลา 5 วัน อาจให้นานกว่านี้ได้หากอาการยังมาก โตยแพทย์พิจารณาตามความเหมาะสม

 

4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการปอดอักเสบ (pneumonia) และมีหายใจเร็วกว่าอัตราการหายใจตามกำหนดอายุ (60 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ <2 เดือน, 50 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ 2-12 เดือน, 40 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ 1-5 ปี และ 30 ครั้ง/นาที ในเด็กอายุ >5 ปี) หรือมีอาการรุนแรงอื่น ๆ เช่น กินได้น้อย มีภาวะขาดน้ำ ไข้สูง ชัก หรือท้องเสียมาก

  • แนะนำให้ remdesivir หรือ favipiravir เป็นเวลา 5-10 วัน
  • พิจารณาให้ corticosteroid ตามความเหมาะสม และดุลยพินิจของแพทย์

 

หมายเหตุ

ติดโควิด ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self-isolation)
 

แนวปฏิบัติ การรักษาผู้ป่วย ติดโควิด

แนวปฏิบัติ การให้รักษา ผู้ป่วยติดโควิด

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ