โควิด-19

"เสียงแหบจากโควิด" เช็คสาเหตุ เกิดจากอะไร รุนแรงแค่ไหน แล้วจะหายมั้ย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"เสียงแหบจากโควิด" ภาวะเสียงแหบ หลังจากติดเชื้อโควิด19 เช็คสาเหตุ เกิดจากอะไร รุนแรงแค่ไหน รู้เท่าทันเพื่อเตรียมการรับมือ

"เสียงแหบจากโควิด" เป็นเพราะอะไร เริ่มเป็นคำถาม หลังจากติดเชื้อโควิด19 มีอาการ เสียงแหบ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า หลังหายจากการติดเชื้อโควิด19 สุขภาพของผู้ป่วยบางคน อาจไม่เหมือนเดิม และอาจมีอาการผิดปกติของร่างกายในอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่นเดียวกับ ภาวะเสียงแหบ การรู้เท่าทันและตรวจเช็กโดยเร็ว จะช่วยฟื้นฟูและดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี
 

ต้นเหตุ เสียงแหบจากโควิด

อาการเสียงพูดผิดปกติอาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น

  • การอักเสบรุนแรงของคอและกล่องเสียงในขณะที่ติดเชื้อโควิด-19
  • ไอมาก ไอแรง ไอต่อเนื่องนาน ๆ 
  • ขากเสมหะแรง  เค้นและขากเสมหะอยู่เรื่อย ๆ
  • อาเจียน
  • อาจเป็นผลต่อเนื่องมาจากการใส่ท่อช่วยหายใจ
  • การทำงานของปอดที่ยังไม่ปกติ
  • ภาวะเหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง

 

ตรวจวินิจฉัย

  • ตรวจคอและกล่องเสียงด้วยการส่องกล้อง (Rigid Endoscopy, Fiber Optic Laryngoscopy) เพื่อดูการทำงานของกล่องเสียง และหาความผิดปกติในขณะที่เปล่งเสียง

       - Rigid Endoscopy คือ การส่องกล้องแข็งเข้าทางช่องปาก ปลาย               กล้องจะเข้าไปอยู่บริเวณลิ้นไก่ จากนั้นถ่ายภาพการทำงานของกล่อง           เสียงแล้วแสดงภาพให้แพทย์พิจารณาที่หน้าจอมอนิเตอร์
       - Fiber Optic Endoscopy คือ การส่องกล้องสายอ่อนผ่านเข้าทาง               จมูก ลงไปในคอ เหนือต่อลูกกระเดือก (กล่องเสียง) เพื่อถ่ายภาพการ           ทำงานของกล่องเสียงแล้วมาแสดงภาพให้แพทย์พิจารณาที่จอ                   มอนิเตอร์ 

 

การตรวจด้วยการส่องกล้องทั้งสองแบบนี้ไม่เจ็บ และไม่ต้องวางยาสลบ ผู้ป่วยสามารถเห็นภาพได้ทันทีพร้อมแพทย์ ขณะที่ทำการตรวจ

  • เอ็กซเรย์ปอด

 

ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057
 

ความรุนแรงของภาวะ เสียงแหบจากโควิด

 

ความรุนแรงของภาวะเสียงแหบหลังหายจากโควิด-19 มีตั้งแต่เสียงพูดเปลี่ยนไปเล็กน้อย ไปจนถึงแหบมาก ขนาดที่ทำให้คนรอบข้างฟังไม่เข้าใจ และทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยหรือหอบในขณะพูด

 

วิธีการรักษา

 

  • รักษาด้วยยา เช่น ยาแก้อักเสบ,  ยาลดบวม, ยาแก้ไอ, ยาละลายเสมหะ, ยาแก้อาเจียน, ยาขยายหลอดลม เป็นต้น
  • พักการใช้เสียง คือ ไม่พูดเยอะ ไม่พูดดัง ไม่พยายามเค้นเสียงพูด ไม่ร้องเพลง จนกว่าเสียงพูดจะกลับมาเป็นปกติ
  • กายภาพสายเสียง (Speech Therapy) ฝึกการออกเสียงที่ถูกต้องเพื่อช่วยพัฒนาความแข็งแรงของสายเสียง
  • กายภาพปอด เพื่อกระตุ้นการทำงานของปอด และช่วยให้ขับเสมหะออกได้ง่ายขึ้น
  • การผ่าตัด ในกรณีที่มีเนื้องอกหรือแผลเป็นจากการใส่ท่อช่วยหายใจ เนื่องจากบางกรณีเนื้องอกและแผลเป็นนั้นไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา

 

ดูแลตัวเองให้ถูกวิธี

การดูแลตัวเองเบื้องต้นหลังจากที่เพิ่งหายจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่

 

  • พักผ่อน ไม่ทำงานหนัก ไม่ออกกำลังกายหักโหมในช่วงที่เพิ่งหายจากการติดเชื้อโควิด-19
  • ไม่ใช้เสียงเยอะ
  • ดื่มน้ำเปล่าอุณหภูมิห้องอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว  (2 ลิตร / วัน)
  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
  • ไปพบแพทย์ตามนัด
  • สังเกตตัวเองว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่
  • หากมีอาการแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วยให้รีบตรวจรักษา เช่น ไอเป็นเลือด, สำลักอาการ, เหนื่อยหอบขณะพูด

 

ดังนั้น เมื่อหายจากโควิดแล้ว เกิดภาวะ เสียงแหบจากโควิด เสียงพูดผิดปกติ เกิดภาวะเสียงแหบ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการที่เกิดขึ้น และรีบพบแพทย์เฉพาะทางทันที เพื่อฟื้นฟูร่างกายโดยเร็ว

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

 

ขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลกรุงเทพ

logoline