โควิด-19

"โอไมครอน" BA4 BA.5 เปิดเหตุผลทำไมต้องจับตา เผย 5 อาการหลัก ชัดกว่าเดิม

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อัปเดตสถานการณ์ "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.4 BA.5 เปิดเหตุผลทำไมต้องจับตา และเฝ้าระวัง เจอ 5 อาการหลัก ชัดกว่าสายพันธุ์รุ่นแรก

ดูเหมือนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดจะไม่จบลงง่าย ๆ ถึงแม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการ ทั้ง ถอดแมสก์ และเปิดสถานบันเทิง เพื่อเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น แต่ล่าสุด โควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" โอมิครอน Omicron มีการกลายพันธุ์ เข้าสู่ซีซั่นของ BA.4 และ BA.5 ที่องค์การอนามัยอนาโลก หรือ WHO กำลังเฝ้าจับตา 
   

"หมอโอภาส" ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ข้อมูลว่า ปีนี้ทั้งปีจะมีขบวนพาเหรดลูกหลานของ "โอไมครอน" โอมิครอน ระบาดกันเป็นระลอก ไวรัสจะเก็บตกคนที่ยังไม่ติด เพราะไวรัสจะมีการเปลี่ยนแปลงให้ติดง่ายกว่าเดิม คนก็จะวนเวียนอยู่กับการติดเชื้อ ทั้งในคนที่ฉีดวัคซีนไปแล้วและติดเชื้อซ้ำในคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ข้อมูลของคนที่เคยติดเชื้อซ้ำจากยุโรปอยู่ที่ 0.7-0.9% แต่จริง ๆ ตัวเลขน่ามากกว่านี้  การติดเชื้อซ้ำยังไม่มีอาการหนัก 
  

 

 

ทั่วโลกสัดส่วนของ BA.4 BA.5 เพิ่มขึ้นกำลังแทนที่สายพันธุ์เดิม น่าจะเป็นสายพันธุ์ร่วมที่ทำให้มีการระบาดระลอกใหม่เล็ก ๆ ในหลายประเทศ หลังจากนี้ก็จะมีลูกหลาน "โอไมครอน" โอมิครอน ระบาดเป็นระลอกเล็ก ๆ น้อย ๆ เรายังคงสร้างกำแพงต้านการติดเชื้อไม่ได้ แต่ต้านโรคที่รุนแรงได้จากวัคซีน ซึ่งอย่างน้อยการได้เข็มกระตุ้นจะช่วยได้
   

 

ส่วนข้อมูลของความรุนแรงของ BA.4 BA.5 หมอโอภาส ระบุว่า ยังไม่มีข้อมูลว่าร้ายกว่าโอไมครอนตัวดั้งเดิม ในแอฟริกาใต้ดูเหมือนว่าจะรุนแรงน้อยกว่าโอไมครอน BA.2 แต่ยุโรปบางประเทศก็บอกว่าความรุนแรงพอ ๆ กับโอมิครอน ดูจากอัตราการนอนโรงพยาบาล ปอดอักเสบ อัตราการเสียชีวิต ส่วนข้อมูลในห้องทดลองดูรุนแรง แต่ในคนอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ยังไม่น่าตกใจมาก เพราะในคนความรุนแรงจะน้อยลงอย่างมากถ้ายังมีภูมิจากวัคซีนช่วย
  

ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

ส่วนที่โรงพยาบาลตอนนี้คนไข้นอกเริ่มกลับมาแน่นอีกครั้ง เตียงคนไข้ในจะกลับมาตึง ๆ ขึ้น แต่คนไข้หนักของแต่ละโรงพยาบาลจะขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในแต่ละที่ เศรษฐกิจยังต้องเดินต่อ และทำความคุ้นเคยกับไวรัสที่อยู่ด้วยกันไปอีกนาน สิ่งที่สำคัญคือ ภูมิคุ้มกัน วัคซีน ยาต้านไวรัส สำหรับคนกลุ่มเสี่ยงเสียชีวิต

 

 

ขณะที่ข้อมูลของ "หมอประสิทธิ์" ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 พบข้อมูลมาหลายเดือนแล้ว โดยเฉพาะประเทศทางยุโรปที่พบอัตราติดเชื้อกลับมาสูงขึ้นเป็นหมื่นรายต่อวัน ซึ่งข้อมูลตอนนี้พบว่า สายพันธุ์ย่อยเริ่มไปทดแทนสายพันธุ์ย่อย BA.2 เนื่องจาก BA.4 และ BA.5 แบ่งตัวเร็วกว่า แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า รุนแรงมากกว่า เพราะยังไม่มีหลักฐานการป่วยจนเข้าโรงพยาบาล อาการรุนแรงถึงเสียชีวิตที่ชัดเจนเพียงพอ ถือเป็นสายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าติดตาม 

 

 

เปิดเหตุผลทำไม "โอไมครอน" BA.4 BA.5 จึงน่ากังวล

 

  1. มีแนวโน้มว่าอาจจะเกาะเซลล์ปอดได้มากกว่า BA.2 เพราะฉะนั้น การฉีดวัคซีนเข็ม 3 ป้องกันติดเชื้อได้ 25% แต่ถ้าฉีด 4 เข็ม ก็จะเพิ่มสูงถึง 70-75% หมอประสิทธิ์ แนะนำให้ฉีด 4 เข็มในกลุ่มคนทั่วไป และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า เป็นเข็ม 5 ได้เลย 
  2. เมื่อมีการ ถอดแมสก์แล้ว คนไทยต้องกระชับตัวเอง เพราะเราบังคับนักท่องเที่ยวได้ยาก ดังนั้น เราต้องป้องกันตนเองด้วยมาตรการเดิม สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือ เพราะยังมีเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

 

เคยติดโควิดจะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้สั้นสุดกี่เดือน และติดเชื้อซ้ำจะมีผลต่ออวัยวะภายในร่างกายอย่างไร

 

 

หมอประสิทธิ์ ระบุว่า เชื่อว่าสั้นกว่านั้น เนื่องจากโอไมครอน ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ แต่คนจำนวนหนึ่งติดแต่อาการน้อย จึงไม่ได้ตรวจ ดังนั้น จริง ๆ ที่เคยพูดว่า จะติดเชื้อซ้ำได้ใน 4-6 เดือน ก็อาจจะสั้นกว่านั้น เพียงแต่คนไม่ได้ตรวจ ทั้งนี้ ข้อมูลที่เห็นได้ว่า BA.4/BA.5 ติดเชื้อได้เร็ว ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่อาจลดลงเร็วกว่าตอนที่ป้องกัน BA.2 เพราะฉะนั้น คนกลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเมื่อครบ 4 เดือน ส่วนคนที่ติดเชื้อซ้ำ ต้องบอกว่าลองโควิด Long Covid เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และเกิดขึ้นได้ทุกสายพันธุ์ บางคนมีอาการทำให้ชีวิตประจำวันลดลง เช่น สมองตื้อ ผมร่วง ดังนั้น หากมีสายพันธุ์ที่กระจายเร็วกว่าเดิม การติดเชื้อก็จะไม่คุ้มกับลองโควิด

 

อาการโอไมครอน BA.4/BA.5

 

โดยรวมแล้ว อาการโอไมครอน ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ BA.4/ BA.5 ชัดกว่าผู้ป่วยที่ติด "โอไมครอน" โอมิครอนรุ่นแรก ในทุกอาการที่รายงาน สังเกตจากกราฟสีเขียว สูงกว่าสีชมพูทั้งหมด โดยอาการที่พบมากกว่า 50% ของผู้ป่วย คือ อ่อนเพลีย ไอ ไข้ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล ตามลำดับ และ เป็นที่น่าสนใจว่า กลุ่มอาการทางเดินหายใจ เช่น หายใจถี่ และ หายใจลำบาก พบได้ในกลุ่ม BA.4/BA.5 เช่นเดียวกับกลุ่มอาการทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ก็พบได้มากกว่าในกลุ่ม BA.4/BA.5 

 

 


เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website -  www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

logoline