โควิด-19

จับตา "โอไมครอน" BA.4-BA.5 ระบาดในไทย พบหลบภูมิเก่ง หวั่นติดเชื้อรุนแรง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมการแพทย์ จับตา "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.4-BA.5 ระบาดในประเทศไทย พบหลบภูมิคุ้มกันเก่งและลงปอดง่าย หวั่นมีการติดเชื้อรุนแรง

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า ได้รับรายงานจากรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์แล้วว่า พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ "โอไมครอน" BA.4 กับ BA.5 ในประเทศไทย จากรายงานข้อมูลพบว่า เชื้อกลายพันธุ์ดังกล่าว ติดเชื้อง่าย มีแนวโน้มอาการจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดิม แต่ยังต้องรอข้อมูลที่ชัดเจน ขณะนี้เป็นรายงานในต่างประเทศ รวมทั้งมีความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันและลงปอดได้ง่ายขึ้น

 

ซึ่งการรักษา โควิด19 ยังคงรักษาตามอาการ ไม่ได้แยกสายพันธุ์ในการรักษา แต่ส่วนการตรวจแยกสายพันธุ์จะเป็นหน้าที่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

สำหรับสถานการณ์ โควิด19 ของกรุงเทพมหานคร มีแน้วโน้ม เพิ่มร้อยละ 10 จากเดือนที่แล้ว หลังการเปิดสถานบันเทิง และการผ่อนคลายมาตรการอื่นๆ รวมถึงพบเด็กติดเชื้อ โควิด19 จากสถานศึกษาและนำเชื้อมาแพร่คนที่บ้านเพิ่มขึ้น ขณะที่สัดส่วนผู้ป่วยครองเตียงสีแดง ไม่ได้เพิ่มขึ้น โดยอยู่ที่ร้อยละ 10 ของจำนวนผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล 

 

ส่วนยารักษาโควิด-19 ในส่วนตอนนี้ยาแพกซ์โลวิด และโมลนูพิราเวียร์ ที่จ่ายให้กับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยอาการสีเหลือง-แดง พบว่าประสิทธิภาพของยาได้ผลดี โดยยา ทั้ง 2 มีประสิทธิภาพที่ไม่แตกต่างกัน ตอนนี้ยาทั้ง 2 ชนิดมีเพียงพอที่จะรองรับการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 

 

ส่วนกรณีที่ ศบค. มีมติถอดหน้ากากอนามัย ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นพ.สมศักดิ์ ระบุว่า ขอให้ประชาชนประเมินความเสี่ยงด้วยตนเอง ว่าหากอยู่ในสถานที่ปิด ขอให้ใส่หน้ากากอนามัย แต่หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง เช่น การออกกำลังกาย เล่นกีฬา และมีคนไม่แออัดอาจจะไม่ต้องใส่หน้ากากอนามัย

 

ขณะที่ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์  ระบุว่า เป้าหมายต่อไปของกรมการแพทย์ คือ ปรับบริการทางการแพทย์ให้เข้าถึงประชาชนให้ได้มากที่สุด คือ การนำบริการทางการแพทย์ เอาแพทย์ออกไปหาประชาชน ผู้ป่วย รวมถึงการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมทางการแพทย์ 

 

สำหรับ การรักษา Home ward ที่จะเริ่ม 1 กรกฎาคม นี้ เป็นบริการทางการแพทย์ไปหาคนไข้ เน้นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว อาการของโรคคงที่ ซึ่งแพทย์จะคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เบื้องต้นจะมี 6-7 โรคก่อน เช่น กรณีในผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยแผลกดทับ เช่น บางโรคไม่ต้องแอดมิดเข้าโรงพยาบาล สามารถที่จะติดตามอาการที่บ้านได้ มีแพทย์ติดตามอาการด้วย Telemedicine ซึ่งโครงการดังกล่าวจะช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล ส่วนค่าใช้จ่าย สปสช. จะเป็นผู้ดูแล ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาและพูดคุย เบื้องต้นจะเป็นเหมาค่าใช้จ่ายแบบเป็นผู้ป่วยใน

 

ติดตามอ่านข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ www.komchadluek.net

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ