โควิด-19

Omicron เต็มพื้นที่แล้ว WHO ประกาศ เดลตาเป็นสายพันธุ์น่ากังวลที่เคยระบาด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โอไมครอน" Omicron เต็มพื้นที่แล้ว "หมอธีระ" เผย WHO ประกาศ เดลตาเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล ที่เคยระบาด เช่นเดียวกับอีก 3 สายพันธุ์

(11 มิถุนายน 2565) "หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat Update สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด สายพันธุ์ "โอไมครอน" Omicron ล่าสุด องค์การอนามัยโลกออกรายงาน WHO Weekly Epidemiological Report เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา จากการติดตามสายพันธุ์ไวรัส พบว่า เดลตาเหลือน้อยมาก จนทำให้ WHO 
ประกาศว่า เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลที่เคยระบาด (previously circulating VOC) เช่นเดียวกับอัลฟ่า เบต้า และแกมม่า 

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า จะกลับมาระบาดเพิ่มขึ้นอีกไม่ได้ ยังคงต้องเฝ้าระวังป้องกันให้ดี สำหรับ "โอไมครอน" Omicron นั้น BA.1, BA.3 นั้นน้อยมาก สายพันธุ์ที่ยังครองสัดส่วนสูงสุดคือ BA.2 และ BA.2.x ซึ่งครองอยู่ราว 44% และ 19% ตามลำดับ แต่ที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด คือ BA.2.12.1, BA.4, และ BA.5 โดย BA.2.12.1 (พบครั้งแรกในอเมริกา) ขณะนี้ครองสัดส่วนการระบาดสูงถึง 28% และตรวจพบแล้วใน 53 ประเทศ ในขณะที่ BA.5 พบใน 47 ประเทศ มีสัดส่วน 5% และ BA.4 พบใน 42 ประเทศ มีสัดส่วน 2%

 

 

ทั้งนี้ ทั้งสามสายพันธุ์ย่อยที่กล่าวมา พบว่า มีสมรรถนะการแพร่ได้เร็วขึ้น และหลบหลีกภูมิคุ้มกันมากขึ้นกับสายพันธุ์ก่อนหน้า ข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้ชี้ให้เห็นว่า BA.4 และ BA.5 น่าจะมีความรุนแรงของโรคไม่ต่างจากเดิม ส่วน BA.2.12.1 นั้นยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสรุปเรื่องความรุนแรงของโรคได้
 

"หมอธีระ" ระบุว่า สำหรับไทยเรา ทุกระลอกที่ผ่านมา จะตามหลังจากประเทศอื่น ๆ ที่แพร่ระบาดมาก่อนราว 6-8 สัปดาห์ ยิ่งในปัจจุบัน มิได้มีการรายงานจำนวนติดเชื้อใหม่ แต่รายงานเฉพาะที่ป่วย รวมถึงการตรวจคัดกรองโรคในระบบก็ลดลงมาก หากไม่ป้องกันตัวให้ดี เวลามีการระบาดปะทุขึ้นมา กว่าจะทราบเวลาก็ล่วงเลยไปมากแล้วได้ ความใส่ใจสุขภาพของตนเอง รักตนเอง ป้องกันตนเอง เป็นสิ่งสำคัญ หากเฮโลสาระพาตามกระแสกิเลส ถอดหน้ากากทิ้ง แล้วไปทำกิจกรรมเสี่ยง ไปอยู่ในสถานที่เสี่ยง ก็จะติดเชื้อแพร่เชื้อกันได้มาก อย่าลืมว่าสถิติรายวันของไทยยังติดอันดับต้น ๆ ของโลก เมื่อเทียบกับประเทศอื่น แม้ว่าจะปรับการรายงานจนตัวเลขลดลงไปมากแล้วก็ตาม สถานการณ์จริงจึงยังไม่ควรไว้วางใจ โควิด ไม่จบแค่หาย แต่ป่วยได้ตายได้ และเสี่ยงต่อภาวะ Long COVID ที่จะบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะในการใช้ชีวิตและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่าย ทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม การใส่หน้ากากเวลาออกไปตะลอนนอกบ้านนั้น เป็นหัวใจสำคัญที่ควรทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

 

ส่วนสถานการณ์ โควิด เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 507,933 คน ตายเพิ่ม 1,166 คน รวมแล้วติดไป 539,666,503 คน เสียชีวิตรวม 6,329,520 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ไต้หวัน บราซิล และเกาหลีเหนือ เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 60.51 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 59.51การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 33.21 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 25.38

 

สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 13 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชีย แม้ สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยคิดเป็น 8.1% ของทวีปเอเชีย หากปรับตามคาดประมาณสัดส่วนของคนที่มีโรคร่วมเหมือน UK จะเป็น 11.4%


 

 

ที่มา Thira Woratanarat 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ