โควิด-19

"ติดโควิดรอบ 2" อึ้ง ฉีดวัคซีนครบ แต่ติดแล้วติดอีก ติดเชื้อซ้ำ หรือยังไม่หาย

18 พ.ค. 2565

"ติดโควิดอบ 2" ดร.อนันต์ เปิดข้อมูลชวนอึ้ง หมอรายหนึ่งฉีดวัคซีนครบ จู่ๆติดโควิด รักษาหายใน 5 วัน แต่กลับมาป่วยอีก สงสัย ติดเชื้อซ้ำ หรือยังไม่หาย

อัปเดตสถานการณ์โควิด สายพันธุ์ โอไมครอน หรือ โอมิครอน Omicron ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ง่ายขึ้นหรือไม่ เริ่มเป็นคำถามที่เจอบ่อยในช่วงนี้ รวมทั้ง โควิดติดแล้วติดอีกได้ไหม หรือ ติดโควิดรอบ 2 เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ภายหลังเริ่มเจอเคสในลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

(18 พ.ค.2565) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. โพสต์เฟซบุ๊ค ยกเคสตัวอย่างจากทวิตเตอร์ของ Tatiana Prowell,MD ซึ่งเป็นคุณหมอรายหนึ่งในต่างประเทศ ระบุว่า คุณหมอท่านนี้ทวิตบอกว่าตัวเองฉีดวัคซีนครบ และ รับเข็มกระตุ้นเรียบร้อยแล้ว จู่ ๆ ก็ติดโควิด เมื่อวันที่ 2 พ.ค. หลังจากนั้นทานยา Paxlovid 5 วัน ตั้งแต่ 4 - 8 พ.ค. ไม่นานอาการก็เหมือนหายเป็นปกติ และ ATK ออกมาเป็นลบ โดยตรวจ 2 ครั้ง วันที่ 8 และ 9 

 

เมื่อวันที่ 16 พ.ค. อาการป่วยกลับมาอีก และ ผลตรวจ ATK ออกมาเป็นบวก โดยแถบ T สีเข้มกว่า C แสดงว่าปริมาณไวรัสมีเยอะมากในตัวอย่างตรวจ
คำถามที่ทวิตถามคือ ติดเชื้อซ้ำ หรือ ยังไม่หายจากการรักษา...ลักษณะแบบนี้มีคนพูดถึงเยอะขึ้น ๆ ครับ

\"ติดโควิดรอบ 2\" อึ้ง ฉีดวัคซีนครบ แต่ติดแล้วติดอีก ติดเชื้อซ้ำ หรือยังไม่หาย

ทั้งนี้ โดยปกติแล้ว ข้อมูลการ "ติดโควิดรอบ 2" ก่อนหน้าที่จะมีโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเกิดขึ้นมา ได้มีการเก็บข้อมูลมาเป็นระยะ พบว่า ภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากที่ได้รับเชื้อมาแล้ว ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อมาจะยังไม่มีการติดเชื้อซ้ำ ภายใน 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ แต่หากเลยระยะเวลาดังกล่าวแล้ว สามารถมีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้ โดยความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำจะมีเทียบเท่ากันกับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน

 

ประกอบกับการได้รับวัคซีน จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยพบว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับเข็มที่ 3 หรือ เข็มที่ 4 จะสามารถช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากโควิด-19 ได้ 2-3 เท่า (อ้างอิงข้อมูลจาก: วารสารทางการแพทย์นิว อิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซิน, ประเทศอิสราเอล)

 

แต่สำหรับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ได้มีการพบข้อมูลใหม่เกี่ยวกับการติดเชื้อซ้ำ โดยพบผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อซ้ำภายใน 1-2 เดือนแรก หลังจากที่ได้รับเชื้อมา โดยวิธีในการพิสูจน์การติดเชื้อซ้ำ ดูได้จากค่า CT (Cycle threshold) หรือ ค่าการเพิ่มของสารพันธุกรรมไวรัสโควิด จากการตรวจ RT-PCR พบว่า มีค่าลดลง และมีอาการขึ้นมาใหม่ จากเดิมที่ผู้ป่วยไม่มีไข้ กลับมามีไข้สูงอีกครั้ง โดยจากการศึกษาข้อมูลทั่วโลกพบว่า มีการติดเชื้อซ้ำได้ภายใน 1-2 เดือนแรก มากถึง 10-20%

 

อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อซ้ำ คือการที่ผู้ป่วยที่เคยติดโควิดไปแล้วเข้าสู่ภาวะการติดเชื้อซ้ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง โดยสายพันธุ์โอไมครอนพบการติดเชื้อซ้ำสูงกว่าเดลต้า 3-6 เท่า โดยสาเหตุส่วนใหญ่คือ

 

1. มักเกิดในช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ได้รับไม่ครบ รับวัคซีนสุดท้ายนานกว่า 6 เดือน หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง

2. เชื้อที่มีการระบาดในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อเดิม

3. ผู้คนลดมาตรการป้องกันตัวเอง และมีพฤติกรรมเสี่ยง

 

 

 

ที่มา : Anan Jongkaewwattana