โควิด-19

ผลวิจัยพบ คนติดโควิด เจอภาวะ "ลำไส้อักเสบ" แม้เวลาจะผ่านไป 7 เดือน เพราะอะไร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

Long covid เจอไม่จบ "หมอธีระ" เผยผลวิจัย พบ ติดโควิด กระตุ้นการเกิดภาวะ "ลำไส้อักเสบ" แม้เวลาจะผ่านไปนานถึง 7 เดือน

"หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ค Thira Woratanarat ระบุว่า ทีมวิจัยจากออสเตรีย เพิ่งเผยแพร่งานวิจัยในวารสารการแพทย์ระบบทางเดินอาหาร Gastroenterology เมื่อ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา ศึกษาในผู้ป่วย Long COVID ที่มีภาวะ "ลำไส้อักเสบ" 46 ราย

พบว่า สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสโรคโควิด-19 ในเยื่อบุลำไส้ในผู้ป่วยได้ถึง 70% แม้จะเป็นเวลาเฉลี่ย 7.3 เดือน นับจากวันที่ติดเชื้อแล้วก็ตาม
ผลการวิจัยนี้ จึงมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนสมมติฐานว่า การติดเชื้อแล้วมีเชื้อไวรัส หรือส่วนของไวรัสคงค้างยาวนาน น่าจะมีส่วนที่จะกระตุ้นให้เกิดภาวะผิดปกติ 
หรือการอักเสบตามมา จนเกิดภาวะ "ลำไส้อักเสบ"

ผลวิจัยพบ คนติดโควิด เจอภาวะ "ลำไส้อักเสบ" แม้เวลาจะผ่านไป 7 เดือน เพราะอะไร ผลวิจัยพบ คนติดโควิด เจอภาวะ "ลำไส้อักเสบ" แม้เวลาจะผ่านไป 7 เดือน เพราะอะไร
 

โรค "ลำไส้อักเสบ" คืออะไร


"ลำไส้อักเสบ" (Ulcerative Colitis) คือ โรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดการอักเสบที่เยื่อบุผนังบริเวณลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร โดยอาการอักเสบที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดเลือดออกที่ผนังลำไส้ ทำให้ลำไส้บีบตัวเร็วขึ้น ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดท้อง ท้องร่วง ถ่ายมีมูกเลือดปนออกมา ทั้งนี้ เกิดจากการหลุดลอกของเยื่อบุผนังลำไส้ที่มีเกิดการอักเสบนั่นเอง

 

โรค "ลำไส้อักเสบ" เกิดจากสาเหตุใด

 

ทางการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค "ลำไส้อักเสบ" แต่สาเหตุที่เป็นไปได้นั้น อาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ เพราะโดยปกติแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย อย่างเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย แต่เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ จึงทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ดังนั้น จึงทำให้เกิดการติดเชื้อ และการอักเสบที่ลำไส้ตามมา ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการ ลำไส้อักเสบเรื้อรังได้
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ