โควิด-19

ด่วน "โควิด" คลาย "ราชกิจจานุเบกษา" ออกข้อกำหนดปลดล็อกเปิดประเทศ 1 พ.ค.65

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โควิด" คลาย "ราชกิจจานุเบกษา" ออกข้อกำหนดผ่อนคลายมาตรการ รับเปิดประเทศ ดีเดย์ 1 พ.ค.2565 ดริ๊งก์ได้ไม่เกินเที่ยงคืน

(30 เม.ย.65) "ราชกิจจานุเบกษา" เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2565 (ฉบับที่ 44)  เป็นการออกมาตรการผ่อนคลายการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัส "โควิด" หลายมาตรการด้วยกัน เพื่อเป็นการต้อนรับการ "เปิดประเทศ" 1 พ.ค.65 

 

มีใจความว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะนั้น โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่คลี่คลายลง จากการตรวจพบผู้ติดเชื้อ "โควิด" และจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในจำนวนที่ลดลง อีกทั้ง ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณยาและเวชภัณฑ์ บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยวิกฤต อยู่ในระดับเพียงพอ อันเป็นผลมาจากการบริหารจัดการและควบคุมการระบาดของฝ่ายสาธารณสุข และพนักงานเจ้าหน้าที่ ภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งประชาชนทุกภาคส่วนที่ร่วมมือร่วมใจปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกย่องให้ประเทศไทย เป็นประเทศต้นแบบที่มีการบริหารจัดการและรับมือกับการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับข้อมูลที่ฝ่ายสาธารณสุขได้รายงานว่า ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ หรือเดินทางเข้ามาในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว แม้จะตรวจพบผู้ติดเชื้ออยู่บ้างแต่ก็มีจำนวนน้อย และสามารถควบคุมได้ จึงมิได้เป็นปัจจัยที่มีผลให้การติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก ที่หลายประเทศได้เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคและเปิดประเทศควบคู่ไปกับการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ด่วน "โควิด" คลาย "ราชกิจจานุเบกษา" ออกข้อกำหนดปลดล็อกเปิดประเทศ 1 พ.ค.65

ดังนั้น เพื่อฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนให้ใกล้เคียงกับภาวะปกติและเพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลโดยข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุขจึงได้พิจารณาผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกันโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคำแนะนำของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) (ศบค.) ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์ และการกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ให้ ศบค. มีคำสั่งปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัด จำแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ และกำหนดพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวเพิ่มเติม ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคำสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและเป็นไปตามแผนการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กำหนดไว้สำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้

 

ข้อ 2 การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการควบคุมและป้องกันโรค ให้บรรดามาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และข้อปฏิบัติสำหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่างๆ รวมทั้ง มาตรการเตรียมความพร้อมตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 37) ลงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564 และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 42) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2565 ได้แก่ การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค กิจกรรมการรวมกลุ่มของบุคคลที่สำมารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาต มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามพื้นที่สถานการณ์ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว และมาตรการเฝ้าระวังเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติที่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดขึ้นภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าว ยังคงมีผลใช้บังคับ เท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับข้อกำหนดนี้ ในส่วนของการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการ หรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาเพื่อดำเนินมาตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่นอกสถานที่ตั้งหน่วยงานตมความเหมาะสม

 

ข้อ 3 การปรับปรุงมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่เฝ้าระวังสูง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ให้พื้นที่ที่ประกาศเป็นพื้นที่เฝ้ำระวังสูงและพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ดำเนินการตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ เพื่อการเปิดสถานที่ กิจการ และกิจกรรมสำหรับพื้นที่สถานการณ์ที่จำแนกเป็นเขตพื้นที่เฝ้ำระวังสูงและเขตพื้นที่เฝ้าระวัง ตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 3 และ ข้อ 4 แห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ 42) ลงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2565 โดยให้ปรับมาตรการควบคุม ดังนี้ การบริโภคสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านจำหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เฝ้าระวังสูง พื้นที่เฝ้าระวัง และพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ให้เปิดให้บริการได้เฉพาะร้านที่ผ่านการตรวจประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (Amazing Thailand 
Safety and Health Administration)
ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในระดับ SHA PLUS ขึ้นไป หรือผ่านการตรวจมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยป้องกันโรค COVID- 19 รองรับสุขภาพดีวิถีใหม่(Thai Stop Covid2 Plus ) ของกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย หรือได้มีการดำเนินการตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและจำกัดการให้บริการและบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้านได้ไม่เกินเวลา 24.00 นาฬิกา ให้คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณากำหนดมาตรการควบคุมแบบ บูรณาการเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละพื้นที่


ข้อ 4 การปรับปรุงการกำหนดผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อประโยชน์ในการคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร การควบคุมและการป้องกันมิให้เกิดการระบาดของโรคให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระบำดในปัจจุบันและนโยบายการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 40) ลงวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2564 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน การกำหนดประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งจะต้องดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและหลักเกณฑ์การดำเนินการในสถานที่กักกันที่ทางราชการกำหนด
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ให้เป็นไปตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19)กำหนด โดยแบ่งตามประเภทของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ดังต่อไปนี้

(1) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งแสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด (Vaccinated Persons)

(2) ผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งมิได้แสดงหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19 ครบตามเกณฑ์ที่ผู้ผลิตวัคซีนหรือที่ทางราชการกำหนด (Unvaccinated/ Not Fully Vaccinated
Persons)

(3) ผู้มีเหตุยกเว้นที่นายกรัฐมนตรี หรือหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนดอนุญาต หรือเชิญเข้ามาในราชอาณาจักรตามความจำเป็น

 

ข้อ 5 การเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 โดยให้กำกับ ติดตามเฝ้าระวัง และทบทวนมาตรการตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อมุ่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงประโยชน์ของทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นสำคัญ

 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2565 เป็นต้นไป
ประกาศณ วันที่ 29 เมษายนพ.ศ. 2565๕

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี

 

ด่วน "โควิด" คลาย "ราชกิจจานุเบกษา" ออกข้อกำหนดปลดล็อกเปิดประเทศ 1 พ.ค.65

ด่วน "โควิด" คลาย "ราชกิจจานุเบกษา" ออกข้อกำหนดปลดล็อกเปิดประเทศ 1 พ.ค.65

ด่วน "โควิด" คลาย "ราชกิจจานุเบกษา" ออกข้อกำหนดปลดล็อกเปิดประเทศ 1 พ.ค.65

ด่วน "โควิด" คลาย "ราชกิจจานุเบกษา" ออกข้อกำหนดปลดล็อกเปิดประเทศ 1 พ.ค.65

ด่วน "โควิด" คลาย "ราชกิจจานุเบกษา" ออกข้อกำหนดปลดล็อกเปิดประเทศ 1 พ.ค.65
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ