โควิด-19

"เสี่ยงติดโควิดกักตัวกี่วัน" ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงควรตรวจ atk ตอนไหน เช็คเลย

"เสี่ยงติดโควิดกักตัวกี่วัน" ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงควรตรวจ atk ตอนไหน เช็คเลย

04 ก.ค. 2565

"เสี่ยงติดโควิดกักตัวกี่วัน" ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงควรตรวจ atk ตอนไหน ติดแล้วทำยังไงต่อ เป็นคำถามที่หลายคนตั้งคำถาม หาคำตอบมาให้แล้ว

"เสี่ยงติดโควิดกักตัวกี่วัน" หลังสถานการณ์โควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" ยังแพร่ระบาด และมีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายคนกลับมาสงสัย
เกี่ยวกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อมา เมื่อพบว่าตนเองอยู่ในกลุ่ม "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรดี จะต้องตรวจ ATK ตอนไหน แล้วจะต้องทำอย่างไรต่อไปหากผลตรวจเป็นบวก (Positive)
 

ตรวจ ATK ตอนไหน

- มีไข้ ไอ เจ็บคอ ตาแดง ผื่นขึ้น ถ่ายเหลว แสบคอมาก ตรวจ ATK ทันที

- ไม่มีอาการเหล่านี้ แต่ไปสัมผัสผู้ติดเชื้อโควิดแบบใกล้ชิด โดย…

 

  • อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน
  • เรียนหนังสือ หรือทำงานด้วยกัน
  • คุยกันโดยไม่สวมหน้ากากอนามัยนานเกิน 5 นาที
  • เดินทางไปเที่ยวด้วยกัน รับประทานอาหารร่วมกัน

 

- หากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ควรตรวจ ATK ภายใน 24 ชั่วโมง หลังเจอผู้ติดเชื้อ

 

"เสี่ยงติดโควิดกักตัวกี่วัน" กรณีที่ผลตรวจเป็น (-) ควรตรวจทุก 3 วัน คือวันที่ 0 , 3 และ 7 จนครบ 7 วัน โดยในระหว่าง 7 วันนี้ ให้กักตัวอยู่ที่บ้าน หรืออยู่คนเดียวก่อน หากไม่มีอาการและครบกำหนด 7 วันแล้ว สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และสังเกตอาการตนเองต่อจนครบ 10 วัน

ทำอย่างไรดีเมื่อผล ATK เป็นบวก 

 

1. หลังพบว่าผลตรวจ ATK เป็น (+) แนะนำให้ตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันผลตรวจอีกครั้ง (ในกรณีที่สามารถทำ RT-PCR ได้) ทั้งนี้ เนื่องจากมีโอกาสเกิดผลบวกลงได้ (False Negative) โดยสามารถพบได้ประมาณ 0.5 – 0.05% ซึ่งขึ้นอยู่กับยี่ห้อของชุดตรวจทดสอบ (ATK) ที่ใช้ตรวจ

2. ให้ตรวจสอบตัวเองว่า อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับการรักษาที่โรงพยาบาล ดังนี้

  • ผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่รับประทานยากดภูมิ ผู้ติดเชื้อ HIV เป็นต้น
  • ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว มีโอกาสพบภาวะปอดอักเสบ หากเกิดการติดเชื้อ โดยมักพบอาการปอดอักเสบในช่วงวันที่ 5 -7 ซึ่งจะต้องรับยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปอดอักเสบ

3. กรณีที่ไม่ใช่กลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล ให้รักษาตามอาการ โดยทำ Home Isolation, Hotel Isolation, Community 
Isolation
โดยเข้าระบบตามสิทธิการรักษาที่ผู้ป่วยมี

 

คำแนะนำสำหรับวิธีการกักตัว

 

  • แยกตัวจากผู้อื่น แยกนอน แยกรับประทานอาหาร จนครบ 10 วัน นับจากวันที่มีอาการครั้งแรก
  • หลังแยกตัวจนครบ 10 วัน และอาการทุเลาลงแล้ว ไม่จำเป็นต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือเป็นประจำ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ
  • หากต้องการไปกักตัวที่ Hospitel ที่ท่านจัดหาเอง สามารถใช้ผลตรวจจาก application "หมอพร้อม" เพื่อเข้ารับการดูแล
  • หากกักตัวครบ 10 วันแล้ว สามารถขอใบรับรองแพทย์ได้จากโรงพยาบาลใกล้บ้านที่ 1330 จัดหาให้ หรือรับจาก Hospitel ที่ท่านเข้ารับบริการ

 

(ข้อมูลจาก ศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ณ วันที่ 9 ก.พ. 2565)

 

ขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลศิครินทร์