โควิด-19

"อาการเริ่มต้นโอไมครอน" เช็คเลยหากเจอ 3 อาการนี้ เสี่ยงติดเชื้อแน่นอน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"อาการเริ่มต้นโอไมครอน" เป็นอย่างไร มีไข้ ไอ ใช่หรือเปล่า เช็คตัวเองกันอีกครั้ง หากเจอ 3 อาการนี้ เสี่ยงติดเชื้อแน่นอน

"อาการเริ่มต้นโอไมครอน" เป็นยังไง แบบไหนเรียกว่าติดโควิด Omicron แล้ว ยังคงเป็นคำถามของใครหลายคน โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศขณะนี้ ที่ส่วนใหญ่เป็นโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทั้งหมดแล้ว ยิ่งอาการมีความใกล้เคียงกับไข้หวัดธรรมดาทั่วไป ยิ่งทำให้แยกไม่ออก

 

 

 

 

 

"คมชัดลึกออนไลน์" จึงได้นำข้อมูลอาการของผู้เสี่ยงติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน มาฝากทุกคน เพื่อให้ได้ดูกันว่า ถ้าเจอ อาการแบบไหนมีความเสี่ยงที่เรียกว่า "อาการเริ่มต้นโอไมครอน" และควรทำอย่างไร

 

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีคำแนะนำ หากมีอาการ 3 อย่างนี้ อย่านิ่งนอนใจ เพราะมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน

 

  • แรกเริ่มมีน้ำมูก จาม ปวดหัว
  • ต่อมาอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ
  • บางคนมีเหงื่อออก ตอนกลางคืน

"อาการเริ่มต้นโอไมครอน" เช็คเลยหากเจอ 3 อาการนี้ เสี่ยงติดเชื้อแน่นอน

อาการเมื่อได้รับเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนเป็นอย่างไร

 

หากได้รับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน จะมีอาการเริ่มต้นที่แตกต่างจากสายพันธุ์เดลตา โดยอาการทั่วไปที่พบ ได้แก่

ไอ (54%)

เจ็บคอ (37%)

มีไข้ (29%) 
น้ำมูกไหล ปวดหัว เหนื่อยล้า และมีอาการที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ ที่สังเกตได้ คือ มีเหงื่อออกตอนกลางคืน

 

สำหรับผู้ที่เคยไปพื้นที่เสี่ยง ควรตรวจ ATK ถึงแม้จะได้รับวัคซีนครบ ก็ไม่ควรประมาท ให้สังเกตอาการ หากไม่ดีขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์

 

ควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อลดโอกาสรับ-กระจายเชื้อ

 

1. รับวัคซีนโควิด-19 ให้เร็วที่สุด
2. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา โดยเฉพาะในพื้นที่สาธารณะ
3. รักษาระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร
4. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือด้วยแอลกอฮอล์สม่ำเสมอ
5. เลี่ยงพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท เปิดหน้าต่างเมื่ออยู่ในพื้นที่ปิด
6. สำรวจอาการตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
7. ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
8. ตรวจด้วยชุดตรวจชนิดเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) ทันทีถ้ามีภาวะเสี่ยง หากผลเป็นบวก ต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย ด้วยการตรวจแบบ RT-PCR โดยเร็วที่สุดเพื่อเข้ารับการรักษาและควบคุมโรคต่อไป

 

 

ขอบคุณข้อมูล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ