โควิด-19

เช็คสาเหตุ ทำไมเด็กติด "โควิด" ถึงเสี่ยงได้รับผลกระทบเกี่ยวกับหัวใจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สสส. เปิดสาเหตุหลัก ทำไมเด็กติดเชื้อ "โควิด" ถึงเสี่ยงได้รับผลกระทบเกี่ยวกับหัวใจ พบน้อย ไม่รุนแรง แต่ก็เจอ

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ "โควิด" ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย กับโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่กำลังระบาดอย่างหนัก โดยเฉพาะโอไมครอน ที่รุกหนักกลุ่มเด็กเล็ก เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และจากข้อมูลพบว่า เมื่อเด็กติดโควิดแล้ว จะได้รับผลกระทบเกี่ยวกับหัวใจ 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้ให้ข้อมูลว่า เด็กที่ติดเชื้อ "โควิด" เสี่ยงได้รับผลกระทบเกี่ยวกับหัวใจ เพราะสาเหตุดังนี้

 

  1. เชื้อโควิดจะมุ่งจับกับ ACE receptors ซึ่งกระจายอยู่ในหลอดเลือด เส้นเลือด กล้ามเนื้อหัวใจ และทำให้เกิดการอักเสบ
  2. ระบบภูมิคุ้มกันถูกกระตุ้นเเละไปทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ

** อาการเเบบนี้พบได้น้อย เเละอาการไม่รุนเเรง


เช็คสาเหตุ ทำไมเด็กติด "โควิด" ถึงเสี่ยงได้รับผลกระทบเกี่ยวกับหัวใจ

พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ นพ.ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อในเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันเด็กติดเชื้อ "โควิด" เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และในช่วงหลังพบอาการเด็กภายหลังติดเชื้อโควิด เป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ซึ่งยังหาสาเหตุไม่ได้ แต่หากมีภูมิคุ้มกันที่ดี หากติดเชื้อ อาการจะไม่รุนแรง 

 

นอกจากนั้น ในเด็กที่ป่วยเป็น "โควิด" ไม่ว่าจะเป็นน้อยหรือเป็นมาก หลังหายแล้ว อาจต้องเผชิญกับ MIS-C กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งจำเป็นต้องรีบรักษาโดยเร็ว หากละเลยอาจรุนแรงถึงชีวิตได้

อาการของ MIS-C อาจเป็นหลายระบบร่วมกันได้ โดยผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกตเด็ก ได้แก่

อาการคล้ายโรคคาวาซากิ ได้แก่ 

  • ไข้ 
  • ผื่น 
  • ตาแดง 
  • มือ เท้าบวมแดง 
  • ปากแดง แห้ง แตก 
  • ต่อมน้ำเหลืองโต

อาการระบบทางเดินหายใจ ได้แก่

  • ปอดอักเสบ

อาการระบบทางเดินอาหาร ได้แก่

  • ปวดท้อง
  • ท้องเสีย ถ่ายเหลว
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • ลำไส้อักเสบ
  • ตับอักเสบ

อาการคล้ายไส้ติ่งอักเสบ
อาการระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่

  • หายใจหอบ เหนื่อย
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หลอดเลือดอุดตัน
  • อาการระบบประสาท ได้แก่
  • ปวดศีรษะ
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

 

 

 

ขอบคุณข้อมูล โรงพยาบาลกรุงเทพ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ