โควิด-19

"วัคซีนโควิด" นักไวรัสวิทยาเผยผลวิจัย เตรียมผลิตออกมาสู้โอไมครอนโดยเฉพาะ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"วัคซีนโควิด" นักไวรัสวิทยาเผยผลงานวิจัยต่างประเทศเตรียมผลิตสำหรับโอไมครอนโดยเฉพาะ พบภูมิคุ้มกันร่างกายตอบสนองได้ดีกว่าวัคซีนโควิดทั่วไป

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์ เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana  ระบุข้อความว่า
ไปอ่านเจองานวิจัยสั้นๆชิ้นนึงที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมาเมื่อวานนี้เกี่ยวกับความหวัง "วัคซีนโควิด" ที่จะออกแบบมาเพื่อให้มีความจำเพาะต่อไวรัสโอมิครอน เนื่องจากวัคซีนที่ออกแบบมาใช้ตอนนี้ใช้ข้อมูลหนามสไปค์ของไวรัสสายพันธุ์เริ่มต้น และ  "วัคซีนโควิด"  ดูเหมือนจะใช้ได้ดีมาก ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายตอบสนองต่อวัคซีนโดยเฉพาะแอนติบอดีที่วัคซีนกระตุ้นขึ้นมาได้ มีความจำเพาะสูงและมีประสิทธิภาพการยับยั้งไวรัสได้ดี ซึ่งเห็นได้จากประสิทธิภาพของวัคซีนที่ได้สูงมากกว่า 90% ซึ่งเกินความคาดหมายที่ 50% ไปแบบเกินคาดพอไวรัสโอมิครอนอุบัติขึ้นและหนีภูมิจากวัคซีนรุ่นเก่าไปมาก ความพยายามปรับวัคซีนให้ออกแบบมาจำเพาะต่อโอมิครอนจึงได้เริ่มขึ้น ประสบการณ์จากวัคซีนรุ่นแรกทำให้มีความคาดหวังว่า วัคซีนรุ่นสองน่าจะสามารถกระตุ้นภูมิต้านโอมิครอนได้สูงมากเช่นกัน เพราะอย่างไรก็มาจากโปรตีนหนามสไปค์เหมือนกัน กลไกการกระตุ้นภูมิจึงไม่ควรแตกต่างกันมาก แต่พอเห็นหัวข้อของงานวิจัยชิ้นนี้แล้ว เหมือนจะไม่ใช่ข่าวดีเท่าไหร่ครับ

ข้อมูลที่ รายงานมาบอกว่า โปรตีนหนามสไปค์ของโอมิครอนไม่ได้มีคุณสมบัติกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีเหมือนกับของไวรัสดั้งเดิม ถึงแม้ว่าปริมาณแอนติบอดีที่จับโปรตีนสไปค์ในสัตว์ทดลองที่ถูกฉีดด้วยวัคซีนแบบเก่า และ แบบใหม่ จะมีปริมาณสูงทั้งคู่ แต่ ความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของ "วัคซีนโควิด"  ที่ออกแบบมาจากสไปค์โอมิครอนไม่ดีเท่าของเดิม ข้อมูลสำคัญคือ แอนติบอดีของหนูที่ฉีด "วัคซีนโควิด" เดิมสามารถยับยั้งไวรัสสายพันธุ์อื่นๆเช่น Alpha, Beta และ Delta ได้ดี และ สูงกว่าภูมิจากภูมิจากสไปค์โอมิครอนมากๆ ที่น่าผิดหวังคือ ภูมิต่อไวรัสโอมิครอนจากสไปค์โอมิครอนเองก็ไม่แตกต่างจากสไปค์สายพันธุ์ดั้งเดิม

ทีมวิจัยยังแสดงผลอื่นๆของระบบภูมิคุ้มกันนอกจากคุณสมบัติการยับยั้งของแอนติบอดี เช่น ปริมาณ T cell หรือ คุณสมบัติการกระตุ้น T cell จากวัคซีน ก็พบว่า สไปค์โอมิครอนสู้สไปค์ตัวเดิมไม่ได้ การใช้สไปค์ของโอมิครอนอาจจะไม่สามารถนำมาเป็นวัคซีนต่อโอมิครอนได้แบบตรงไปตรงมาเหมือน "วัคซีนโควิด"  รุ่นแรกได้ เทคนิคต่างๆอาจจะต้องหามาเพิ่มให้วัคซีนรุ่นใหม่จริงๆแล้วหล่ะครับ...เป็นความท้าทายของวงการวิจัยด้านวัคซีนจริงๆครับ

"วัคซีนโควิด" นักไวรัสวิทยาเผยผลวิจัย เตรียมผลิตออกมาสู้โอไมครอนโดยเฉพาะ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ