โควิด-19

"ท้องเสียแบบไหนเป็นโควิด" แยกได้ 3 ลักษณะ หลังพบเชื้ออยู่นานหลายสัปดาห์

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เช็คเลย อาการ "ท้องเสียแบบไหนเป็นโควิด" แยกได้ 3 ลักษณะ หมอแนะ ควรรักษาแต่แรกเริ่ม ช่วยลดอาการความรุนแรงของโรคได้

จากสถานการณ์การติดเชื้อ "โควิด" ในปัจจุบัน ที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาการที่ออกมาคล้ายกัน เช่น ปวดหัว มีไข้ ไอ มีน้ำมูก บางรายอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย ซึ่งมีหลายคำถามว่า แล้วอาการ "ท้องเสียแบบไหนเป็นโควิด" เราได้รวบรวมอาการชัด ๆ มาให้แล้ว

 

โดย นพ.โชติ เหลืองช่อสิริ ศูนย์ทางการแพทย์คลีนิก โรคทางเดินอาหาร สาขาพญาไท 2 เคยให้ข้อมูล กรณีการติดเชื้อโควิด ที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ซึ่งโดยปกติ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ "โควิด" มักจะส่งผลต่อทางเดินหายใจเป็นหลัก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ ไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ซึ่งเชื้อส่วนหนึ่งสามารถลงไปที่ระบบทางเดินอาหาร ก่อให้เกิดอาการของระบบทางเดินอาหารได้ เช่น อาการลิ้นไม่รับรส ทานอาหารไม่อร่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ปวดมวนท้อง และมีถ่ายเหลวได้ ซึ่งอาการถ่ายเหลวจะมีลักษณะ ดังนี้

 

- มีอาการถ่ายเหลว ลักษณะถ่ายเป็นน้ำ จำนวน 3-5 ครั้งต่อวัน
- ไม่มีมูก ไม่มีเลือด
- อาจปวดท้องมวนร่วมด้วย

 

ซึ่งผู้ป่วยหลายรายไปพบแพทย์ด้วยอาการถ่ายเหลว โดยที่มีอาการทางเดินหายใจร่วมด้วย แต่อีกหลายรายก็ไม่มีอาการทางเดินหายใจเลย ดังนั้น เมื่อสงสัยว่าจะติดเชื้อ "โควิด" หรือไม่ เช่น เข้าไปในพื้นที่เสี่ยง หรือสัมผัสคนไข้ที่เป็น "โควิด" ก่อนหน้า ต้องแจ้งแพทย์ด้วย เมื่อเรามีอาการท้องเสีย เพื่อตรวจหาว่ามีอาการของ "โควิด" ตรวจหาเชื้อให้ชัดเจนมากขึ้น 

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการของทางเดินอาหาร เมื่อเอาอุจจาระของผู้ป่วยไปตรวจ จะพบว่าในอุจจาระจะพบเชื้อ "โควิด" ได้นานหลายสัปดาห์ ซึ่งวิธีการรักษาผู้ป่วย "โควิด" ที่มีอาการทางเดินอาหาร การรักษาจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการ ให้ยาลดอาการเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ และเมื่อการติดเชื้อทางเดินหายใจดีขึ้น อาการของระบบทางเดินอาหารก็มักจะดีขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการรักษาแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นสิ่งที่ช่วยลดอาการความรุนแรงเหล่านี้ได้ 
 

ข้อมูล : นพ.โชติ เหลืองช่อสิริ ศูนย์ทางการแพทย์คลีนิก โรคทางเดินอาหาร สาขาพญาไท 2
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ