โควิด-19

"โรคไต" เกี่ยวอะไรกับ "โควิด" สัมพันธ์กันแค่ไหน เช็คให้ชัด ลดยอดตายได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ป่วยที่ไตเกี่ยวอะไรกับ "โควิด" คำถามยอดฮิต "โรคไต" สัมพันธ์กันแค่ไหนกับ covid-19 เช็คให้ชัด ลดยอดป่วย ตายได้

จากสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของ "โควิด" ที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งในขณะนี้โควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" ทำให้มีการแพร่กระจายที่ง่ายขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น "โรคไต" ยังเป็นกลุ่มที่ติดเชื้อ และมีแนวโน้มเสียชีวิตสูงสุด

 

 

 

 

 

 

 

 

แต่ก็มีคำถามว่า แล้วทำไม ป่วยที่ไตเกี่ยวอะไรกับโรคโควิด "คมชัดลึกออนไลน์" รวบรวมคำตอบมาให้
 

 

 

นพ.สกานต์ บุนนาค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคไต ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วย "โรคไตเรื้อรัง" จำนวนมาก ประมาณ 20 ล้านคน มีตั้งแต่ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 5 คือระยะหลังสุด 

 

ป่วยที่ไต และเกี่ยวอะไรกับโรคโควิด?

 


คน "โรคไต" เวลาที่ไตวายไปแล้ว ก็จะมีของเสียคั่งเยอะในร่างกาย ของเสียพวกนี้ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแย่ลงติดเชื้อง่าย และรุนแรงกว่าคนอื่น เพราะฉะนั้นมันลุกลามลงปอดได้ง่ายกว่า รวมทั้ง คนโรคไตมีภาวะที่เรียกว่า "น้ำเกิน" จากการที่ไตวาย แล้วขับน้ำไม่ออก น้ำก็จะไปเกินอยู่ในร่างกาย รวมทั้งในปอด ทำให้ปอดแฉะ ติดเชื้อได้ง่าย ยิ่งทำให้อาการหนักกว่าคนอื่น 

 

 

"โรคไต" เกี่ยวอะไรกับ "โควิด" สัมพันธ์กันแค่ไหน เช็คให้ชัด ลดยอดตายได้

นอกจากนั้น คนไข้ "โรคไต" ก็จะมีโรคอื่นที่เป็นพี่น้องกัน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เวลาติดเชื้อก็จะมีโรคโควิดที่รุนแรง สิ่งสำคัญที่ต้องรีบคือ ฉีดวัคซีน ตั้งแต่เข็มแรก แล้วก็เข็ม 2 ตามกำหนด และถ้าฉีดเข็ม 2 นานกว่า 3 เดือน ต้องฉีดเข็ม 3 แล้ว

 

 

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน

 

พบว่า ผลข้างเคียงไม่มากกว่าคนทั่วไป ดังนั้น วัคซีนไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม โดยสรุปแล้วสามารถใช้ได้กับคนที่ป่วย "โรคไต" ทั้งนั้น มีนิดเดียวที่จะต้องระวังคือ ในวันที่ฟอกเลือด จะมีการให้สารป้องกันการแข็งตัวของเลือด เพื่อว่าจะนำเลือดออกมาฟอก
ได้ง่าย ถ้าจะฉีดวัคซีนก็ขอให้เลี่ยงวันฟอกเลือก

 

 

"โรคไต" เกี่ยวอะไรกับ "โควิด" สัมพันธ์กันแค่ไหน เช็คให้ชัด ลดยอดตายได้

 

นพ.อนุตตร จิตตินันท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคไต ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า จริง ๆ แล้วคนไข้ "โรคไต" มีความเสี่ยงในการเกิดโรครุนแรง มันจะเพิ่มขึ้นถ้าไตแย่ลง เป็นระยะแรก ๆ ความเสี่ยงก็จะไม่มากนัก พอไตเสื่อมไปเยอะ ๆ การทำงานของไตลดลง ความเสี่ยงต่อการรุนแรงของโรคก็จะเพิ่มขึ้น 

 

 

"โรคไต" เกี่ยวอะไรกับ "โควิด" สัมพันธ์กันแค่ไหน เช็คให้ชัด ลดยอดตายได้

 

 

โดยสรุป ในช่วง "โควิด" ผู้ป่วย "โรคไต" ควรอยู่บ้าน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะติดโควิด-19 รับประทานยา อาหาร น้ำดื่ม ตามที่แพทย์แนะนำ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอหากมีความจำเป็นต้องออกจากบ้าน ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ และที่สำคัญ ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ และลดโอกาสการเสียชีวิต 

 

 

ขอบคุณข้อมูล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ