โควิด-19

ติด "โควิด" ไม่ได้เป็นแค่หาย แต่เสี่ยงตายจากโรคอื่นเพิ่มสูง 14.7 เท่า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"หมอธีระ" เผยผลวิจัย ติด "โควิด" ไม่ได้เป็นแค่หาย แต่ยังเสี่ยงตายจากโรคอื่นเพิ่มกว่าคนไม่ติด 14.7 เท่า โดยเฉพาะป่วยรุนแรง

(26 มีนาคม 2565) "หมอธีระ" รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก "ThiraWoratanarat" อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของ "โควิด" ประจำวัน ระบุว่า ทะลุ 479 ล้าน เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,464,182 คน ตายเพิ่ม 4,334 คน รวมแล้วติดไปรวม 479,312,411 คน เสียชีวิตรวม 6,137,896 คน 

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี และออสเตรเลีย เมื่อวานนี้ จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 88.13 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 69.33 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้น คิดเป็นร้อยละ 34.68 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 27.61

 

 

สำหรับ สถานการณ์ระบาดของไทย "หมอธีระ" ระบุว่า เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย ในขณะที่จำนวน
เสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 16 ของโลก หลังติดเชื้อโควิด-19 จะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ มากขึ้น

ทีมวิจัยจากฮ่องกง ทำการศึกษาในฐานข้อมูลประชากรอายุ 50-87 ปี จำนวน 412,096 คน ใน UK Biobank (UKBB) เพื่อดูแนวโน้มการเสียชีวิต
จากสาเหตุต่าง ๆ กว่า 135 โรค พบว่า คนที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 จนต้องรักษาในโรงพยาบาลมาก่อนนั้น หากติดตามไปเฉลี่ย 608 วัน (ราว 1 ปี 8 เดือน) 
จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการป่วยจากสาเหตุต่าง ๆ จนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเสี่ยงที่จะเสียชีวิต มากกว่าคนที่ไม่เคยติดเชื้อ โดยคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 รุนแรง จะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากสาเหตุต่าง ๆ (All cause mortality) มากกว่าคนไม่ติดเชื้อ ราว 14.7 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 3.83-15.61 เท่า)

 

ที่สำคัญกว่านั้นคือ คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 โดยมี "อาการเล็กน้อย (mild)" นั้น จะยังคงมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคต่างๆ (All cause mortality) ได้มากกว่าคนที่ไม่ติดเชื้อ 1.23 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 1.03-1.47 เท่า) ทั้งนี้มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคทางระบบประสาท (neurocognitive disorders) มากกว่าคนไม่ติดเชื้อ 9.1 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 5.59-14.81 เท่า)

 

ผลการวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นความสำคัญของการป้องกันตัวอย่างเต็มที่ เป็นกิจวัตร เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นความจำเป็นที่คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน แล้วรักษาหายแล้ว ไม่ว่าจะอาการน้อยหรือมากก็ตาม ก็ควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้ทำการดูแลรักษาอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และควรดูแลสุขภาพให้ดี ลดละเลิกพฤติกรรมเสี่ยงที่จะบั่นทอนสุขภาพ เช่น เหล้า บุหรี่ สารเสพติด ฯลฯ

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ