โควิด-19

เช็คทางรอดผู้ป่วย 5 กลุ่มโรคเสี่ยง อยู่อย่างไรให้ปลอดโควิด "โอไมครอน"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

รู้ทันความเสี่ยง รู้ทางป้องกัน รู้ทางรอด ช่วยผู้ป่วย 5 กลุ่มโรคเสี่ยง อยู่อย่างไรให้ปลอดโควิด "โอไมครอน" Omicron

อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด สายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" ที่ขณะนี้ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่จุดพีคตัวเลขผู้ติดเชื้อยังหลักหมื่น และตัวเลขผู้เสียชีวิตพุ่งสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มโรคเรื้อรัง "หมอพร้อม" เลยมีคำ
แนะนำในการดูแลผู้ป่วย 5 กลุ่มโรค เพื่อให้ผ่านวิกฤตโควิด ดังนี้

 

 

เช็คทางรอดผู้ป่วย 5 กลุ่มโรคเสี่ยง อยู่อย่างไรให้ปลอดโควิด "โอไมครอน"

 

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 

 

หากติดเชื้อโควิดแล้ว จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันมากกว่าคนทั่วไป

 

วิธีป้องกัน

 

  • ตรวจวัดความดันเลือดสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนัก ระดับไขมันน้ำตาลในเลือด
  • เลิกสูบบุหรี่
  • เลี่ยงอาหารรสเค็ม ไขมันสูง
  • ออกกำลังกายอย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ วันละ 30 นาที
  • สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ และฉีดวัคซีน

 

 

เช็คทางรอดผู้ป่วย 5 กลุ่มโรคเสี่ยง อยู่อย่างไรให้ปลอดโควิด "โอไมครอน"

ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

หากติดเชื้อโควิด มักทำให้ป่วยรุนแรง หัวใจทำงานหนักขึ้น เพราะออกซิเจนต่ำลงจากภาวะปอดบวม เสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลายอวัยวะ และ
หัวใจขาดเลือด รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนล้าบีบตัวน้อยลง

 

วิธีป้องกัน

 

  • กินยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
  • ควรสังเกตอาการ เช่น หายใจติดขัด เจ็บหน้าอก หรือ หัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่
  • เลิกสูบบุหรี่
  • สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ และฉีดวัคซีน

 

 

เช็คทางรอดผู้ป่วย 5 กลุ่มโรคเสี่ยง อยู่อย่างไรให้ปลอดโควิด "โอไมครอน"

โรคมะเร็ง

ผู้ป่วยมะเร็งมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนทั่วไป หากติดเชื้อโควิด เสี่ยงป่วยรุนแรง

 

วิธีป้องกัน

 

  • รับวัคซีนได้ ถ้ามีอาการคงที่ หรืออยู่ในระยะหายจากโรค แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะอาจต้องปรับยาบางชนิด
  • ออกกำลังกายที่พอเหมาะ และทำเองได้ที่บ้าน
  • สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ และฉีดวัคซีน

 

 

เช็คทางรอดผู้ป่วย 5 กลุ่มโรคเสี่ยง อยู่อย่างไรให้ปลอดโควิด "โอไมครอน"

 

โรคปอด

 

ปอดของผู้ป่วยมีการทำงานน้อยกว่าคนปกติ หากติดเชื้อ ตัวเชื้อจะทำลายปอดส่วนที่เหลือ ทำให้ป่วยหนัก ระบบหายใจล้มเหลว และหากหายแล้ว แต่เนื้อปอดโดนทำลายไปมาก อาจต้องใช้ออกซิเจนต่อที่บ้าน

 

วิธีป้องกัน

 

  • ฝึกหายใจเพิ่มสมรรถนะปอด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยหายใจ
  • เลิกพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่
  • สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ และฉีดวัคซีน

 

 

เช็คทางรอดผู้ป่วย 5 กลุ่มโรคเสี่ยง อยู่อย่างไรให้ปลอดโควิด "โอไมครอน"

 

โรคไตเรื้อรัง

 

ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนทั่วไป ทำให้ติดเชื้อง่าย และเสี่ยงป่วยรุนแรง

 

วิธีป้องกัน

 

  • ผู้ป่วยที่ฟอกเลือด ควรพบแพทย์ตามนัดหมาย
  • ผู้ป่วยปลูกถ่ายไต ควรสำรองยาไว้อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
  • หากกินยากดภูมิคุ้มกัน รับวัคซีนได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ และฉีดวัคซีน

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ