โควิด-19

เปิดประสิทธิภาพ 4 "ยารักษาโควิด" แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีสุด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดประสิทธิภาพ 4 "ยารักษาโควิด" แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีสุด สธ.จ่อปรับแนวทางรักษาใหม่ เสริม "ฟาวิพิราเวียร์"

(วันที่ 19 มี.ค.65) นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ แถลงการใช้ "ยารักษาโควิด" ว่า การรักษาโควิด ได้มีการติดตามข้อมูล และปรับแนวทางการรักษาเป็นระยะ สำหรับยา "ฟาวิพิราเวียร์" มีการใช้มาแล้ว 2 ปี โดยช่วงแรกศึกษาข้อมูลจากต่างประเทศที่มีการนำยานี้มาใช้ ซึ่งกลไกออกฤทธิ์คือ การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส ทำให้เชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงไป จากการทบทวนอย่างเป็นระบบ ข้อมูลล่าสุดพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยา "ฟาวิพิราเวียร์" มีอาการดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ โดยเฉพาะในช่วง 14 วัน สัดส่วนอาการดีขึ้น 86.9% 

 

 

ส่วนการติดตามอาการจากการใช้ยาอื่น มี "ยาเรมดิซิเวียร์" ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ตำแหน่งเดียวกับยา "ฟาวิพิราเวียร์" ช่วงเริ่มต้นองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ยังไม่ได้แนะนำหรือรับรอง แต่เมื่อใช้ยามาสักระยะ ก็ได้รับการรับรองจาก อย.สหรัฐ ให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน โดยให้ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งมีประโยชน์ในกลุ่มคนที่รับประทานไม่ได้ มีปัญหาการดูดซึม สามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมีอาการลดลง นอนโรงพยาบาลลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับยาหลอก โดยกลุ่มรับยาเรมดิซิเวียร์พบนอนโรงพยาบาล 10 วัน กลุ่มที่รับยาหลอกนอนโรงพยาบาล 15 วัน

 

 

เปิดประสิทธิภาพ 4 "ยารักษาโควิด" แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีสุด

ยาตัวที่ 3 คือ "โมลนูพิราเวียร์" อยู่ในกระบวนการเตรียมพร้อมกระจาย หลังอนุมัติจากอีโอซี สธ. และ ศบค.แล้ว กลไกออกฤทธิ์จุดเดียวกันกับ "ฟาวิพิราเวียร์" ช่วยให้ผู้ป่วยลดความเสี่ยงการเกิดอาการรุนแรง โดยขนาดยาคือ 800 มิลลิกรัม (มก.) แบ่งเป็น 200 มก. จำนวน 4 แคปซูล รับประทานทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 วัน รวม 40 แคปซูลต่อคน

 

เปิดประสิทธิภาพ 4 "ยารักษาโควิด" แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีสุด

 

 

และยาตัวที่ 4 "แพกซ์โลวิด" ที่กำลังดำเนินการจัดหาเข้ามา กลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน โดยออกฤทธิ์ที่เอนไซม์ ทำให้เชื้อลดจำนวนลง ไม่สามารถเกิดผลกับโรคได้ โดยยานี้ประกอบด้วยยา 2 ตัว คือ Nirmatrelvir 150 มก. และ Ritonavir 100 มก. รับประทาน Nirmatrelvir 2 เม็ด และ Ritonavir 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน ช่วยลดความเสี่ยงการนอนโรงพยาบาลลง 88% กรณีให้ยาภายใน 5 วันหลังมีอาการ ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีการสำรองสำหรับประชาชน โดยกลางเดือนหน้าน่าจะนำเข้ามาและกระจายต่อไป

 

 

เปิดประสิทธิภาพ 4 "ยารักษาโควิด" แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีสุด

"จากการติดตามการใช้ยามาสักระยะหนึ่ง ยาแต่ละตัวมีข้อดีเสียต่างกัน เช่น เรมดิซิเวียร์ช่วยกลุ่มอาการปานกลาง ให้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาการรับประทานหรือการดูดซึม, ยาฟาวิพิราเวียร์ ติดตามแล้วยังมีประโยชน์ และให้ได้คนตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ส่วนยา 2 ตัวที่เหลือยังเป็นข้อห้ามสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร อย่างไรก็ตาม นอกจากประสิทธิภาพและความปลอดภัยแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความพร้อมในการใช้ยา การจัดหายา และราคายา ซึ่งมีคณะกรรรมการพิจารณาแนวทางการรักษา โดยมีการติดตามค่าใช้จ่ายแต่ละราย เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ทั้งกระบวนการรักษา 1 คอร์ส อยู่ที่ 800 บาท เรมดิซิเวียร์ 1,512 บาท ส่วนยาใหม่ทั้งโมลนูพิราเวียร์และแพกซ์โลวิดอยู่ที่คอร์สละ 1 หมื่นบาท"

 

 

นพ.มานัส กล่าวอีกว่า จากการติดตามทั้งของกรมการแพทย์ หรือสำนักการแพทย์ กทม. ยืนยันว่า ยังพบประสิทธิภาพประสิทธิผล และความปลอดภัยของฟาวิพิราเวียร์ หลายประเทศก็ใช้รักษาโควิด ทั้งนี้ การได้มาของแนวทางการรักษาจะมีการปรับเปลี่ยนตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และมีการประชุมของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งล่าสุดมีการปรับปรุงแนวทางไปเมื่อวันที่ 1 มี.ค. และสัปดาห์หน้าอาจจะมีการปรับอีก

 

 

เปิดประสิทธิภาพ 4 "ยารักษาโควิด" แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนดีสุด

 

 

ซึ่งมีการจำแนกตามรุนแรงของโรค ยาตัวเลือกที่มีให้ใช้ ยารักษาตามอาการ และฟ้าทะลายโจร นอกจากนี้ จากการรักษาแบบ “เจอ แจก จบ” พบว่า กลุ่มรักษาด้วยยาตามอาการมี 52% ยาฟ้าทะลายโจร 24% และฟาวิพิราเวียร์ 26%  อัตราการป่วยต่อประชากร การติดเชื้อของไทย อัตราการเสียชีวิต เมื่อเทียบกับหลายประเทศยังอยู่ในระดับควบคุมได้ดี และก่อนได้แนวทางการรักษา หรือยาที่ใช้ในปัจจุบัน มีการพิจารณาจากคณะกรรมการอย่างรอบด้าน และเหมาะสมกับในประเทศไทย


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ