โควิด-19

1 ก.ค.65 ปิดเกมโควิด ปรับเป็น "โรคประจำถิ่น" จัดแผน 4 ระดับ 4 เดือน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

1 ก.ค.2565 ปิดเกมโควิด ปรับเป็น "โรคประจำถิ่น" คณะกรรมการโรคติดต่อ จัดแผน 4 ระดับ 4 เดือน ไม่ต้องตรวจ ATK ลดวันกักตัว

แม้ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะยังพุ่งขึ้นสูงแตะหลักหมื่น แต่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ได้เห็นชอบ และจัดแผน 4 ระดับ วางไทม์ไลน์ภายใน 4 เดือน ปลดโรคโควิดออกจากการระบาดใหญ่ให้เป็น "โรคประจำถิ่น" อย่างแน่นอน

 

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงแผนการนำโรคโควิด-19 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นว่า กระทรวงได้เตรียมแผนดำเนินการไว้ 4 ระยะ เป็นเวลา 4 เดือน แบ่งเป็น ดังนี้

 

 

  1. ระยะที่ 1 วันที่ 12 มี.ค.-ต้น เม.ย. เป็นช่วงการระบาดขาขึ้น ทุกฝ่ายต้องใช้มาตรการทุกอย่างเพื่อลดการแพร่ระบาด เป็นระยะของการต่อสู้กับโรค 
  2. ระยะที่ 2 เดือน เม.ย.-พ.ค. เป็นช่วงการคงระดับของผู้ติดเชื้อ เป็นเส้นกราฟแนวระนาบ 
  3. ระยะที่ 3 ปลายเดือน พ.ค.-30 มิ.ย. ช่วงการลดจำนวนผู้ติดเชื้อให้เหลือระดับ 1,000-2,000 คนต่อวัน อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 0.1 
  4. ระยะที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. เป็นต้นไป เป็นช่วงการเข้าสู่โรคประจำถิ่น หรือบางคนจะเรียกว่าการออกจากโรคระบาดใหญ่ สถานการณ์ในตอนนั้นคาดว่าจะจัดการได้ 

 

  • ประชากรได้รับเข็ม 3 มากกว่าร้อยละ 60
  • อาจไม่จำเป็นต้องตรวจ ATK หรือ RT-PCR
  • พิจารณาลดวันกักตัวปฏิบัติให้เหมือนโรคหวัด
  • แต่มีการยกระดับการป้องกันตนเองให้เป็นมาตรฐาน เช่น คนป่วย หรือมีความเสี่ยงต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกคน เป็นต้น

 

 

 

1 ก.ค.65 ปิดเกมโควิด ปรับเป็น "โรคประจำถิ่น" จัดแผน 4 ระดับ 4 เดือน

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวด้วยว่า กระทรวงตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นดำเนินการเพื่อเข้าสู่โรคประจำถิ่น ได้แก่ คณะอนุกรรมการควบคุมโรค คณะอนุกรรมการรักษาโรค คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวม 9 ฉบับ และคณะอนุกรรมการด้านสังคม เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในการเตรียมตัวนำโรคโควิด-19 เข้าสู่โรคประจำถิ่น เช่น การยึดมาตรฐานโควิดฟรีเซตติ้ง เพื่อให้สถานที่ต่าง ๆ จัดสถานที่ที่ปลอดภัย ประชาชนทั่วไปต้องมีมาตรการป้องกันตนเอง หากป่วยต้องใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง โดยปฏิบัติให้เป็นเรื่องปกติ

 

 

สำหรับ "โรคประจำถิ่น" ตามพจนานุกรมหมายถึง ‘โรค ความผิดปกติ หรือเชื้อก่อโรคที่เกิดขึ้นคงที่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หรือกลุ่มประชากร’ ไม่ได้มีเกณฑ์ชัดเจนว่า ‘คงที่’ (Constant) ต้องเป็นเท่าไร แต่ปกติจะหมายถึงโรคที่เกิดขึ้นประจำในระดับที่คาดการณ์ได้ว่าส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ใด ฤดูไหน จำนวนมากน้อยเท่าไร เช่น ไข้เลือดออกในประเทศไทย ซึ่งพบผู้ป่วยมากขึ้นในฤดูฝน (คาดการณ์ได้) แต่บางปีจะพบการระบาด (ผู้ป่วยมากผิดปกติ) ในบางพื้นที่ที่เว้นช่วงการระบาดมาหลายปี 

 

 

 

1 ก.ค.65 ปิดเกมโควิด ปรับเป็น "โรคประจำถิ่น" จัดแผน 4 ระดับ 4 เดือน
 

ดังนั้น การคาดการณ์ว่าโควิดจะกลายเป็น "โรคประจำถิ่น" ก็น่าจะหมายถึงกรณีที่โควิดจะไม่หายไปไหน แต่จะกลายเป็นโรคติดเชื้อตามฤดูกาลเหมือนไข้หวัดใหญ่ ส่วนจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นเมื่อใด หน่วยงานด้านสาธารณสุขหรือองค์การอนามัยโลกจะต้องกำหนดเกณฑ์ขึ้นมาก่อน แต่ถ้าอ้างอิงจากไข้หวัดใหญ่ การลดระดับเป็น ‘ระยะหลังการระบาดใหญ่’ (Post-pandemic) ประเทศส่วนใหญ่ต้องมีผู้ติดเชื้อลดลงต่ำกว่าจุดสูงสุด และไวรัสที่ระบาดต้องมีคุณสมบัติเหมือนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

 

 

 

สำหรับปัจจัยที่จะทำให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น ใช้แนวคิดปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (Epidemiologic Triad) ว่าโรคประจำถิ่น จะเกิดจากความสมดุลระหว่าง 3 ปัจจัย ได้แก่ เชื้อโรค (Agent) คน (Host) และสิ่งแวดล้อม (Environment) กล่าวคือ

 

 

  • เชื้อโรคมีความรุนแรงลดลง ไม่ทำให้คนป่วยหนักหรือเสียชีวิต 
  • คนมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น 
  • สิ่งแวดล้อมเหมาะสม โดยมีการจัดการความเสี่ยง และเตรียมระบบสาธารณสุขและยารองรับ

 

 

 

1 ก.ค.65 ปิดเกมโควิด ปรับเป็น "โรคประจำถิ่น" จัดแผน 4 ระดับ 4 เดือน

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ