ตรวจ ATK ติด "โควิด" ทำ Home Isolation ได้ทันที เช็คช่องทางของจำเป็นต้องเตรียม
ตรวจ ATK แล้วติด "โควิด" ทำ Home Isolation ได้เลยทั้นทีไม่ต้อง RT-PCR ซ้ำ เช็คลิสต์ยาสามัญที่ขาดไม่ได้ พร้อมอุปกรณ์จำเป็นต้องมีติดบ้าน เปิด 4 ขั้นตอนรักษาโควิดที่บ้านแบบปลอดภัย
จากสถานการณ์การระบาดของ "โควิด" สายพันธุ์ "โอไมครอน" ทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก แต่มีอาการไม่รุนแรง คล้ายเป็นหวัดซึ่งสามารถรักษาตังเองที่บ้านหรือทำ "Home Isolation" ได้ เพื่อลดความหนาแน่นในโรงพยาบาล และช่วยให้โรงพยาบาลสามารถเก็ยเตียงไว้สำหรับผู้ติดโควิดที่มีอาการรุนแรง สำหรัผู้ที่ตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวกล่าสุดไม่ต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำอีกสามารถเข้าสู่ระบบการดูรักษาตัวเองแบบ "Home Isolation" ได้เลยทันที แต่การกักตัวนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในระดับเบื้องต้นเอาไว้ก่อน โดยเฉพาะการเตรียมยาสามัญ และการเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้
โดยเฉพาะยาในกลุ่มแรก คือ ยารักษาตามอาการ หรือยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค วันนี้ "คมชัดลึกออนไลน์" จะพาไปเช็คลิสต์ยาสามัญประจำบ้าน และสิ่งที่ต้องเตียงระหว่างการกักตัว ดังนี้
1. ยาประจำตัว สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรวางแผนเรื่องของยาให้มียาทานต่อเนื่อง 1-2 เดือน เพื่อลดการเดินทางไปโรงพยาบาล และลดการกำเริบของโรค
2. ยาพาราเซตามอล โดยให้กินยาพาราเซตามอลทันทีเมื่อมีไข้ หรือมีไข้สูงเกิน 37 องศาเซลเซียส เนื่องจากนอกจากอาการโควิด-19 การมีไข้สูงอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น หัวใจเต้นเร็ว ร่างกายอ่อนเพลีย หรือร่างกายขาดน้ำ
ไม่แนะนำให้ใช้ยาแอสไพรินในการลดไข้ : จากข้อมูลเบื้องต้นคุณหมอมักไม่แนะนำให้ใช้ยาแอสไพรินในการรักษาอาการไข้หวัดใหญ่ หรือผู้ที่มีไข้สูง โดยเฉพาะในเด็ก เพราะอาจจะเป็นการเพิ่มสาเหตุของอาการตับอักเสบมากขึ้น
4. ยาแก้ไอแบบเม็ด Dextromethorphan ถ้ามีอาการไอเยอะ สามารถกินได้ แต่ควรกินตามขนาดที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำ และกินเฉพาะผู้ที่ยังไม่มีอาการปอดอักเสบ เนื่องจากสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบแล้ว หลายคนจะมีอาการไอมากกว่าปกติ รวมถึงมีเสมหะจำนวนมาก ซึ่งผลิตจากถุงลมส่วนล่าง ที่พยายามจะขับออกมาเวลามีเชื้อ ดังนั้นหากมีอาการปอดอักเสบแล้ว กินยาแก้ไอลักษณะนี้ เหมือนเป็นการไปกดอาการไอมากจนเกินไป ทำให้ร่างกายจะขับเสมหะออกมาตามธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายได้
5. ยาลดน้ำมูก Chlorpheniramine หรือ CPM เป็นยาเพื่อช่วยลดเสมหะ ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น สามารถบรรเทาอาการได้ ในคนที่มีอาการเยอะ
ข้อควรระวัง : หากเป็นผู้ป่วยโรคไต หรือ โรคตับบางอย่างที่มีข้อห้ามในการใช้ก็ต้องระมัดระวัง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น : หากใช้มากเกินไปอาจทำให้น้ำมูกแห้ง คอแห้ง ปากแห้ง หรือมีอาการง่วงซึมได้ ควรใช้เท่าที่จำเป็น หรือใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
6. ยาแก้แพ้ Fexofenadine เป็นยาที่มีฤทธิ์ช่วยลดน้ำมูก สามารถมีติดบ้านได้ แต่ให้ทานเท่าที่จำเป็น หรือใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
7. ผงเกลือแร่ ORS (Oral Rehydration Salts) หรือที่เรียกว่า ผงน้ำตาลเกลือแร่ (Electrolyte Powder Packet) คือ สารที่ช่วยทดแทนการสูญเสียเกลือแร่ มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มพลังงาน เกลือแร่ และน้ำในร่างกาย รวมทั้งป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่จากอาการท้องเสีย หรือ อาเจียน ให้ชงเกลือแร่ ORS ผสมน้ำต้มสุก น้ำสะอาด จิบเรื่อยๆ ทั้งวัน (ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตและโรคหัวใจควรปรึกษาแพทย์ก่อน)
8. ยาสามัญประจำบ้านอื่น ๆ เพื่อใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ยาเม็ดลดกรด อะลูมินา-แมกนีเซีย-ไซเมธิโคน ยาธาตุน้ำแดง ลดอาการท้องอืด ผงถ่านรักษาอาการท้องเสีย ยาดมแก้วิงเวียน ยาหม่อง เป็นต้น
ซึ่งยาในกลุ่มดังกล่าวข้าวต้น ยกเว้นยารักษาโรคประจำตัว จะเป็นยาที่สามารถซื้อไว้ติดบ้านได้ แต่ไม่ใช่ยาในการลดอาการปอดอักเสบ หรือลดการเกิดโรครุนแรง เป็นกลุ่มยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการ ให้ใช้เมื่อจำเป็น ในคนที่ไม่มีข้อห้าม ไม่ได้มีผลในการเปลี่ยนแปลงโรค แต่เป็นการบรรเทาอาการเท่านั้น
9. อุปกรณ์จำเป็นระหว่างอยู่ Home Isolation
ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ที่ผู้ป่วยโควิดควรมีติดบ้านไว้ และหมั่นนำมาใช้ตรวจเช็คร่างกายทุกวันตามแพทย์สั่ง (จะมีแพทย์/เจ้าหน้าที่ Video Call ติดตามอาการ 2 ครั้ง/วัน) ได้แก่
ปรอทวัดไข้ : วัดในช่วงเช้าและเย็น อุณหภูมิร่างกายไม่ควรเกิน 37.5 องศาเซลเซียส และสังเกตอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ถ้ามีอาการไอหนักกว่าเดิม เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หรือหายใจลำบาก ต้องรีบแจ้งทีมแพทย์
เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด : ใช้หนีบบริเวณปลายนิ้ว เพื่ออ่านค่าออกซิเจนเบื้องต้นของร่างกาย โดยค่าปกติของออกซิเจนในเลือดทั่วไปจะต้องมากกว่า 95% ถ้าค่าออกซิเจนต่ำกว่า 95 ต้องรีบแจ้งทีมแพทย์
เจลลดไข้ : ช่วยลดอุณหภูมิร่างกายได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็ก/เด็กเล็ก ติดโควิด
4 ขั้นตอนทำ "Home Isolation"
เข้าสู่ระบบการรักษาตัวที่บ้าน ทำยังไง
1.เมื่อรู้ว่า เสี่ยง หรือ มีอาการใกล้เคียง
ใช้ชุดตรวจโควิด (Antigen Test Kit) ที่ผ่านการรับรองจาก อย. ด้วยตนเองหรือตรวจจากหน่วยตรวจโควิดเชิงรุก
ชุดตรวจโควิดใช้ชนิดตรวจได้ด้วยตนเอง (Home Use) เท่านั้นโดยเป็นการตรวจผ่านโพรงจมูกหรือน้ำลาย
2.หากผลตรวจเป็นบวก (ติดเชื้อ)ให้ติดต่อ 1330 กด 14 สายด่วน สปสช. หรือ Add Line สปสช. @nhso หรือกรอกข้อมูลผ่านแบบฟอร์ม https://crmsup.nhso.go.th
3.รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ หลังจากจับคู่ผู้ป่วยกับคลินิกศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลที่จะรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในระบบ Home Isolation
4.แพทย์ทำการวินิจฉัย หากอยู่ในกลุ่มไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย (กลุ่มสีเขียว) สามารถเข้าสู่ระบบ Home Isolation ได้
โดยจะได้รับ
- ยาฟ้าทะลายโจร และยาพื้นฐานอื่นๆ
- เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
- ปรอทวัดไข้
- อาหาร 3 มื้อ
- แพทย์ติดตามอาการด้วย Video Call 2 ครั้ง/วัน
ที่มา: vichaivej , www.mhesi.go.th