โควิด-19

"โอไมครอน" ไทยขาขึ้น สธ. เฝ้าระวังป่วยหนัก-ตาย หลัง 2 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 2 เท่า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โอไมครอน" ประเทศไทย "ขาขึ้น" สธ. เฝ้าระวัง ผู้ป่วยหนักใส่ท่อหายใจ-เสียชีวิต หลัง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่ม 2 เท่า

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระบุว่า สถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โดยขณะนี้ หลายครอบครัวมีการติดเชื้อภายในบ้านเพิ่มมากขึ้น สถานการณ์ทั่วโลกเป็นการระบาดของสายพันธุ์ "โอไมครอน" ซึ่งเป็นการแพร่ระบาดที่เร็ว แต่ความรุนแรงของโรคยังน้อยอยู่ ประเทศไทยในช่วงนี้ เป็นช่วงขาขึ้นของการระบาดสายพันธุ์ "โอไมครอน" สอดคล้องกับการแพร่ระบาดในหลายประเทศ ที่สำคัญคือ ต้องเฝ้าระวังผู้ป่วยมีอาการหนัก ที่จะนำไปสู่การเสียชีวิตให้มากขึ้น เช่น ในกลุ่มผู้ป่วยภาวะปอดอักเสบ ที่ขณะนี้มีอยู่ 905 ราย วันนี้เพิ่มขึ้น 23 ราย โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มผู้ป่วยภาวะปอดอักเสบเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 240 ราย วันนี้เพิ่ม11 ราย โดยในช่วง 2 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 2 เท่า ขณะที่อัตราการเสียชีวิตก็เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน 

 

 

 

นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า ผู้ติดเชื้อในประเทศส่วนใหญ่ในขณะนี้ไม่มีอาการ หรือ อาการน้อยจำนวนมาก โดยอัตราผู้ติดเชื้อโควิด-19 เฉลี่ย 14 วันที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 70 โดยมีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ทำการรักษาอยู่ 180,993 ราย แบ่งเป็นใน HI/CI/โรงพยาบาลสนาม 107,223 ราย และรักษาในโรงพยาบาลในส่วนที่มีอาการน้อย 72,865 ราย สัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับช่วงการระบาดของ "เดลตา" การเสียชีวิตถือว่าน้อย ห่างกัน 10 เท่า แต่ในส่วนอัตราการติดเชื้อทั่วไปใกล้เคียงกับช่วงเดลตา ส่วนการตรวจเชื้อโควิด หากตรวจด้วยชุดตรวจ ATK และพบผลบวก การที่จะตรวจ rt-pcr แล้วผลบวกมีความเป็นไปได้สูง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องตรวจ rt-pcr ซ้ำ กรณีที่ต้องตรวจ rt-pcr ซ้ำ จะเป็นในกลุ่มที่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มอาการหนัก ซึ่งจะเป็นเฉพาะบางกรณี บางรายเท่านั้น

 

 

 

"โอไมครอน" ไทยขาขึ้น สธ. เฝ้าระวังป่วยหนัก-ตาย หลัง 2 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 2 เท่า

 

ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การติดเชื้อขณะนี้เกิดขึ้นในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มที่ไปสถานที่เสี่ยง และนำมาแพร่เชื้อในชุมชนในครอบครัว ขณะที่ในวัยเด็ก อัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตอนระบาดของสายพันธุ์ "เดลตา" ในช่วงนี้ กลุ่มผู้สูงอายุมีอัตราการติดเชื้อที่ต่ำกว่าในกลุ่มวัยอื่น ๆ แต่ถือว่ามีความเสี่ยงสูงอาการหนัก และเสียชีวิตได้ หากรับเชื้อโควิด-19

 

 

 

แต่แนวโน้มผู้สูงอายุป่วยรุนแรงจากโควิด-19 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 จำนวน 666 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 82 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนี้พบว่า ร้อยละ 58 ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีน , ร้อยละ 30 มีประวัติรับวัคซีนครบ 2 เข็ม , ร้อยละ 10 มีประวัติวัคซีน 1 เข็ม และร้อยละ 2 มีประวัติรับวัคซีน 3 เข็มขึ้นไป  ทำให้ต้องเร่งรัดการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และฉีดเข็มกระตุ้น

 

 

"โอไมครอน" ไทยขาขึ้น สธ. เฝ้าระวังป่วยหนัก-ตาย หลัง 2 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 2 เท่า
 

นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงสถานการณ์เตียงทั่วประเทศ ขณะนี้ ครองเตียงไปแล้วร้อยละ 52 จากเตียงทั้งหมด 180,000 แสนเตียง โดยเหลือเตียงรองรับร้อยละ 40 ซึ่งเตียงที่นอนในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ ตอนนี้เป็นผู้ป่วยสีเขียว ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ยังคงมีเตียงรองรับได้อยู่ โดยย้ำว่า หากผู้ป่วยตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK แล้วเป็นบวก ไม่จำเป็นต้องยืนยันด้วยผล rt-pcr 

 

 

สำหรับสถานการณ์เตียงเพิ่มเติม เช่น ที่โรงพยาบาลสนาม ของโรงพยาบาลเลิดสิน มี  200 เตียง  เดิมรองรับกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง แต่ตอนนี้ยังคงมีเตียงว่างอยู่ จึงนำมาให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวบางส่วน ส่วนการเปิดศูนย์พักคอยฯ หรือ CI เพิ่มในกรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ ไม่นิยมเข้ารับการรักษาใน CI จึงยังไม่ได้มีการเปิดเต็มรูปแบบ แต่หากผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับร้อยละ 70 ถึงร้อยละ 80 อาจจะมีการพิจารณาเปิดในส่วนนี้เพิ่มเติม ทั้งนี้ หากเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิด ที่ไม่มีอาการเลย ไม่จำเป็นต้องได้
"ยาฟาวิพิราเวียร์" แต่หากมีอาการอื่น ๆ ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ในการจ่ายยา ซึ่งจะเน้นการจ่ายยารักษาตามอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อเท่านั้น

 

 

 

"โอไมครอน" ไทยขาขึ้น สธ. เฝ้าระวังป่วยหนัก-ตาย หลัง 2 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 2 เท่า

logoline