โควิด-19

"โควิด"ยิ่งกลายพันธุ์มากยิ่งแพร่ระบาดไว "โอไมครอน" เป็นอีกตัวที่น่ากังวล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โควิด"ยิ่งกลายพันธุ์หลายตำแหน่งยิ่งระบาดเร็ว แต่ไม่ทำป่วยรุนแรง "โอไมครอน" ไวรัสอีกหนึ่งตัวที่น่ากังวล ศูนย์จีโนมฯ เร่งพัฒนาชุดตรวจที่จับได้ทุกสายพันธุ์ภายใน 24-48 ชม.

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ Center for Medical Genomics สรุปสถานการณ์การระบาดของ "โควิด" และการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ต่าง รวมไปถึงสายพันธุ์ล่าอย่าง "โอไมครอน" BA.2หรือ "โอมิครอน" BA.2 โดยระบุว่า 

เราได้อะไรจากการศึกษา "ธรรมชาติการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019" โดยเฉพาะโอมิครอน "BA.2"


1. จากการศึกษา "ธรรมชาติการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019" ด้วยการถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนม ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯพบว่าจำนวนการกลายพันธุ์บนจีโนมที่เพิ่มมากขึ้นเท่าไรจะส่งผลให้สายพันธุ์ (variant) นั้นแพร่ติดต่อได้อย่างรวดเร็ว (high transmissibility) มากขึ้นเท่านั้น  โดยจำนวนการกลายพันธุ์ไม่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรง (severity) ของโรคโควิด-19

 

2. โอมิครอนสายพันธุ์ BA.2 มีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม “อู่ฮั่น” ประมาณ 80-100 ตำแหน่ง พบว่ามีการระบาดรวดเร็วที่สุดในปัจจุบัน สูงกว่า BA.1 คาดว่าอาจมีค่า Reproduction number (R) หรือ R-naught (R0) ใกล้เคียงกับไวรัสหัดคือ 18 อันหมายถึงผู้ติดเชื้อหนึ่งรายสามารถแพร่เชื้อให้กับผู้ใกล้ชิดได้ถึง 18 ราย

3. ไวรัสโคโรนา 2019  หรือ "ควิด" ที่มีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม“อู่ฮั่น” ไม่เกิน 60 ตำแหน่ง เป็นบรรดาสายพันธุ์ที่ต้องกังวล (VOC) และสายพันธุ์ต้องสนใจ (VOI) ซึ่งส่วนใหญ่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วหรือกำลังจะสูญพันธุ์ เช่น
• อัลฟา (Alpha) ชื่อทางการ B.1.1.7 พบที่แรกคือเมืองเคนต์ ประเทศอังกฤษ
• สายพันธุ์เบตา (Beta) ชื่อทางการ B.1.351 พบที่แรกคือประเทศแอฟริกาใต้
• สายพันธุ์แกมมา (Gamma) ชื่อทางการ P.1 พบที่แรกคือประเทศบราซิล
• สายพันธุ์เดลตา (Delta) ชื่อทางการ B.1.617.2 พบที่แรกคือประเทศอินเดีย
• สายพันธุ์มิว (Mu) ชื่อทางการ B.1.621พบที่แรกคือโคลัมเบีย
• สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda) ชื่อทางการ C.37 พบที่แรกคือเปรู
• สายพันธุ์เอปไซลอน (Epsilon) ชื่อทางการ B.1.427/B.1.429 พบที่แรกคือสหรัฐอเมริก
• สายพันธุ์ซีตา (Zeta) ชื่อทางการ P.2 พบที่แรกคือบราซิล
• สายพันธุ์อีตา (Eta) ชื่อทางการ B.1.525 พบที่แรกในหลายประเทศ
• สายพันธุ์ธีตา (Theta) ชื่อทางการ P.3 พบที่แรกคือฟิลิปปินส์
• สายพันธุ์ไอโอตา (Iota) ชื่อทางการ B.1.526 พบที่แรกคือสหรัฐอเมริก
• สายพันธุ์แคปปา (Kappa) ชื่อทางการ B.1617.1 พบที่แรกคืออินเดีย
ฯลฯ

 

"โควิด"ยิ่งกลายพันธุ์มากยิ่งแพร่ระบาดไว "โอไมครอน" เป็นอีกตัวที่น่ากังวล

4. ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ "ควิด" ที่มีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม“อู่ฮั่น” มากกว่า 60 ตำแหน่ง จะมีเพียง “โอมิครอน” สายพันธุ์ BA.1, BA.1.1, BA.2, BA.3 เท่านั้น โดยทางองค์การอนามัยโลกขอให้แต่ห้องปฏิบัติการในแต่ละประเทศเฝ้าติดตาม 4 สายพันธุ์นี้  องค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อมูลว่า “โอมิครอน” มีการแพร่ระบาดเรวดเร็วกว่าเดลตา ส่วนอาการความรุนแรงน้อยกว่าเดลตาที่กลายพันธุ์ไปเพียง 60 ตำแหน่ง


5. ข้อมูลรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019  หรือ "ควิด" จากห้องปฏิบัติการทั่วโลกได้ถูกอัปโหลดขึ้นไปบนฐานข้อมูลคลาวด์ของโควิดโลก “GISAID” เมื่อนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูลทางคลินิกจะสามารถบ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรคโควิด-19 ของแต่ละสายพันธุ์ได้
• ผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีอันตราการตายน้อยกว่า เดลตาและอัลฟา (รัอยละ 0.9 VS ร้อยละ 5.4) 
• ผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีอายุน้อยกว่า เดลตา และ อัลฟา
• ผู้ติดเชื้อโอมิครอนเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
• จำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่ต้องอยู่ รพ. น้อยกว่าผู้ติดเชื้อ อัลฟา และ เดลตา (ร้อยละ 19.8% VS 54.6%) 
• ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วยังติดเชื้อ (vaccine breakthrough cases) พบว่าเป็น โอมิครอนร้อยละ 55.9 เดลตาร้อยละ 24.3 และอัลฟาร้อยละ 3.2
• ความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันเปรียบเทียบระหว่าง BA.1 และ BA.2  ใกล้เคียงกัน
• โอมิครอนติดเซลล์ในระบบหายใจส่วนบนได้เร็วกว่าถึง 70 เท่าเมื่อเทียบกับเดลตา
• โอมิครอนทำลายเซลล์เสียหาย (cell fusion) น้อยกว่าเดลตา
• องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าหลักฐานเทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นบ่งชี้ว่า BA.2 สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่า BA.1  แต่ ณ. ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่า BA.2 เป็นอันตรายมากกว่า BA.1  และวัคซีนยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อ BA.2เช่นเดียวกับที่ต่อต้านสายพันธุ์โอไมครอนดั้งเดิม หรือ BA.1

 

 

6. การศึกษา “ธรรมชาติการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019” หรือ "ควิด"ช่วยในการพัฒนาชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ATK PCR และ จีโนไทป์ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯอาศัยข้อมูลจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมมาพัฒนาชุดตรวจหาสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 แบบ “Mass Array genotyping” ซึ่งมีคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนตัวตรวจตาม (Primers) ในทุก 1-2 เดือนเพื่อให้ทันกับการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 และเทคโนโลยีนี้สามารถตรวจวินิจฉัยสายพันธุ์เดิมและที่อุบัติขึ้นมาใหม่ได้ภายในเวลาเพียง 24-48 ชั่วโมงให้กับผู้ติดเชื้อที่รอการรักษาด้วยยาประเภท “แอนติบอดีคอกเทล” หรือยาต้านไวรัสประเภทต่างๆ ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาแตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ (Targeted therapies)

logoline