โควิด-19

"โควิด-19" ผลสำเร็จไม่ดูที่เตียงไม่เต็ม คาดขาลงใช้เวลา 1.5 เท่าของขาขึ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หมอธีระ เผยไทยและเอเชียยังอยู่ช่วงขาขึ้น ผลลัพธ์ของการต่อสู้โรคระบาดนั้น การประเมินความสำเร็จไม่ใช่การดูที่เตียงไม่เต็ม คาดขาลงใช้เวลาราว 1.5 เท่าของขาขึ้น

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ข้อความว่า ข้อมูลจาก Worldometer พบว่า ทั่วโลกจำนวนติดเชื้อ "โควิด-19" ใหม่รายสัปดาห์ลดลง 21% เป็นขาลงชัดเจน และจำนวนการเสียชีวิตรายสัปดาห์ก็ลดลง 7%

อย่างไรก็ตามมีเพียงทวีปเอเชีย และโอเชียเนีย ที่มีจำนวนติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ที่ลดลงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของโลกคือ 11% และ 8% ตามลำดับ บ่งชี้ให้เห็นว่าการระบาดยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และยังหนักกว่าทวีปอื่นๆ



ทวีปเอเชียนั้นมีถึง 14 ประเทศ ที่ยังมีจำนวนติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น รวมถึงไทยเราด้วย

เจาะลึกที่ไทย มีติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์เพิ่มขึ้นสวนกระแสโลก 38% และตายเพิ่มขึ้น 28%

 

"โควิด-19" ผลสำเร็จไม่ดูที่เตียงไม่เต็ม  คาดขาลงใช้เวลา 1.5 เท่าของขาขึ้น


เฉลี่ยแล้วขาลงจะใช้เวลาราว 1.5 เท่าของขาขึ้น

นี่คือคำตอบเท่าที่มีข้อมูลตอนนี้ครับ หลายคนพยายามถามคำถามเดียวกันในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อวางแผนการดำเนินชีวิต จัดงาน และดำเนินกิจการอื่นๆ

คำแนะนำคือ สำคัญอยู่ที่การป้องกันตัว หากวางแผนทำโน่นนี่นั่น ด้วยลักษณะสังคมตอนนี้คงต้องดำเนินต่อไป เพราะดูจะสายเกินกว่าที่จะหวังพึ่งเรื่องนโยบายมาพลิกสถานการณ์ได้แล้ว และจะต้องดำเนินไปตามธรรมชาติของการระบาด

ถ้ากิจกรรมไม่จำเป็น เลื่อนได้ก็เลื่อน เลี่ยงได้ก็เลี่ยง แต่หากจำเป็น ก็ขอให้พยายามลดปัจจัยเสี่ยงในการแพร่เชื้อติดเชื้อ อันได้แก่ ความแออัด ความใกล้ชิด ระยะเวลายาวนาน ที่อับปิดทึบหรือระบายอากาศไม่ดี การแชร์ของกินของใช้ร่วมกัน

และที่สำคัญคือการใส่หน้ากากครับ ลองปรับและวางแผนดูว่าจะลดปัจจัยเสี่ยงใดได้บ้าง ยิ่งลดได้เยอะ ความเสี่ยงก็จะลดลงไปตามลำดับ

หากใครไม่สบาย ก็ควรงดกิจกรรมต่างๆ ไปตรวจรักษาและพักฟื้นจนหายดีเสียก่อน มาตรการป้องกันข้างต้นทั้งหมด เราคงทราบกันดีว่าคือการรวมกันตั้งแต่ Primordial (กำจัด งด เลี่ยง), Primary (ป้องกันตัว ลดปัจจัยเสี่ยง แยกตัวคนไม่สบายออกจากคนอื่น), Secondary (รีบตรวจ รีบรักษา)

ส่วนคนที่ติดเชื้อ "โควิด-19" ที่เป็นห่วงคือ ด้วยข้อมูลวิชาการตอนนี้ ปัญหา Long COVID จะเป็นผลกระทบระยะยาวทั้งต่อบุคคล ครอบครัว และประเทศ ดังนั้นก็ขอให้ประเมินสถานะสุขภาพตนเอง หากมีปัญหาก็ขอให้ปรึกษาและรับการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ และปรับตัวปรับการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสถานะสุขภาพ

 

"โควิด-19" ผลสำเร็จไม่ดูที่เตียงไม่เต็ม  คาดขาลงใช้เวลา 1.5 เท่าของขาขึ้น

 

ผลลัพธ์ของการต่อสู้โรคระบาดนั้น การประเมินความสำเร็จไม่ใช่การดูที่เตียงไม่เต็ม

สังคมที่มีปัญญาย่อมรู้เท่าทัน และทราบดีว่าควรดูที่นโยบายและมาตรการด้านสาธารณสุข และการควบคุมป้องกันโรคนั้น ทำให้คนอยู่รอดปลอดภัยจากการติดเชื้อ การป่วย การตาย และการทุพพลภาพ (อาการคงค้างเรื้อรัง หรือพิการ) หรือไม่

นอกจากนี้ตัวชี้วัดโดยอ้อม แต่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์ข้างต้น ที่สามารถประเมินได้คือ สภาพสังคม สภาพแวดล้อมรอบตัว ที่คนอาศัยอยู่นั้น มีลักษณะที่ปลอดภัยหรือไม่ เสี่ยงน้อยลง หรือเสี่ยงเพิ่มขึ้น

ดังนั้นตัวชี้วัดความสำเร็จจึงยังควรเป็นจำนวนติดเชื้อที่แท้จริง (ทุกวิธีที่ใช้ตรวจ) จำนวนป่วย จำนวนตาย จำนวนผู้ประสบปัญหาคงค้างระยะยาว และความเสี่ยงของสภาพแวดล้อมในสังคม

Outcomes = Strategy * Capacity * Attitude

ถ้า Outcomes จะดีหรือไม่ดี สาเหตุย่อมหนีไม่พ้นสามปัจจัยข้างต้น

ประชาชนในสังคมจะเป็นคนที่ทราบดี


logoline

ข่าวที่น่าสนใจ