โควิด-19

"โอไมครอน" BA.2 รุนแรงเท่าเดลตา วัคซีนและยารักษาโควิดอาจต้านไม่ไหว

นักวิจัยเผย "โอไมครอน" BA.2 ทำป่วยหนักรุนแรงเท่าเดลตา หลบภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนได้ดี ยารักษาโควิดอาจต้านไม่ไหว พบระบาดมากขึ้นในทวีปเอเชีย

นพ. ดาเนียล โรดส์ ผู้เชี่ยวชาญชีววิทยา คลินิกคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ผลการตรวจสอบและศึกษาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  สายพันธุ์ "โอไมครอน" BA.2 พบว่า สายพันธุ์ BA.2 อาจมีความย่ำแย่มากกว่าสายพันธุ์โอไมครอนดั้งเดิม BA.1 และอาจสามารถ
แพร่ระบาดดีกว่าเดิม ที่สำคัญทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงในผู้ที่ได้รับเชื้อ  

ด้านผลการศึกษาจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่น โดยนายเคอิ ซาโตะ นักวิจัยวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ญี่ปุ่น พบว่า  สายพันธุ์  "โอไมครอน" BA.2 มีความสามารถในการทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง ได้ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เดลตา ที่มีความรุนแรง ทั้งในแง่อาการ และการเสียชีวิต  นอกจากนี้ สายพันธุ์รอง BA.2 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่เกิดจาก

 

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ที่สำคัญ ยังต่อต้านกับการรักษาด้วยยา Sotrovimab หรือชื่อทางการค้าว่า Xevudy เป็นยารักษาโควิด-19 ด้วยแอนติบอดี ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างบริษัท GlaxoSmithKline (GSK) บริษัทยายักษ์ใหญ่ของสหราชอาณาจักร และบริษัท Vir Biotechnology จากสหรัฐ 

 

ผลการศึกษาทั้งหมดตามข้างต้น ได้ถูกเก็บไว้ใน bioRxiv ซึ่งเป็นแหล่งอ้างอิงเอกสารงานวิจัย และผลการศึกษาทางการแพทย์ชั้นนำระดับโลก ก่อนที่จะถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ที่วงการแพทย์ทั่วโลกใช้เป็นที่อ้างอิง 

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาดแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หรือ CDC เปิดเผยว่า สายพันธุ์ "โอไมครอน"  BA.2 มีความสามารถในการแพร่ระบาดระหว่าง 30-50%  มากกว่าสายพันธุ์โอไมครอนในปัจจุบัน ข้อมูลถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 สายพันธุ์ "โอไมครอน" รอง BA.2 ระบาด 74 ประเทศ และระบาด 47 รัฐ จากทั้งหมด 50 รัฐ ในสหรัฐอเมริกา  องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เปิดเผยรายงานการระบาดโรคโควิด-19 ประจำสัปดาห์ ล่าสุดว่า สำหรับในต่างประเทศนั้น ประเทศที่พบการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอน รอง BA.2 เป็นสายพันธุ์หลัก ได้แก่ บังคลาเทศ บรูไน(อาเซียน) จีนแผ่นดินใหญ่ เดนมาร์ก กวม อินเดีย มอนเตเนโกร เนปาล ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ นั่นหมายถึง  พบการระบาดในทวีปเอเชียเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

ข่าวยอดนิยม