โควิด-19

เจอไม่หยุดอาการ "Long COVID"ล่าสุดส่งผลกระทบเสี่ยงเกิดอาการจิตเวช

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หมอธีระเผยพบอาการ "Long COVID" ส่งผลกระทบเสี่ยงทำให้เกิดอาการจิตเวช เสี่ยงภาวะซึมเศร้า 39 % นอนไม่หลับมากขึ้น 41%

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat" เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 และงานวิจัยอาการคงค้างของโควิด-19 หรือ "Long COVID" หรือ ภาวะ "ลองโควิด" ว่า 


18 กุมภาพันธ์ 2565
ทะลุ 419 ล้านแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,933,842 คน ตายเพิ่ม 10,436 คน รวมแล้วติดไปรวม 419,909,413 คน เสียชีวิตรวม 5,879,775 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน รัสเซีย บราซิล เกาหลีใต้ และตุรกี
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ/ใต้ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 97.89 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 94.03
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 53.12 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 36.16
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก
 

รศ.นพ.ธีระ ระบุเพิ่มเติ่มว่า  อัพเดต "Long COVID" หรือ "ลองโควิด" กับปัญหาด้านความจำและจิตเวช
Xie Y และคณะ ทำการศึกษาในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ 153,848 คน ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 มาก่อน และเปรียบเทียบกับประชากรที่ไม่เคยติดเชื้อ เพื่อศึกษาว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 มาก่อนจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาทางจิตเวชมากน้อยเพียงใดในช่วง 12 เดือนถัดมา
เผยแพร่งานวิจัยในวารสารการแพทย์ระดับโลก British Medical Journal
สาระที่สำคัญมากมีดังนี้

 

หนึ่ง การติดเชื้อมาก่อนจะทำให้เสี่ยงต่อโรคจิตเวชมากขึ้นอย่างชัดเจน อาทิ เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนที่ไม่ติดเชื้อถึง 39%, เสี่ยงต่อภาวะเครียดมากขึ้น 35%, เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านความจำมากขึ้น 80% และมีปัญหาด้านการนอนหลับมากขึ้น 41%
สอง ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับคนที่เป็นไข้หวัดใหญ่ จะพบว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 จะทำให้เสี่ยงต่อปัญหาจิตเวชต่างๆ ตามมา มากกว่าไข้หวัดใหญ่ถึง 1.43 เท่า 

 

เจอไม่หยุดอาการ "Long COVID"ล่าสุดส่งผลกระทบเสี่ยงเกิดอาการจิตเวช
 

...ผลการศึกษาข้างต้น ตอกย้ำให้เราทราบว่า โควิดไม่ใช่หวัดธรรมดา และไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นจะเป็นปัญหาระยะยาวในลักษณะภาวะอาการคงค้าง หรือ "Long COVID" ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายระบบของร่างกาย ทั้งสมอง หัวใจและหลอดเลือด ทางเดินอาหาร ผิวหนัง ต่อมไร้ท่อ และปัญหาทางด้านจิตเวช ฯลฯ
ปัญหา "Long COVID" ที่เกิดขึ้นนั้นจะส่งผลต่อสมรรถนะในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว และชีวิตการทำงาน โดยอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น และภาระค่าใช้จ่ายระยะยาว
ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด
สถานการณ์ไทยเรายังระบาดรุนแรงต่อเนื่อง จึงต้องใช้ชีวิตอย่างมีสติ ระมัดระวัง ป้องกันตัวอย่างเป็นกิจวัตร

เจอไม่หยุดอาการ "Long COVID"ล่าสุดส่งผลกระทบเสี่ยงเกิดอาการจิตเวช

 

 

อ้างอิง
Xie Y et al. Risks of mental health outcomes in people with covid-19: cohort study. BMJ 2022;376:e068993.

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ