โควิด-19

จ่อปรับโควิดเป็น "โรคประจำถิ่น" ปีนี้ ชี้ "โอไมครอน" ไม่รุนแรง ไม่มีตาย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศบค. แถลง จ่อปรับโควิดเป็น "โรคประจำถิ่น" ในปี 2565 หลังสถานการณ์การระบาด "โอไมครอน" ไม่รุนแรง ไม่มีตาย แต่ต้องใช้ชีวิตแบบ New Normal

แพทย์หญิงสุมนี วัชรสินธุ์ รองผู้อำนวยการ (ด้านบริหาร) กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้ช่วยรองโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ "ศบค." รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย มีรายละเอียดดังนี้ ติดเชื้อในประเทศ 7,681 ราย ติดเชื้อในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 12 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 277 ราย รักษาหายเพิ่มขึ้น 3,350 ราย หายป่วยสะสม 2,204,135 ราย (ตั้งแต่ปี 2563) อยู่ระหว่างรักษาตัว 66,286 ราย แบ่งเป็น ในโรงพยาบาล 37,313 ราย โรงพยาบาลสนาม และอื่น ๆ 28,973 ราย ในจำนวนนี้ มีอาการหนัก 480 ราย ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 108 ราย ซึ่งพบว่า มีจำนวนตัวเลขลดลง

 

จ่อปรับโควิดเป็น "โรคประจำถิ่น" ปีนี้ ชี้ "โอไมครอน" ไม่รุนแรง ไม่มีตาย

ส่วนยอดการตรวจ ATK วันนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า มียอดผู้ติดเชื้อเข้าข่ายจำนวน 2,048 ราย โดยจำนวนนี้ไม่รวมในการรายงานยอดผู้ติดเชื้อใหม่ ซึ่งยืนยันผลด้วย RT-PCR

 

สำหรับ 10 อันดับจังหวัดผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 892 ราย ชลบุรี 873 ราย สมุทรปราการ 523 ราย ภูเก็ต 488 ราย ขอนแก่น 277 ราย อุบลราชธานี 269 ราย นนทบุรี 251 ราย เชียงใหม่ 194 ราย ศรีสะเกษ 167 ราย และบุรีรัมย์ 166 ราย

 

ทั้งนี้ กทม.พบว่าตัวเลขเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นการเดินทางกลับมาทำงาน ปัจจัยเสี่ยงที่พบมากคือ ช่วงพักทานข้าว หรือเลิกงาน จะเป็นการกินดื่ม รับประทานอาหารร่วมกัน ทำให้มีการแพร่เชื้อมากขึ้น จึงอยากเน้นย้ำ ให้ WFH หรือ หากต้องกลับมาทำงาน ควรแยกรับประทานอาหาร

 

อย่างไรก็ตาม มีความเป็นห่วง 8 จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว ที่วันนี้เพิ่มขึ้นถึง 507 คน จึงอยากเน้นย้ำ ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร หรือ โรงแรม ควรกำกับติดตามให้อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมโควิด และ เน้นย้ำประชาชน ต้องเคร่งครัดมาตรการส่วนบุคคลให้เป็นปกติวิสัย ในการใช้ชีวิตประจำวัน

 

ส่วน "คลัสเตอร์" ที่พบมากที่สุดคือ

  • ร้านอาหารกึ่งผับ ใน 8 จังหวัด ประกอบด้วย อุบลราชธานี น่าน อุดรธานี พะเยา ขอนแก่น เชียงใหม่ และศรีสะเกษ 
  • งานสังสรรค์ปีใหม่ พบใน 2 จังหวัด คือ อุดรธานีน และนองบัวลำภู
  • คลัสเตอร์อื่น ๆ เช่น งานบุญ พบน้อยลง มีรายงานแค่จังหวัดเดียวคือนครพนม 

 

จ่อปรับโควิดเป็น "โรคประจำถิ่น" ปีนี้ ชี้ "โอไมครอน" ไม่รุนแรง ไม่มีตาย

พญ.สุมนี กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 ในระลอกมกราคม 2565 ลดลงกว่าระลอกเมษายน 2564 ส่วนหนึ่งมาจากการได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้น รวมทั้งตัวเลขสัดส่วนคนใส่เครื่องช่วยหายใจ อยู่ที่ 1:1,000 คน ถึงแม้การติดเชื้อจะสูงขึ้น แต่ผู้ป่วยอาการรุนแรง และผู้เสียชีวิตลดลง จึงเรียกได้ว่าโควิด-19 เริ่มมีทิศทางเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งเราจะสามารถใช้ชีวิตประจำวัน อยู่กับโรคได้ แต่โควิดจะไม่เหมือนโรคประจำถิ่นแบบอื่น ซึ่งต้องอยู่แบบวิถีใหม่ หรือ New Normal ยังคงต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อออกจากบ้าน โดยสรุปแล้ว ขณะนี้ในประเทศไทยยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจาก "โอไมครอน" ซึ่งความรุนแรง
ยังถือว่าน้อยกว่า "เดลตา" มาก ซึ่งเมื่อสรุปสถานการณ์โดยรวมพบว่า ลักษณะของโรคมีการลดความรุนแรงลง และประชาชนส่วนใหญ่ได้รับวัคซีน อัตราการป่วย และเสียชีวิตอยู่ในระดับที่ต่ำ รวมทั้งการให้ความร่วมมือของประชาชน และสถานประกอบการ จึงคาดหวังว่า ในปีนี้ โควิดจะเปลี่ยนจาก "โรคระบาด" เป็น "โรคประจำถิ่น"

 

จ่อปรับโควิดเป็น "โรคประจำถิ่น" ปีนี้ ชี้ "โอไมครอน" ไม่รุนแรง ไม่มีตาย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ