โควิด-19

เบรคประกาศ "โควิด19" เป็นโรคประจำถิ่น ชี้ดูความไม่รุนแรงของโอไมครอนไม่ได้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หมอธีระกระตุกนโยบายประกาศ "โควิด19" เป็นโรคประจำถิ่น ชี้ไม่ควรพิจารณาจากความไม่รุนแรงของโอไมครอน แนะรัฐใจเย็นๆ ดูงานวิจัยภาวะ Long COVID และผลกระทบระยะยาวให้ดี

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat" ถึงแนวทางการประกาศให้ "โควิด19" เป็นโรคประจำถิ่น โดยบระบุว่า  อยากกระตุกขาเรื่องนโยบายนำไปสู่โรคประจำถิ่น โดยชูเรื่อง "ความไม่รุนแรงของโอไมครอน"
ความไม่รุนแรงที่กล่าวถึงว่าเทียบเท่าหรือน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่นั้น ยังไม่ควรรีบด่วนสรุปนะครับ   หากติดตามข้อมูลทั่วโลกดู จะพบว่ามีงานวิชาการหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าสถานะปัจจุบันยังรุนแรงกว่าไข้หวัดใหญ่ และยังมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากเกี่ยวกับ Omicron 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบระยะยาวจากการติดเชื้อ "โควิด19" คือภาวะอาการคงค้าง (Long COVID) 
ล่าสุดทีมจากมหาวิทยาลัย Stanford และ Yale เผยแพร่การวิจัยที่น่ากังวล เรื่องการติดเชื้อโควิด แม้จะอาการน้อย (Mild) ก็ส่งผลทำให้เกิดการทำงานผิดปกติของเซลล์สมอง และเกิด Myelin loss ของสมอง ซึ่งผลเช่นนี้อาจอธิบายเรื่องอาการคงค้างระยะยาวของผู้ป่วยโควิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขาดสมาธิ มีปัญหาด้านการคิดวิเคราะห์ รวมถึงความจำ
 

เบรคประกาศ "โควิด19" เป็นโรคประจำถิ่น ชี้ดูความไม่รุนแรงของโอไมครอนไม่ได้

รศ.นพ.ธีระ  ระบุต่อว่า อยากให้ฝ่ายนโยบายใจเย็นๆ อย่าเพิ่งผลีผลามครับ ขันน็อตพื้นฐานให้ดีเรื่องการป้องกันตัวในการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนถัดจากนี้ไปอย่างน้อย 1-2 ปี รวมถึงระบบการดำเนินธุรกิจค้าขายบริการให้เน้นความปลอดภัย และปรับนโยบายจัดซื้อจัดหาวัคซีนและการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกช่วงอายุ
โรคประจำถิ่นนั้นคงจะมีโควิดแน่นอน แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป จนกว่าเราจะรู้จักมันดีเพียงพอ อย่าดูเพียง snapshot ระยะสั้น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ