โควิด-19

"โอไมครอน"คาดสถานการณ์ในไทยจุดพีคช่วงกลางม.ค.อัตราระบาดเพิ่มขึ้น

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โอไมครอน" หมอธีระคาดสถานการณ์การะบาดในไทยสูงสุดช่วงกลางมกราคม จะเห็นอัตราเร่งระบาดเพิ่มมากขึ้น ห่วงระบบการตรวจไม่เพียงพอทั้ง ATK และ RT-PCR

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงสถานการการณ์การระบาดของโควิด19ทั่วโลก และสถานการณ์การระบาดของสายพัธุ์ "โอไมครอน" 
12 มกราคม 2565
ทะลุ 313 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,596,926 คน ตายเพิ่ม 7,544 คน รวมแล้วติดไปรวม 313,708,064 คน เสียชีวิตรวม 5,520,358 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา ฝรั่งเศส อิตาลี อินเดีย และสเปน
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 85.39 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 92.78
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 46.52 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 50.1 
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 4 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...อัพเดต Omicron
องค์การอนามัยโลกเพิ่งสรุปรายงาน WHO Weekly Epidemiological Update เมื่อวานนี้ 11 มกราคม 2565
สถานการณ์ไม่ดี เพราะจำนวนการติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ของทั่วโลกนั้นเพิ่มสูงขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนถึง 55% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 3%
มีเพียงทวีปแอฟริกาทวีปเดียว ที่ติดเชื้อใหม่ลดลง 11% อย่างไรก็ตามจำนวนการเสียชีวิตเพิ่มถึง 84% 
มองเรื่องจำนวนติดเชื้อใหม่ ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้นถึง 418% เป็นตัวเลขที่ย้ำเตือนให้ไทยเราตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมรับมือกับระลอก 4 จาก Omicron นี้
ในรอบเดือนที่ผ่านมา ข้อมูลระบบการเฝ้าระวังเรื่องสายพันธุ์จาก GISAID พบว่า Omicron ครองการระบาดของโลกโดยมีสัดส่วนถึง 58.5% เหนือกว่าเดลต้า (41.4%) ไปแล้ว  

...สรุปเปรียบเทียบระหว่างสายพันธุ์
WHO ทบทวนข้อมูลวิชาการปัจจุบัน ชี้ชัดว่า "โอไมครอน" Omicron แพร่เชื้อได้ไวขึ้น ผู้ที่ติดเชื้อมาก่อนสามารถติดเชื้อซ้ำได้มาก แต่มีแนวโน้มว่าความรุนแรงของโรคจะน้อยลงกว่าเดลต้า

ส่วนการตรวจคัดกรองโรคนั้น หากใช้ RT-PCR ยังสามารถใช้ตรวจได้ แต่หากใช้ rapid test (Ag-RDT หรือที่ไทยเราเรียกว่า ATK) มีรายงานผลที่แตกต่างกันไป กำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ (ดังที่ก่อนหน้านี้ ทราบกันดีว่่า US CDC ประกาศออกมาว่าจะมีความไวลดลง ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดผลลบปลอมสูง นั่นคือติดเชื้อแต่ตรวจได้ผลลบ)

...สรุปผลของวัคซีนต่อสายพันธุ์ Omicron
WHO สรุปให้เห็นว่า ข้อมูลวิชาการปัจจุบันชัดเจนว่า วัคซีนที่ใช้อยู่เดิมนั้นมีประสิทธิภาพลดลงต่อการป้องกันการติดเชื้อ (infection) และป้องกันการป่วย (symptomatic disease)
นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่วัคซีนจะมีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันการป่วยรุนแรง แต่ข้อมูลวิชาการยังมีจำกัด
นี่จึงเป็นเหตุผลที่การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นมีความสำคัญ

...สำหรับไทยเรา
ตามลักษณะการระบาดของ "โอไมครอน" Omicron ที่เห็นจากทั่วโลก ถัดจากกลางมกราคมคงเป็นช่วงที่เราต้องระวัง เพราะน่าจะเป็นช่วงอัตราเร่งของการระบาด ทั้งนี้หลายประเทศมีอัตราการเพิ่มขึ้นเร็วมากจนกราฟการระบาดแทบจะเกือบตั้งฉาก (nearly vertical) และทุกประเทศที่ระบาดหนัก จะประสบปัญหาการตรวจที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการทั้ง ATK และ RT-PCR และส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการปฏิบัติดูแลตนเองของประชาชน รวมถึงทำให้แพร่กระจายมากขึ้นเร็วขึ้นจากการไม่ทราบสถานะการติดเชื้อ

ประเด็นสำคัญคือ ไทยจะมีศักยภาพของระบบการตรวจโรคที่จะรองรับความต้องการยามระบาดมากขึ้นได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันเริ่มเห็นการขาดแคลนของชุดตรวจด้วยตนเอง และราคาที่สูงขึ้นจนประชาชนเข้าถึงได้ยากขึ้นในบางพื้นที่ นี่คือโจทย์ที่รัฐจำเป็นต้องรีบมาช่วยเหลือ ทั้งเรื่องการเปิดจุดบริการในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น การควบคุมราคาขาย และการพิจารณาแจกจ่าย ATK ให้แก่ทุกครัวเรือนหากเป็นไปได้ ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า
เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี
พบคนน้อยลงสั้นลง อยู่ห่างๆ เกินหนึ่งเมตร
และหมั่นสำรวจตนเองและครอบครัว หากไม่สบายคล้ายหวัด ให้แยกจากสมาชิกในบ้าน และรีบหาทางตรวจรักษา

 

"โอไมครอน"คาดสถานการณ์ในไทยจุดพีคช่วงกลางม.ค.อัตราระบาดเพิ่มขึ้น

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ