โควิด-19

"เดลตาครอน" กลายพันธุ์จริง นักระบาดวิทยาไซปรัส โต้กลับ UK งัดมีหลักฐานชัด

"เดลตาครอน" กลายพันธุ์จริง นักระบาดวิทยาไซปรัส โต้กลับ UK งัดมีหลักฐานชัด

10 ม.ค. 2565

นักระบาดวิทยาไซปรัส โต้กลับ UK "เดลตาครอน" กลายพันธุ์ใหม่จริง มีหลักฐานชัดเจน ไม่ได้เกิดการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการ

อัปเดตความคืบหน้า การค้นพบโควิดกลายพันธุ์ที่ประเทศไซปรัส "เดลตาครอน" ซึ่งคาดว่า เป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง "โอไมครอน" กับ "เดลตา"แต่ทางนักไวรัสวิทยาของสหราชอาณาจักร ได้ออกมาบอกว่า น่าจะเป็นการปนเปื้อนสายพันธุ์ในห้องปฏิบัติการมากกว่า

 

ล่าสุด ศาสตราจารย์ลีออนดิออส คอสตรีกิส หัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและไวรัสวิทยาระดับโมเลกุล แห่งมหาวิทยาลัยไซปรัส ประเทศไซปรัส เปิดเผยอีกครั้งว่า การค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ใหม่เรียกว่า "เดลตาครอน" หรือ "Deltacron" เป็นการเกิดวิวัฒนาการของเชื้อกลายพันธุ์จากไวรัสโคโรนา 2019 อย่างชัดเจน ไม่เกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนภายในห้องปฏิบัติการ หรือไม่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดแต่อย่างใด

 

\"เดลตาครอน\" กลายพันธุ์จริง นักระบาดวิทยาไซปรัส โต้กลับ UK งัดมีหลักฐานชัด

ซึ่งการออกมายืนยันอีกครั้งของ ศาสตราจารย์ลีออนดิออส คอสตรีกิส เกิดขึ้นหลังจาก ดร.ทอม พีค็อก นักไวรัสวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ  ลอนดอน สหราชอาณาจักร ได้ส่งข้อความบนทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า การค้นพบดังกล่าว มีความเป็นได้สูงที่จะเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างสายพันธุ์ "เดลตา" และสายพันธุ์ "โอไมครอน" ภายในห้องปฏิบัติการ โดยให้เหตุผลเป็นการนำข้อมูลมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ ทั้งนี้ ดร.ทอม พีค็อก อ้างว่า ตัวอย่างทั้งหมดไม่ได้มาจากคลัสเตอร์เดียวกัน

 

\"เดลตาครอน\" กลายพันธุ์จริง นักระบาดวิทยาไซปรัส โต้กลับ UK งัดมีหลักฐานชัด

ศาสตราจารย์ลีออนดิออส คอสตรีกิส กล่าวว่า ขณะนี้ พบการติดเชื้อ 25 ราย ในจำนวนทั้งหมดนี้ พบว่ามี 11 ราย ที่แสดงอาการซึ่งต้องเข้ารับรักษาที่โรงพยาบาล หรือคิดเป็น 44% ที่มีอาการและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในขณะที่ 14 คนไม่มีอาการใด ๆ แต่ยังเร็วเกินไป ที่จะระบุในเบื้องต้นว่า สายพันธุ์ใหม่ "เดลตาครอน" มีศักยภาพในการแพร่กระจายเชื้อรวดเร็วอย่างไร หรือจะมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน

 

 

สำหรับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์ที่ทางประเทศไซปรัส ได้เรียกเบื้องต้นว่า "เดลตาครอน" เป็นการตรวจพบพันธุกรรมของทั้งสายพันธุ์ "เดลตา" และสายพันธุ์ "โอไมครอน" ผสมเข้าด้วยกันในเชื้อกลายพันธุ์ใหม่นี้ รายละเอียดเบื้องต้น ปรากฎว่าเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม 10 จุด ที่คล้ายกับสายพันธุ์ "โอไมครอน" แต่เกิดอยู่ภายในพันธุกรรมของสายพันธุ์ "เดลตา"

 

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Btime