โควิด-19

"เดลตาครอน" ไม่ใช่โควิดสายพันธุ์ลูกผสม ศูนย์จีโนมฯ ยืนยัน แค่ปนเปื้อน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ยืนยัน "เดลตาครอน" ไม่ใช่โควิดสายพันธุ์ลูกผสม แค่ปนเปื้อนขั้นตอนถอดรหัสพันธุกรรม แต่ไม่ประมาท รอผลอีก 1-2 สัปดาห์

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดีชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีคาดว่ามีการพบโควิดสายพันธุ์ลูกผสม ระหว่าง "โอไมครอน" กับ "เดลตา" โดยเรียกว่า "เดลตาครอน" โดยระบุว่า มีผู้สอบถามเข้ามาที่ศูนย์จีโนม โรงพยาบาลรามาธิบดี มากมายว่าเกิดสายพันธุ์ลูกผสม "เดลตาครอน" ขึ้นที่ไซปรัสแล้วใช่หรือไม่ คำตอบคือน่าจะไม่ใช่ครับ เพราะ Dr. Tom Peacock ผู้เชี่ยวชาญการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสระดับโลกชาวอังกฤษ รีบทวิตแจ้งว่า จากการพิจารณารหัสพันธุกรรม มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดจากการปนเปื้อนระหว่างสารพันธุกรรมของ "โอไมครอน" และ "เดลตา" ในห้องปฏิบัติการเวลาถอดรหัสพันธุกรรม จึงมีรหัสปนกันออกมา เสมือนเกิดเป็นสายพันธุ์ลูกผสม 

 

และจากการนำเอาข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ  Phylogenetic tree พบว่าตัวอย่างทั้ง 25 ราย ไม่ได้มาจาก "คลัสเตอร์"เดียวกัน ซึ่งแปลก เพราะหากเป็น "สายพันธุ์ลูกผสม" เพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกัน

 

"เดลตาครอน" ไม่ใช่โควิดสายพันธุ์ลูกผสม ศูนย์จีโนมฯ ยืนยัน แค่ปนเปื้อน

ล่าสุด ศูนย์จีโนมฯ ได้นำรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจำนวน 25 ตัวอย่าง ที่ทางไซปรัสได้อัปโหลดขึ้นมาแชร์ไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก "GISAID" มาวิเคราะห์ เห็นพ้องกับที่ ดร.Tom Peacock กล่าวไว้คือ เมื่อนำข้อมูลรหัสพันธุกรรมมาสร้างเป็นแผนภูมิวิวัฒนาการ Phylogenetic tree พบว่า ตัวอย่างทั้ง 25 ราย ไม่ได้มาจาก "คลัสเตอร์" เดียวกันซึ่งเป็นเรื่องแปลก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่งเกิดใหม่ มีที่มาจากแหล่งเดียวกัน ยังไม่ระบาดเป็นวงกว้าง ควรจะอยู่ในคลัสเตอร์เดียวกันไม่แตกกิ่งก้านสาขาไปมากมาย และจากรหัสพันธุกรรมทั้ง 25 ตัวอย่าง บ่งชี้ว่าเป็นสายพันธุ์ "เดลตา" ซึ่งอาจมีการปนเปื้อนสารพันธุกรรมของ "โอไมครอน" เข้ามาระหว่างการถอดรหัสพันธุกรรม

 

"เดลตาครอน" ไม่ใช่โควิดสายพันธุ์ลูกผสม ศูนย์จีโนมฯ ยืนยัน แค่ปนเปื้อน

คำถามที่ตามมาคือ หากมีสายพันธุ์ลูกผสมเกิดขึ้นมาจริง ๆ ทางศูนย์จีโนมฯจะตรวจพบหรือไม่ คำตอบคือน่าจะตรวจพบ เพราะขณะนี้เราถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยีสายยาว (long-read sequencing) ประมาณ 1,000-2,000  ตำแหน่งต่อสาย ดังนั้น หากพบรหัสพันธุกรรมของ "เดลตา" และ "โอไมครอน" ผสมปนกันอยู่ในสายเดียวกัน ก็แสดงว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ลูกผสม

 

 

อย่างไรก็ตาม เพื่อความชัดเจน อาจต้องเก็บรวบรวมข้อมูลสักระยะ หากทางไซปรัสสามารถถอดรหัสพันธุกรรมพบสายพันธุ์ลูกผสมดังกล่าว จากบรรดาตัวอย่างที่ส่งเข้ามาจากหลายสถาบันภายใน 1-2 สัปดาห์จากนี้ ก็มีความเป็นไปได้ว่า ได้เกิดสายพันธุ์ลูกผสม "เดลตาครอน" ที่ไซปรัสแล้วจริง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ