โควิด-19

"โอไมครอน" อาการน้อย หมอเฉลิมชัยแนะ แบ่งการครองเตียงให้ดีก่อนเกิดปัญหา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โอไมครอน" หมอเฉลิมชัยชี้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 2.8 เท่า แต่มีอาการน้อย แนะรัฐแบ่งการครองเตียงให้ดีก่อนเกิดปัญหาเตียงเต็มรองรับผู้ป่วยไม่ไหว ระบุแยกกักตัวที่บ้านเป็นแนวทางที่เหมาะสม

อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของ "โอไมครอน" ในประเทศไทยที่ขณะนี้มีสัดส่วนผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนมากขึ้นต่อเนื่อง โดยล่าสุด  นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ระบุว่าเฟซบุ๊ก "Chalermchai Boonyaleepun" โดยระบุว่า 
ความรู้เรื่องCOVID-19 (ตอนที่1072) 9มค2565
9 มกราคม 2565 ติดเชื้อเพิ่ม 8511 ราย เพิ่มขึ้น 2.8 เท่า ในช่วง 1-9 มกราคม 2565
สถานการณ์โควิดระลอกที่ 4 ของประเทศไทย ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 
โดยมียอดผู้ติดเชื้อต่ำสุดของระลอกที่ 3 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 อยู่ที่ 2305 ราย
เนื่องจากในระลอกที่ 4 นี้ไวรัสสายพันธุ์ "โอไมครอน" ได้เริ่มเข้ามาเป็นสายพันธุ์ก่อโรคร่วมกับสายพันธุ์เดลต้า  และมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
จึงทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ตามสถิติตัวเลขของประเทศตะวันตกคือ เพิ่มขึ้นสองเท่าทุกสามวัน

สำหรับประเทศไทยเราวันนี้ (9 มกราคม 2565) มีผู้ติดเชื้อ 8511 ราย เมื่อเปรียบเทียบกับ 1 มกราคม 2565 ติดเชื้อเพิ่ม 2.8 เท่าในช่วงเวลา 9 วัน
โดยเป็นการเพิ่ม
ผู้ติดเชื้อในระบบ 2.9 เท่า
ติดจากตรวจเชิงรุก 2.1 เท่า
ติดในสถานกักตัว 2.5 เท่า 

ที่น่าสนใจคือ เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นดังกล่าว มีการกระจายตัวเข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลอย่างไรบ้าง
พบว่าในช่วง 1-9 มกราคม 2565 
ผู้เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้น 1.6 เท่า
ในโรงพยาบาลหลักเพิ่ม 1.9 เท่า 
โรงพยาบาลสนามเพิ่ม 1.4 เท่า
และแยกกักที่บ้านเพิ่ม 2.3 เท่า

โดยตัวเลขผู้รับการรักษาในระบบสุขภาพรวมทั้งสิ้นเพิ่มขึ้น 20,929 ราย
เป็นโรงพยาบาลหลัก 13,859 ราย
โรงพยาบาลสนาม 6194 ราย
แยกกักตัวที่บ้าน 1047 ราย

จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้เข้ารับการรักษาที่เพิ่มขึ้นกว่าครึ่ง เข้ามาดูแลรักษาอยู่ในโรงบาลหลัก มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ที่โรงพยาบาลสนามและแยกกักที่บ้าน
ซึ่งน่าจะเป็นทิศทางที่จะต้องปรับกันต่อไป เนื่องจากเมื่อไวรัสโอมิครอนมีจำนวนสัดส่วนมากขึ้น ก็ควรจะมีสัดส่วนผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงน้อยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งควรดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนามและการแยกกักที่บ้านได้  การที่มีผู้ติดเชื้ออาการน้อยเข้ามาครองเตียงในโรงพยาบาลหลักช่วงนี้  จะทำให้จำนวนเตียงในโรงพยาบาลหลักมีไม่เพียงพอที่จะรับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงอาการมากในอนาคตได้

วันนี้ 9 มกราคม 2565 
ติดเชื้อเพิ่ม 8511 ราย
ติดในระบบ 7942 ราย
ติดจากตรวจเชิงรุก 199 ราย
ติดได้สถานกักตัว 350 ราย
ติดในเรือนจำ 20 ราย
สะสมระลอกที่สี่ 46,115 ราย
สะสมทั้งหมด 2,269,550 ราย
รักษาหาย 2605 ราย
สะสม 2,193,867 ราย
รักษาตัวอยู่ 53,858 ราย
โรงพยาบาลหลัก 29,643 ราย
โรงพยาบาลสนาม 21,632 ราย
แยกกักที่บ้าน 1832 ราย
อาการหนัก 484 ราย
ใช้เครื่องช่วยหายใจ 113 ราย
เสียชีวิต 12 ราย
สะสมระลอกที่สี่ 127 ราย
สะสมทั้งหมด 21,825 ราย
ติดเชื้อเข้าข่าย 1265 ราย
สะสม 389,361 ราย
Reference 
ศูนย์ข้อมูล โควิด-19 
กรมควบคุม โรคกระทรวงสาธารณสุข

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ