เช็คเลย ไอ-เจ็บคอ อาการยอดฮิต 5 อาการเฉพาะ "โอไมครอน" หรือเป็น 8 อาการ เดลตา
"หมอธีระวัฒน์" เผยผลวิจัยใหม่ 5 อาการเฉพาะตัว "โอไมครอน" เปลี่ยนจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ไข้ไม่ชัด พร้อมเผยสาเหตุทำไมอาการไม่รุนแรง
อัปเดตอาการ "โอไมครอน" หลังพบ 8 อาการหลักที่พบในประเทศไทย ล่าสุด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความ ถึงอาการเฉพาะตัว "โอไมครอน" เป็นข้อมูลจาก ดร.จอห์น แคมพ์เบล แพทย์จากอังกฤษ ระบุว่า อาการเปลี่ยนจากเดิมโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ โดย อาการไข้ไม่ชัดเจน และไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับกลิ่นและรส ส่วนอาการหลัก ๆ ที่พบ มีดังนี้
- ปวดหัว 65%
- อ่อนเพลียอ่อนล้า 65% ตั้งแต่ไม่มากจนกระทั่งถึงลุกไม่ไหว
- น้ำมูกไหล 65%
- เจ็บคอ 57%
- จาม 55%
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ระบุว่า อาการไม่รุนแรง เกิดจาก ทั้งตัวไวรัสเอง และภูมิในมนุษย์จากการติดเชื้อคราวก่อน และจากการได้รับวัคซีน นอกจากนั้น จากการที่ไวรัสชอบจมูก ปาก ทางเดินหายใจส่วนต้น มากกว่าปอดลึก ๆ แม้จะลงไปได้ แต่แน่นอนว่า มีเวลาให้ภูมิทุกระบบเข้ามาต่อสู้ทัน ทั้งนี้ เป็นที่อธิบายได้ว่า ทำไมคนอายุตั้งแต่ 55 ปี ชัด ๆ ที่ 70 ปีกว่า จึงมีอาการมากกว่า สว และ/หรือ มีโรคประจำตัว ปัจจัยที่ไม่เปลี่ยนแปลง "เริ่มช้าไงครับ"
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาทางพันธุกรรม ของมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ประเทศอังกฤษได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับ อาการผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด "สายพันธุ์โอไมครอน" Omicron หรือ "โอมิครอน" ว่ามีความคล้ายคลึงกับอาการของไข้หวัด แต่ก็มี 2 อาการใหม่ให้เป็นที่สังเกต โดยอาการที่คล้ายหวัด คือ
- เจ็บคอ
- เหนื่อยล้า
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
- น้ำมูกไหล
- จาม
ส่วนอาการใหม่ คือ
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
- ปวดหลังส่วนล่าง
ส่วน อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่พบในประเทศไทย จากการตรวจพบผู้ติดเชื้อ ที่มีอาการ 41 ราย มี 8 อาการที่พบมากที่สุด คือ
- อาการไอ 54 %
- เจ็บคอ 37 %
- มีไข้ 29 %
- ปวดกล้ามเนื้อ 15 %
- มีน้ำมูก 12 %
- ปวดศีรษะ 10 %
- หายใจลำบาก 5 %
- ได้กลิ่นลดลงมีเพียง 2 %
โดยก่อนหน้านี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยอาการ "โควิด-19" สายพันธุ์ต่างๆ ประกอบด้วย สายพันธุ์อินเดีย (เดลตา) , สายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟา) , สายพันธุ์เบตา (แอฟริกา) และสายพันธุ์ S (ระบาดระลอกแรกในไทย) ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ จะจำแนกอาการได้ดังต่อไปนี้
-สายพันธุ์อินเดีย (เดลตา) อาการคล้ายหวัดธรรมดา ไม่ค่อยสูญเสียการรับรส มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดศีรษะ
-สายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟา) อาการมีไข้ ไอ เจ็บคอ หนาวสั่น อาเจียน ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ มีน้ำมูก ท้องเสีย การรับรส/ได้กลิ่นผิดปกติ
-สายพันธุ์เบตา (แอฟริกา) อาการเจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ท้องเสีย ตาแดง มีผื่นตามผิวหนัง นิ้วมือ/เท้าเปลี่ยนสี การรับรส/ได้กลิ่นผิดปกติ
-สายพันธุ์ S (ระบาดระลอกแรกในไทย) ไอต่อเนื่อง ลิ้นไม่รู้รส จมูกไม่ได้กลิ่น หอบเหนื่อย หายใจลำบาก มีไข้ 37.5 องศาขึ้นไป