(3 ม.ค.65) "โอไมครอนกับการประกาศอิสรภาพ" เป็นหัวข้อที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ "หมอดื้อ" ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ค ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha อัปเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" โดยระบุว่า "โอไมครอน" ติดง่าย รวดเร็วหลบหลีกภูมิ ทั้งจากวัคซีน (ทำให้ต้องรีบฉีดกระตุ้นให้อยู่ในระดับสูงมาก) และจากการติดเชื้อครั้งก่อน เช่น เดลตา การติด "โอไมครอน" ขณะนี้ ดูจะไม่หนักหนาสาหัสในเรื่องของอาการ
3 อาทิตย์แรกของปีใหม่ อาจจะเห็นจำนวนการติดชัดเจนขึ้น และผลกระทบกับการต้องหยุดงาน กักตัว เพราะป่วย หรือตรวจเป็นบวก ว่าจะเป็นเปอร์เซ็นต์สูง
เพียงใด ตั้งแต่ 10 จนถึง 25% หรือไม่ และผลตามมา คือคนทำงานในระบบ ทั้งในโรงพยาบาล และ ในโรงงาน ที่ต้องขาดหายไปบาง
อาทิตย์ที่ 4-6 ของปี จำนวนติดจะหนาแน่น และจะสามารถประเมินความรุนแรง ว่าจะกระทบแต่เฉพาะคนสูงวัย มีโรคประจำตัว และ คนที่ได้วัคซีนไม่ครบ หรือได้ 2 เข็ม นานกว่า 3-5 เดือน เท่านั้น หรือคนทั่วไปจะมีอาการหนักขึ้นด้วย ตามรูปแบบโควิด "อู่ฮั่น" เดือนมกราคม 2563 ที่อาการน้อย ๆ ตอนต้น แต่ที่สำคัญ คือเด็กเล็ก ที่ไม่ได้วัคซีน และที่สำคัญ คือ "โอไมครอน" จะปฏิบัติตัวเหมือนโควิดที่ผ่านมาหรือไม่ ในการทำให้เกิดผลกระทบระยะยาว หรือที่เรียกว่า "long COVID" ทั้งนี้ อาจไม่ขึ้นกับความหนักของอาการ ในขณะที่กำลังติดเชื้อ แต่เป็นผลกระทบต่อเนื่องระยะยาว แต่ที่เราจะได้ ถ้ามีคนที่ติด "โอไมครอน" มากมาย ดังที่เกิดทั่วโลก คือภูมิที่ต้านทานทั้งตัวนี้ และต่อตัว "เดลตา" ด้วย เท่ากับทำให้เดลตาสูญพันธุ์ไปเลย แต่ภูมิดังกล่าวอาจไม่คุ้มกันโควิด วาเรียนท์ใหม่ ๆ ถ้ายังจะมีอีก คนทั้งโลกหวังว่าโควิดจะจบลงเพียงเท่านี้ ภายในไม่เกินกลางปีนี้ เพื่อ "ประกาศอิสรภาพ"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง