โควิด-19

"โอไมครอน" หลังปีใหม่ต้องระวัง ผลวิจัยเดนมาร์ก ติดเชื้อในครอบครัวสูงสุด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

หมอธีระ เตือน สิ่งที่ควรระวังหลังการเดินทางปีใหม่ มาตรการ Work Form Home หลังผลวิจัยเดนมาร์กยืนยันชัด "โอไมครอน" ติดในครอบครัวสูงถึง 31% ควรตรวจซ้ำด้วย RT-PCR หรือATK บ่อย ๆ

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสข้อความผ่าน
เฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat"  ถึงการแพร่ระบาดของ "โอไมครอน" โดยเปิดผลวิจัยจากเดนมาร์ค ถึงการแพร่ระบาดที่มีอัตราการติดเชื้อในครัวเรือนถึง 31% การเดินทางช่วงปีใหม่จึงควรระมัดระวัง ตามข้อมูลดังนี้

ในแง่จำนวนคนที่ติดเชื้อ "โอไมครอน" ทำให้จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันสูงมากกว่าสถิติสูงสุดของทุกระลอกที่ผ่านมาถึง 2 เท่า ล่าสุด งานวิจัยจากทีมนิวซีแลนด์ เผยแพร่ในวารสารโรคติดเชื้อระดับสากล Emerging Infectious Diseases ชี้ให้เห็นว่าโรคโควิด-19 นั้นสามารถแพร่เชื้อติดเชื้อกันได้ผ่านทางอากาศ (airborne transmission) โดยทำการสอบสวนโรคพบว่ามีการติดเชื้อกันในสถานที่กักตัว ซึ่งห้องพักของผู้ติดเชื้อที่เป็นแหล่งแพร่นั้นอยู่ตรงข้ามกับกลุ่มผู้ที่ติดเชื้ออีก 3 คน

ถึงแม้งานวิจัยนี้จะเป็นสายพันธุ์เดลตา แต่ก็ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญในการป้องกันสายพันธุ์อื่น รวมถึง "โอไมครอน" ซึ่งสามารถแพร่ได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม 4.1 เท่า

ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ในนิวซีแลนด์ก็สอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ระบุถึงการแพร่เชื้อทางอากาศ และเป็นช่องทางการแพร่เชื้อลักษณะคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ระบาดเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ในหลายประเทศในระลอก "โอไมครอน" ดังที่เราได้ทราบกัน เช่น นอร์เวย์ สเปน ฯลฯ

การใส่หน้ากากเสมอ อยู่ห่างจากคนอื่น ล้างมือ เลี่ยงการปาร์ตี้สังสรรค์ เลี่ยงที่แออัดหรือระบายอากาศไม่ดี เหล่านี้คือ Non-pharmaceutical interventions (NPI) หรือมาตรการเกี่ยวกับการปฏิบัติป้องกันตัวที่จำเป็นอย่างยิ่งในยุคโรคระบาดเช่นนี้

เหลียวมองเรื่องความรู้เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน วัคซีน และความสามารถของไวรัสที่พยายามหลบหลีกภูมิคุ้มกันแล้ว ศึกโรคระบาดนั้นยาวนาน และยากมากที่ทุกประเทศจะไล่ตามทัน เนื่องจากข้อจำกัดด้านทรัพยากร รวมถึงสัจธรรมที่เราเห็นได้ว่าระบบ กลไก และนโยบายต่างๆ ไม่สามารถปรับตัวยืดหยุ่นหรือเปลี่ยนแปลงต่อสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

"โอไมครอน" หลังปีใหม่ต้องระวัง ผลวิจัยเดนมาร์ก ติดเชื้อในครอบครัวสูงสุด

ยามระบาดยังหนักหนาดังเช่นปัจจุบัน หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แอลกอฮอล์ล้างมือ และชุดตรวจ ATK จำเป็นต้องได้รับการแจกจ่ายให้ประชาชนอย่างทั่วถึง และเพียงพอ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะถือเป็นอาวุธสำคัญในการป้องกันตัวและป้องกันประเทศ

และต้องไม่ลืม ย้ำเตือนประชาชนว่า การใช้ ATK ตรวจในยามระบาดเช่นนี้ หากผลบวก โอกาสติดเชื้อจริงมีสูง แต่หากเป็นผลลบ จะมีโอกาสเป็นผลลบปลอมได้ ไม่ได้การันตีว่าจะไม่ติดเชื้อ ทั้งนี้หากมีความเสี่ยงหรือมีอาการชัดเจน ควรตรวจด้วยวิธี RT-PCR ซ้ำ หรือใช้ ATK ตรวจบ่อยๆ

คำแนะนำในวันสิ้นปี 2021 ยังเป็นเช่นเดิมคือ การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดเป็นกิจวัตร mRNA vaccines ควรได้รับการใช้เป็นวัคซีนหลัก รวมถึงเข็มกระตุ้น ระบบการตรวจคัดกรองโรคและการกักตัวนั้นเป็นปราการด่านสำคัญของประเทศ

 

ระบบตรวจคัดกรองโรค RT-PCR จำเป็นต้องได้รับการลงทุนขยายศักยภาพให้สามารถทำได้มาก ครอบคลุมทุกพื้นที่ และทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่าย ไม่ติดกฎเกณฑ์หยุมหยิม และเป็นบริการสาธารณสุขที่ฟรีสำหรับทุกคน

อ้างอิง
Fox-Lewis A, Williamson F, Harrower J, Ren X, Sonder GJB, McNeill A, et al. Airborne transmission of SARS-CoV-2 Delta variant within tightly monitored isolation facility, New Zealand (Aotearoa). Emerg Infect Dis. 2022 Mar [cited 31 December 2021].



หากกลุ่มเป้าหมายที่ให้อยู่บ้านนั้นเพิ่งกลับจากการตะลอนท่องเที่ยวเดินทาง และไปสัมผัสกับความเสี่ยงมา การแพร่เชื้อติดเชื้อในครัวเรือนจะมีโอกาสสูงขึ้นได้ถ้าไม่ระวัง

ดังนั้น ใครที่ผ่านการตะลอนในช่วงสิ้นปีและปีใหม่ โดยไม่ได้ไปกันทุกคนในบ้าน การทำงานอยู่บ้านคงต้องระมัดระวัง ป้องกันสมาชิกในครอบครัวด้วย โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบาง เช่น คนสูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง รวมถึงเด็กเล็ก

เตรียมที่เตรียมทาง เตรียมข้าวของอุปกรณ์จำเป็นไว้ให้พร้อม และหมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการคล้ายหวัด ให้แยกตัวจากสมาชิกในบ้าน ไปตรวจรักษาหรือหากมี ATK ที่บ้านก็ตรวจบ่อยๆ

ในเดนมาร์กนั้น เพิ่งมีการวิจัยพบว่า สายพันธุ์เดลตามีอัตราการแพร่เชื้อติดเชื้อในครัวเรือนราว 21% ในขณะที่สายพันธุ์  "โอไมครอน" นั้นมากกว่าเดลตา โดยมีอัตราการติดเชื้อในครัวเรือนถึง 31%

ทั้งนี้งานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับการระบาดของ "โอไมครอน" ชี้ให้เห็นว่าการติดเชื้อมักเป็นการติดเชื้อจากนอกบ้านในสัดส่วนที่สูง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ