โควิด-19

"ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ข้อดี - ข้อเสีย ผลข้างเคียง สรุปย่อเข้าใจง่าย ๆ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โควิด-19 "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" เพื่อความปลอดภัยสูงสุด เด็ก ๆ ในครอบครัว ตนเองและญาติผู้ใหญ่ จริงหรือ ข้อดี - ข้อเสีย ผลข้างเคียง สรุปย่อเข้าใจง่าย ตัดสินใจได้เลย

 

เกาะติด "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ทางเลือกก่อนแพ้ยา ในสถานการณ์ที่ต้องจับตา โควิด-19 Omicron โควิดสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน หรือ โอมิครอน ล่าสุด วันนี้ หมอธีระวัฒน์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุ ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง เพื่อความปลอดภัยสูงสุด เด็ก ๆ ในครอบครัว ตนเองและญาติผู้ใหญ่

 

 

 

 

รอวัคซีน ? จะทำอย่างไรให้คนไทยได้ฉีดวัคซีนทั่วถึง...เรามีทางออก

 

  • "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" หรือ INTRADERMAL (ID) สามารถฉีดวัคซีน 1 โดส ได้ 3 - 5 คน

 

ทำไมการฉีดเข้าผิวหนัง ID (INTRADERMAL) ใช้โดสน้อยลงแต่ยังได้ผล ?

 

  • เพราะในผิวหนังมีเซลล์ APC (ANTIGEN PRESENTING CELL) ที่ทำหน้าที่คอยจับเชื้อโรคแล้วส่งข่าวบอกให้เม็ดเลือดขาวออกไปต่อสู้ หรือสร้างภูมิคุ้มกันมากกว่าในกล้ามเนื้อ
  • เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปใต้ผิวหนัง APC ก็จะจับเชื้อในวัคซีนไปกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นดีกว่าฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

 

ถ้าฉีดแบบ ID ใช้ปริมาณวัคซีนน้อยกว่า ทำไมไม่ฉีดแบบใต้ผิวหนังตั้งแต่ต้น ?

 

  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ INTRA MUSCULAR (IM) สะดวกกว่า
  • ฉีดเข้าผิวหนัง ID ฉีดยากกว่า อาจเกิดการอักเสบตรงตำแหน่งฉีดมากกว่า

 

จากการวิจัยในเบื้องต้น พบว่า ผลการฉีดแบบ ID ภูมิคุ้มกันสูงขึ้นไม่ต่างกับ IM


* รู้หรือไม่ว่าการฉีดแบบ ID ทำกันอยู่แล้ว เช่น พยาบาลเด็ก พยาบาลภูมิแพ้ หรือการฉีด BOTOX โดยการฉีดแบบ ID พยาบาลต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษ

 

 

 

 

ข้อดีของการ "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง"

 

  1. ใช้ปริมาณวัคซีนที่น้อยมากเพียง 0.05 CC เท่ากับ 10 ไมโครกรัม
  2. Systemic Side effect (ผลข้างเคียงแบบฉีดเต็มโดส) น้อยกว่าแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่จะมี local side effects คือตุ่มนูนแดงที่ผิวหนังนาน 7 - 10 วัน ซึ่งจะยุบไปเอง
  3. ผลการขึ้นของภูมิคุ้มกันเท่ากันกับแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
  4. มีผลกระทบข้างเคียงน้อยและปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวในหลาย ๆ โรค

 

 

ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง, โควิด-19, Omicron, โควิดสายพันธุ์ใหม่, โอไมครอน, โอมิครอน, หมอธีระวัฒน์

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ