นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์ของโควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" (Omicron,โอมิครอน) ในประเทศไทย ว่า "โอไมครอน" ระบาดครั้งแรกที่แอฟริกาใต้ ซึ่ง WHO ให้ความกังวลค่อนข้างมาก
ที่ผ่านมาทั่วโลกมีการติดเชื้อ "โอไมครอน" แล้ว 89 ประเทศ ที่ผ่านมามีการถอดรหัสพันธุกรรมโอไมครอนและพบว่ามีสายพันธุ์ย่อย 3 สายพันธุ์ย่อยแล้ว ส่วนการติดเชื้อ และการระบาดของ "โอไมครอน" ในประเทศไทย ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อ "โอไมครอน" แล้วจำนวน 63 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 19 ธ.ค.64) เป็นการยืนยันผลว่าติดโอไมครอนจริงประมาณ 20 กว่าราย การระบาดเพิ่มจากสัปดาห์ที่แล้ว 3% โดยอ้างอิงจากตรวจเจอโอไมครอน 1 ใน 4 รายของผู้ติดเชื้อโควิด ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการพบ โอไมครอน ค่อนข้างเร็วจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ทุกรายที่ตรวจเจอเป็นการเดินทางเข้ามาจากต่างประเทศ
สำหรับรายละเอียดพื้นที่ที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อ "โอไมครอน" ในประเทศนั้น มีดังนี้
- เขต 1 : 1 ราย
- เขต 4 : 3 ราย
- เขต 5 : 4 ราย
- เขต 6 : 4 ราย
- เขต 11 : 9 ราย
- เขต 13 : 42 ราย
รวมทั้งสิ้น 63 ราย ทั้งหมดเป็นการตรวจเจอระหว่างเดินทางเข้ามาพื้นที่แซนด์บ็อกซ์ โดยการยืนยันผลจะยืนยันในพื้นที่ที่ตรวจพบเชื้อ "โอไมครอน" ครั้งแรกเท่านั้น
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่มีการตั้งคำถามว่า "โอไมครอน" ระบาดเร็วและรุนแรงมากแค่ไหนนั้นจากข้อมูลพบว่า มีการแพร่ระบาดจาก 1 คน ไปยังคนอื่น ๆ ประมาณ 8.45 เท่า ซึ่งเร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา ส่วนอัตราการเจ็บป่วยจะมีความรุนแรงมากแค่ไหนนั้นข้อมูลจากแอฟริกาพบว่ามีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่การป่วยหนักและเสียชีวิตนั้นยังไม่สามารสรุปได้ เพราะมีข้อมูลน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม WHO มีการระบุข้อมูลว่า ประสิทธิภาพวัคซีนลดลงแน่นอนแต่ไม่กระทบทีเซล บูสเตอร์จะช่วนเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีนเพื่อป้องกันโอไมครอนอย่างชัดเจน หากมีการบูสจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันมากขึ้น ประไทศไทยกำลังเพาะเชื้อ และจะเริ่มทดลองกับผู้ที่ฉีดวัคซีนในบ้านเรา และเริ่มทดลองเพื่อตรวจสอบดูว่าจะยับยั้งการความรุนแรงและการติดเชื้อ "โอไมครอน" ได้มากน้อยแค่ไหน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง