โควิด-19

ความสามารถพิเศษ "โอไมครอน" ดึงทุกไวรัสรวมในตัว หวั่นเกิดลูกผสมกับ "เดลตา"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ พบความสามารถพิเศษ "โอไมครอน" ดึงไวรัสทุกสายพันธุ์ไว้ในตัว หวั่นเกิดลูกผสมกับ "เดลตา" และติดมากกว่า 1 สายพันธุ์ในคนเดียวกัน

การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์ "โอไมครอน" ทำให้หน่วยงานสาธารณสุข ต้องดำเนินการติดตามอย่างใกล้ชิด โดยล่าสุด ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ดำเนินการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อศึกษาธรรมชาติการกลายพันธุ์ของไวรัสดังล่าว ที่อาจส่งผลต่อชุดตรวจ PCR ยาต้านไวรัส วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งการติดเชื้อซ้ำ (Re-infection) ด้วยสายพันธุ์เดียวกัน หรือต่างสายพันธุ์ และการติดเชื้อมากกว่าหนึ่งสายพันธุ์ในคนเดียวกัน หรือ "Mixed-infection" ซึ่งอาจส่งผลต่อการป้องกัน ดูแล รักษา หรือการปรับเปลี่ยนเวชปฏิบัติ (medical practice) ได้

 

 

การติดเชื้อแบบ "Mixed-infection" หรือการติดเชื้อมากกว่าหนึ่งสายพันธุ์ของโคโรนาไวรัส 2019 ในคนเดียวกัน สามารถตรวจสอบได้ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสจากสิ่งส่งตรวจ โดยจะพบรหัสพันธุกรรมไวรัส 2 สายพันธุ์ เช่น "แอลฟา" และ "บีตา" ในผู้ติดเชื้อรายเดียวกัน ซึ่งในกรณีของไวรัสโคโรนา 2019 การเกิด "Mixed-infection" พบได้ประปราย ประเทศไทยเคยพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากกว่าหนึ่งสายพันธุ์ในผู้ติดเชื้อรายเดียวกัน เป็นการติดเชื้อร่วมระหว่างสายพันธุ์ "แอลฟา" และ "เดลตา" จากแคมป์คนงาน ซึ่งพบโดย "กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข" และ "ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ"

 

การติดเชื้อแบบ "Mixed-infection" อาจจะก่อให้เกิดไวรัสลูกผสม (hybrid) ขึ้นได้ โดยสายจีโนมของไวรัสลูกผสม จะประกอบด้วยข้อมูลรหัสพันธุกรรม
ของไวรัสมากกว่าหนึ่งสายพันธุ์ ซึ่งทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เครื่องถอดรหัสพันธุกรรมรุ่นที่สาม (Third generation sequencer) ซึ่งจะสามารถถอดรหัสชิ้นส่วนจีโนมสายยาวถึง 1,200 bp ได้ (Single-molecule long-read sequencing) โดยจะสามารถแยกแยะได้ว่าผู้ติดเชื้อรายนั้นติดเชื้อไวรัสโคโนนา 2019 มากกว่าหนึ่งสายพันธุ์ หรือติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดียวแต่เป็นไวรัสลูกผสม (hybrid) ในอดีตยังไม่มีรายงานจาก "WHO" ถึงการค้นพบไวรัสโคโรนา 2019 ลูกผสม (hybrid) 

 

 

ความสามารถพิเศษ "โอไมครอน" ดึงทุกไวรัสรวมในตัว หวั่นเกิดลูกผสมกับ "เดลตา"

ส่วนสาเหตุที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะนักวิยาศาสตร์ได้พบว่า "โอไมครอน"(B.1.1.529) มีความสามารถพิเศษต่างจากไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์อื่นตรงที่สามารถดึงเอาจีโนมบางส่วนของบรรดาไวรัสโคโรนาที่ติดต่อในมนุษย์ (Human coronaviruses) ซึ่งต่างจากไวรัสโคโรนา 2019 เข้ามาผนวกไว้ในสายจีโนมของตัวเองได้ โดยมีรายงานว่า สามารถดึงชิ้นส่วนจีโนม "ins214EPE (สร้างกรดอะมิโน 3 ตัวที่ต่างไปจากไวรัสโคโรนา 2019 คือ กรดกลูตามิก-โปรลีน-กรดกลูตามิก") ของ "Human coronaviruses"
สายพันธุ์ "HCoV-229E" เข้ามาไว้ในจีโนมของ "โอไมครอน" ได้ ที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคไข้หวัดหรือ "common cold" เข้ามาไว้ในจีโนมของ "โอมิครอน" ได้ ซึ่งคาดกันว่า อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ "โอไมครอน" มีการระบาดอย่างรวดเร็ว แต่มีอาการไม่รุนแรง (ต่างจากไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์อื่นที่มักจะมีอาการรุนแรง) อันเป็นคุณสมบัติของ "Human coronaviruses" สายพันธุ์ "HCoV-229E" ซึ่งหากพิจารณาจะเห็นได้ว่ามีจีโนมบางส่วนของ "Human coronaviruses" สายพันธุ์ "HCoV-229E" ปะปนในจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 เป็นที่เรียบร้อย

 

 

ความสามารถพิเศษ "โอไมครอน" ดึงทุกไวรัสรวมในตัว หวั่นเกิดลูกผสมกับ "เดลตา"

 

โดยที่ไวรัสโคโรนา 2019  สายพันธุ์อื่น เช่น เดลตา แอลฟา บีตา แกมมา มิว แลมบ์ดา ฯไม่มีพฤติกรรมดึงชิ้นส่วนจีโนมของไวรัสสายพันธุ์อื่นเข้ามาไว้ในจีโนมตัวเอง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ศูนย์จีโนมฯต้องติดตาม "โอไมครอน" ว่าจะเกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุ์กรรม กับ "เดลตา" ซึ่งปัจจุบันครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกอยู่ในขณะนี้ ส่วนหากเกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม
เกิดเป็นสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง "โอไมครอน" กับ "เดลตา" จะมีการแพร่ระบาดและอาการรุนแรงหรือไม่  อย่างไร  ยังไม่อาจคาดคะเนได้

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ