นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสต์การแพทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าในการติดตามการระบาดของโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" โดยระบุว่า ที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อโอไมครอน 4 ราย เข้าข่ายติดเชื้ออีก 3 ราย โดยสธ.ได้มีการส่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้าตรวจยืนยันการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" ขณะนี้พบเข้าข่ายต้องสงสัย 11 ราย และยืนยันแล้วมีผู้ติดเชื้อโอไมครอน 8 ราย
โดยทั้ง 8 รายที่พบในประเทศไทย ล้วนมาจากต่างประเทศทั้งหมด ทั้งนี้เป็นการตรวจเจอในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 9 ราย และในพื้นที่ต่างจังหวัด 3 ราย ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ตรวจเจอสายพันธุ์โอไมครอนนั้นเป็นการเดินทางเข้ามาในรูปแบบ Test and go ทั้งนี้ยังไม่มีการพบการแพร่ระบาดเชื้อโอไมครอนในประเทศไทย
รายละเอียดผู้ที่เจอโอไมครอนทั้งหมด 11 ราย มีดังนี้
- รายที่ 1 ชายชาวอเมริกัน อายุ 35 ปี เดินทางเข้ามาในรูปแบบ Test & go ตรวจเจอในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- รายที่ 2 หญิงไทยอายุ 46 ปี เดินทางมาจากไนจีเรีย เข้ามาในรูปแบบ ASQ ตรวจเจอในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- รายที่ 3 หญิงไทยอายุ 36 ปี เดินทางมาจากไนจีเรีย เข้ามาในรูปแบบ ASQ ตรวจเจอในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- รายที่ 4 ชายไทยอายุ 41 เดินทางมาจากคองโก เข้ามาในรูปแบบแซนด์บ็อกซ์ กรุงเทพมหานคร รอยืนยันการตรวจพบเชื้ออีกครั้ง เนื่องจากมีเชื้อไม่มาก
- รายที่ 5 ชาย ไทยอายุ 39 ปี เดินทางมาจากไนจีเรีย เข้ามาในรูปแบบแซนด์บ็อกซ์ กรุงเทพมหานคร
- รายที่ 6 ชายชาวโคลัมเบีย อายุ 62 ปี เดินทางเข้ามาในรูปแบบแซนด์บ็อกซ์ กรุงเทพมหานคร มีโรคประจำตัว เข้ารักษาที่โรงพยาบาลรอยืนยันการตรวจพบเชื้ออีกครั้ง
- รายที่ 7 ชายอายุ 51 ปี ชาวอังกฤษ เดินทางเข้ามาในรูปแบบ Test & Go ตรวจเจอที่จังหวัดชลบุรี
- รายที่ 8 ชายไทยอายุ 37 ปี เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ เข้ามาในรูปแบบ ASQ ตรวจเจอในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี
- รายที่ 9 ชายชาวอเมริกัน อายุ 40 ปี เดินทางมาจากประเทศเกาหลีใต้ รูปแบบ Test & Go ตรวจเจอที่กรุงเทพมหานคร
- รายที่ 10 ชายชาวเบลาลูส อายุ 51 ปี เดินทางมาจากสหรัฐอาหรับอิเมเรต รูปแบบ Test & Go ตรวจเจอที่กรุงเทพมหานคร
- รายที่ 11 ชาวชาวอังกฤษ อายุ 31 ปี เดินทางมาจากประเทศอังกฤษ รูปแบบ Test & Go ตรวจเจอที่กรุงเทพมหานคร รอยืนยันการตรวจพบเชื้ออีกครั้ง
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามขณะนี้การตรวจพบผู้ติดเชื้อโอไมครอน เป็นการตรวจพบจากผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเท่านั้น ยังไม่พบที่เกิดการติดเชื้อในประเทศไทยโดยตรง สำหรับกรณีที่หลายคนกังวลว่าอาจจะดิดนการระบาดสายพันธุ์ผสม ขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อแบบไฮบริดแต่อย่างใด ที่ผ่านมาการระลบาดในประเทศไทยมีการระบาดที่หลากหลายสายพันธุ์แต่ยังไม่เจอการเกิดสายพันธุ์แบบไอบริด สธ.จะมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
การระบาดของสายพันธุ์โอไมครอน สายพันธุ์ BA1 และ BA2 นั้น ขณะนี้ในประเทศไทยยังพบแค่ AB1 เท่านั้น
สำหรับการระบาดของสายพันธุ์เดลตาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขณะนี้นั้น ถือว่าอยู่ในช่วงขาลง เพราะการติดเชื้อการแพร่ระบาดต่ำว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ ขณะนี้จะเรียกได้ว่าเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่นั้นยังไม่มีความชัดเจนมากพอที่จะประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น จะต้องมีการหารือกับผู้เชี่ยวชาญต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง