โควิด-19

ด่วน ไทยเจอ "โอไมครอน" เพิ่มอีก 2 ราย เป็นหญิงไทยกลับจากไนจีเรีย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไทยเจอ "โอไมครอน" อีก 2 ราย เป็นหญิงไทยกลับจากไนจีเรีย เข้ามาไทยเมื่อราว 24 พ.ย. ผ่านระบบกักตัวจนครบ 14 วัน อาการน้อย-หายแล้ว ตรวจเจอจากการเฝ้าระวังย้อนหลัง

ไทยเจอ "โอไมครอน" อีก 2 ราย เป็นหญิงไทยกลับจากไนจีเรีย เข้ามาไทยเมื่อราว 24 พ.ย. ผ่านระบบกักตัวจนครบ 14 วัน อาการน้อย-หายแล้ว ตรวจเจอจากการเฝ้าระวังย้อนหลัง 

 

วันนี้ 8 ธ.ค. 2564  ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ว่า ภายหลังจากที่องค์การอนามัยโลก หรือ (WHO) ได้ประกาศให้โควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" เป็นสายพันธฺ์ที่น่ากังวลเมื่อวันที่ 26 พ.ย.2564  ประเทศไทยก็ได้มีการเฝ้าระวังสายพันธุ์นี้ โดยมาตรการหนึ่งคือการนำตัวอย่างเชื้อของผู้ที่เข้าประเทศไทยก่อนวันที่ 26 พ.ย.2564 แล้วพบว่าติดเชื้อมาตรวจหาสายพันธุ์ ผลเบื้องต้นพบเป็น "โอไมครอน" 2 ราย 

สำหรับระยะเวลาที่ผู้ติดเชื้อไปประชุมเป็นช่วงวันที่ 13-23 พฤศจิกายน 2564 โดยรายที่ 2 และ 3 เป็นหญิงไทยอายุ 36 ปี และ 46 ปี ส่วนอีกรายประชุมเสร็จได้เดินทางไปสวีเดน เท่ากับว่าเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแค่ 2 คน ซึ่งทั้ง 2 รายได้ตรวจด้วยวิธี RT-PCR ที่ไนจีเรียในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ก่อนเดินทางกลับมาที่ไทยเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2564 และเริ่มมีอาการ


เมื่อถึงประเทศไทยก็เข้าสู่ระบบการกักตัวทันที และพบว่า เป็นผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และไม่ได้มาจาก 63 ประเทศต้นทาง ซึ่งเมื่อตรวจ RT-PCR ในวันแรกที่มาถึงผลตรวจเป็นบวกทั้งคู่ จึงย้ายไปรักษาที่ รพ.จนครบกำหนดในวันที่ 5 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา

 

  “ความเสี่ยงได้จากการสอบประวัติ 2 รายนี้ คือช่วงที่ไปทำกิจกรรมในต่างประเทศจะไม่ค่อยได้ใส่หน้ากาก เพราะฉะนั้น อยากเตือนคนไทยที่ช่วงนี้เดินทางไปต่างประเทศค่อนข้างมาก แม้จะไปในประเทศที่ส่วนใหญ่ที่นั่นจะไม่ใส่หน้ากากอนามัย คนไทยจึงมักไม่ค่อยใส่หน้ากากอนามัยด้วย จึงขอความร่วมมือว่าแม้จะเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ก็ขอให้คงมาตรการป้องกันส่วนบุคคลอย่างเข้มข้น ทั้งการใส่หน้ากากและมาตรการอื่นๆ” นพ.โอภาส กล่าว

 นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า สายพันธุ์ "โอไมครอน" ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญสอดคล้องกันว่าแนวโน้มความรุนแรงค่อนข้างน้อย   และองค์การอนามัยโลกยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์โอมิครอนแม้แต่รายเดียวในทั่วโลก ทั้งนี้ ข้อมูลทางระบาดวิทยาขณะนี้ทั่วโลกมองว่าโอมิครอนน่าจะเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงเดือนพ.ย. เจอมาแล้วเกือบ 2 เดือน แต่การระบาดไม่มากเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตาที่เมื่อเจอที่อินเดียก็พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นแบบพุ่งขึ้นสูง ส่วนความรุนแรงแนวโน้มจะไม่รุนแรงมากขึ้น 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ