โควิด-19

เทียบคุณสมบัติ "Paxlovid-Molnupiravir" ไทยซื้อใช้เป็นยา "รักษาโควิด-19"

เทียบคุณสมบัติ "Paxlovid-Molnupiravir" หลังจากรัฐบาลไฟเขียว สั่งซื้อให้ใช้เป็นยา "รักษาโควิด-19" แตกต่างกันอย่างไร

หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ย้ำให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งเจรจาการสั่งซื้อยารักษาโควิด-19 ทั้ง "Paxlovid" ของ บ.ไฟเซอร์ และ "โมลนูพิราเวียร์" ของ บ.เมอร์ค ที่ช่วยลดการรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดการเสียชีวิต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน กลับมาดำเนินชีวิตปกติโดยเร็ว และร่วมเดินหน้าพลิกฟื้นเศรษฐกิจต่อไป "คมชัดลึกออนไลน์" อัปเดตข้อมูล เทียบคุณสมบัติ ประสิทธิภาพ ของยารักษาโควิด-19 ทั้ง 2 ชนิด มีความแตกต่าง หรือ ใกล้เคียงกันแค่ไหน

 

 

โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir)

 

"ยาโมลนูพิราเวียร์" เป็นยาต้านไวรัสชนิดรับประทาน มีลักษณะเป็นยาเม็ด เกิดจากความร่วมมือในการพัฒนาของบริษัท ริดจ์แบ็ค เทอราพิวทิค 
(Ridge Biotherapeuthics) ประเทศสหรัฐอเมริกา และบริษัท เมอร์ค (Merck) ประเทศเยอรมันนี โดยจากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า โมลนูพิราเวียร์ มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคในมนุษย์หลายโรค เช่น โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome หรือ SARS) โรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome หรือ MERS) และ โรคโควิด 19 (COVID-19) นอกจากนี้ ยังมีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสอีโบลา 
(Ebola) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และไวรัสไข้สมองอักเสบบางชนิด (Encephalitis)

 

จากการศึกษาการใช้ยา โมลนูพิราเวียร์ ในกลุ่มตัวอย่าง 775 ราย กินวันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน มีแค่ 7.3% ที่ป่วยเข้าโรงพยาบาล และไม่มีใครเสียชีวิตด้วยโควิด-19 ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่ให้ยาหลอก (Placebo) พบว่า ป่วยเข้าโรงพยาบาล 14.1% และเสียชีวิตด้วยโควิด-19 จำนวน 8 ราย

 

ประเทศไทยสั่งซื้อ "โมลนูพิราเวียร์" 2 แสนคอร์ส

 

กระทรวงสาธารณสุข จะนำเรื่องเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อสั่งซื้อจำนวน 2 แสนคอร์ส สำหรับ 2 แสนคน คาดว่า จะนำเข้าได้ในเดือน ธ.ค.นี้แต่ต้องมี 2 ปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือ

 

  1. ยาโมลนูพิราเวียร์จะต้องได้รับการอนุมัติจาก อย.สหรัฐอเมริกา ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการอนุมัติ
  2. จะต้องผ่านการอนุมัติจาก อย.ในประเทศไทย ที่คาดว่าจะเป็นต้นเดือนพ.ย.

 

เทียบคุณสมบัติ \"Paxlovid-Molnupiravir\" ไทยซื้อใช้เป็นยา \"รักษาโควิด-19\"


ราคายา โมลนูพิราเวียร์ ที่องค์การอนามัยโลกสั่งซื้อจากบริษัทเมอร์ค ชุดละประมาณ 300 บาท ถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับราคาที่สหรัฐฯ สั่งซื้อในราคาชุดละ 700 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 21,000 บาท โดยสหรัฐฯ สั่งซื้อไปแล้ว 1,700,000 ชุด

 

โดย อังกฤษ เป็นประเทศแรกในโลกที่อนุมัติใช้ยา โมลนูพิราเวียร์ ต้านไวรัสโควิด-19

 

 

เทียบคุณสมบัติ \"Paxlovid-Molnupiravir\" ไทยซื้อใช้เป็นยา \"รักษาโควิด-19\"

 

ยา Paxlovid

 

Paxlovid ยาเม็ดต้านไวรัสโควิด-19 ตัวใหม่ ลำดับที่ 2 ของโลก มีประสิทธิผลในการลดการป่วยหนัก จนต้องเข้าโรงพยาบาลได้ถึง 89%  เป็นของไฟเซอร์ อิงค์ เป็นยาชนิดรับประทาน วันละ 2 ครั้ง จำนวน 5 วัน ทางไฟเซอร์ จะยื่นขออนุมัติใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน (EUA) ต่อ อย.สหรัฐฯ (USFDA) ในเดือน พ.ย.นี้ หรือก่อน 25 พ.ย.

 

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Paxlovid เริ่มพัฒนามาจากยาเดิมที่บริษัท Pfizer วิจัยขึ้น เพื่อรักษาโคโรนาไวรัสลำดับที่ 5 ที่ก่อให้เกิดโรค SARS และมีการระบาดในปี 2002 โดยเป็นยาฉีด การพัฒนาครั้งนี้ นำมาใช้เพื่อต่อต้านไวรัสโคโรน่าลำดับที่ 7 ซึ่งก่อโรคโควิด โดยเริ่มงานวิจัยมาตั้งแต่กรกฎาคม 2563 เป็นยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์ ที่ใช้ในการเพิ่มจำนวนของไวรัส ทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวนก่อโรคไม่ได้ ซึ่งยากลุ่มนี้ ได้ผลดีในการต้านไวรัสก่อโรคเอดส์ หรือเอชไอวี (HIV) มาแล้ว

 

ขั้นตอนการทำงาน

 

  1. ไวรัสจะเข้าไปในเซลล์มนุษย์
  2. สารพันธุกรรมของไวรัสคือ RNA จะแยกตัวออกมาจากไวรัส โดยยังอยู่ในเซลล์มนุษย์
  3. RNA จะทำการสร้างโปรตีนพอลิเพปไทด์ ( Polypeptide)
  4. เอนไซม์ โปรตีเอส ( Protease ) จะมาตัด พอลิเพปไทด์ ( Polypeptide) ให้เป็นท่อนเล็ก ๆ เพื่อประกอบกันเป็นไวรัสตัวใหม่รุ่นลูก เป็นการเพิ่มจำนวนและก่อให้เกิดโรค
  5. ยาต้านไวรัส แพกซ์โลวิด (Paxlovid) เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าว (Protease inhibitor) จึงทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้

 

ผลการศึกษาในเฟส 2/3 ซึ่งยังไม่ได้ดีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ พบว่าได้ผลดีต่อไวร้สกลายพันธ์ รวมทั้งสายพันธุ์เดลต้าด้วย การให้ยารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 เม็ด ร่วมกับยา "ริโทนาเวียร์" Ritonavir ซึ่งจะออกฤทธิ์ชะลอการสลายตัวของยา Paxlovid ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นานขึ้น พบว่า ถ้าให้ยาเร็วกายใน 3 วันแรกหลังติดเชื้อ มีประสิทธิผลสูงถึง 89%

 

ไฟเซอร์ พร้อมมอบสูตรผลิตยารักษาโควิด ให้แก่ประเทศต่าง ๆ ตามรอย "เมอร์ค"

 

การมอบช่วงสิทธิบัตรการผลิตยาดังกล่าว จะทำให้ยาโมลนูพิราเวียร์มีราคาถูกลงเหลือเพียงคอร์สละ 20 ดอลลาร์ หรือราว 650 บาท ขณะที่รัฐบาลสหรัฐซื้อยาดังกล่าวจากเมอร์ค ในราคาคอร์สละ 700 ดอลลาร์ หรือมากกว่า 23,000 บาท ซึ่งอาจทำให้ยา "Paxlovid" ของไฟเซอร์ ที่คาดว่าราคาใกล้เคียงกัน มีราคาต่ำลงมาพอ ๆ กัน

 

 

 

ข่าวยอดนิยม