โควิด-19

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ "เดลตาพลัส" แพร่เชื้อเร็ว-หลบภูมิคุ้มกันได้ดี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ "เดลตาพลัส" ที่แพร่เชื้อได้เร็ว และ หลบภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า หลังพบผู้ติดเชื้อในไทยแล้ว 1 ราย

จากกรณีที่ กระทรวงสาธารณสุข แถลงว่า ในประเทศไทย มีการพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาพลัส เป็นชาย 1 ราย เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่ขณะนี้รักษาหายแล้วนั้น รวมทั้งในประเทศอังกฤษ ก็พบว่า ในช่วง 28 วันที่ผ่านมา พบการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ AY.4.2 หรือ เดลตาพลัส ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลตา ในประเทศ เพิ่มสูงขึ้น 6% แต่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่ได้ยกระดับ แต่เป็นการให้ความสำคัญที่จะจับตามองเท่านั้น ขณะเดียวกัน 1 พ.ย.2564 ประเทศไทย เตรียม "เปิดประเทศ"
เพื่อรับนักท่องเที่ยว ทำให้หลายคนน่าจะเกิดความกังวลใจไม่น้อย "คมชัดลึกออนไลน์" ได้รวบรวมข้อมูล เพื่อให้รู้จักโควิดสายพันธุ์ เดลตาพลัส มากขึ้น


 

โควิดสายพันธุ์เดลตา คืออะไร

 

โควิดสายพันธุ์เดลตา (Delta) พบครั้งแรกในอินเดีย มีความสามารถในการจับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น ติดง่ายขึ้น แพร่กระเชื้อได้ง่าย และรวดเร็ว และยังมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เดลตาพลัส (Delta Plus) ที่มีคุณสมบัติหลบภูมิคุ้มกันได้ดี ติดต่อเชื้อได้ง่ายแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) ซึ่งในปัจจุบันพบว่า มีการระบาดมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลก

 

จากข้อมูล พบว่า ไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตา สามารถแพร่กระจายได้ง่าย โดยใช้เวลา 5 – 10 วินาที หากอยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือพบเจอผู้ติดเชื้อ เชื้อ ก็สามารถแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นได้ และเชื้อยังสามารถลอยอยู่ในอากาศได้ถึง 16 ชั่วโมง แต่โควิดสายพันธุ์เดลตาพลัส มีการหลบภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า สายพันธุ์เดลตา 

 

ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ "เดลตาพลัส" แพร่เชื้อเร็ว-หลบภูมิคุ้มกันได้ดี
 

 

อาการโควิดสายพันธุ์เดลตา 

 

จากสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ขณะนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ของผู้ป่วย พบว่า เป็นสายพันธุ์เดลตา และยังมีแนวโน้มของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาการของสายพันธุ์เดลตา มีอาการคล้ายไข้หวัด ดังนี้

 

  • ปวดศีรษะ
  • มีน้ำมูก
  • เจ็บคอ
  • มีไข้
  • ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
  • อาการคล้ายไข้หวัด

 

เชื้อเดลตาพลัส เพิ่มอัตราการเสียชีวิต ติดเชื้อ หรือดื้อวัคซีนหรือไม่

 

จากข้อมูลของรัฐบาลอินเดีย พบว่า เชื้อกลายพันธุ์เดลตาพลัส เพิ่มศักยภาพในการระบาด เนื่องจากสามารถเข้าไปเกาะติดกับเซลล์ของปอดได้ดี และยังลดความสามารถของภูมิคุ้มกันลงด้วย อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่า การกลายพันธุ์นี้ จะมีผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนหรือไม่ แต่ก็มีคำเตือนจากจูเลียน ถัง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจแห่งมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ที่ระบุว่า เชื้อกลายพันธุ์ชนิดนี้ อาจจะสามารถหนีภูมิจากวัคซีนได้ โดยวัคซีนสำหรับต้านเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ ถูกออกแบบมาเพื่อฝึกให้ร่างกายรู้จักตัวหนามโปรตีน หรือบางส่วนของเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อกลายพันธุ์เดลตาพลัส มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้ด้วย แต่ในเวลานี้ ก็ยังคงไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ ที่จะตัดสินหรือหาข้อสรุปในประเด็นนี้ได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก ยังต้องเฝ้าระวัง และจับตามองต่อไป

 

 

ที่มา : โรงพยาบาลศิครินทร์

        : BBC 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ