โควิด-19

"โควิดหายแต่ไตพัง" แม้แต่ในผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวก็อาจมีปัญหา 6 เดือนแรกเช็ค

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"โควิดหายแต่ไตพัง" ผู้ป่วย โควิด-19 กลุ่มสีเขียว อาจมีปัญหาเกี่ยวกับไตได้แม้อาการไม่หนักหรือไม่มีอาการ การตรวจสุขภาพเป็นประจำและติดตามผลภายในช่วง 6 เดือนแรกจึงสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการรักษาอาการโควิดคงค้างต่าง ๆ

 

เกาะติดวิกฤติ COVID-19 "โควิดหายแต่ไตพัง" วันนี้ 25 ตุลาคม 2564 ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงาน เมื่อเวลา 12.30 น. สถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 พบ ผู้ป่วยรายใหม่ 8,675 ราย หายป่วยแล้ว 1,712,890 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,830,294 ราย เสียชีวิตสะสม 18,705 ราย ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 24 ตุลาคม 2564 มีผู้รับวัคซีน โควิด-19 สะสมทั้งหมด จำนวน 70,505,802 โดส โดยวันที่ 24 ตุลาคม 2564 มีผู้รับการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 118,658 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 96,366 ราย และ เข็มที่ 3 จำนวน 11,154 ราย

 

 

 

 

โควิดหายแต่ไตพัง, โควิด-19, ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, ไต

 

โควิดหายแต่ไตพัง, โควิด-19, ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, ไต

 

โควิดหายแต่ไตพัง, โควิด-19, ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, ไต

 

 

ด้าน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Royal Academy เผยแพร่บทความ "โควิดหายแต่ไตพัง" ระบุ แม้ว่าโรคโควิด-19 จะเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ แต่เชื้อไวรัสโคโรนาก็สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะสำคัญอื่น ๆ และขัดขวางการทำงานของอวัยวะเหล่านั้นได้เช่นกัน หนึ่งในอวัยวะที่สำคัญ คือ ไต ที่มีตัวรับในเซลล์ซึ่งทำให้ไวรัสกลายพันธุ์เกาะติดง่ายและแพร่กระจายได้ดีเช่นเดียวกับที่พบในปอดและหัวใจ การเฝ้าระวังและสังเกตอาการจึงสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่อเชื้อไวรัสลามไปที่ไตอาจทำให้เป็นไตวายระยะสุดท้าย (End stage kidney disease, ESKD)

 

ผศ. นพ. ซิยาด อัล-อาลี (Ziyad Al-Aly) หัวหน้าการวิจัยและนักไตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า ผู้ที่หายจากโรคโควิด-19 มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตในช่วงเดือนแรกที่หายป่วย แต่อาจจะไม่รู้สึกเจ็บปวดหรือมีอาการเด่นชัด เพราะการติดเชื้อทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง ซึ่งอาจลุกลามไปสู่กลุ่มอาการภาวะพายุไซโตไคน์ (Cytokine Storm) ไตวายเฉียบพลัน (acute tubular necrosis) โรคเนื้อเยื่อไตอักเสบ (tubulointerstitial nephritis) และรุนแรงถึงขั้นเป็นโรคไตเรื้อรังหรือโรคไตวายระยะสุดท้ายได้

 

 

 

 

นอกจากนี้ ปัญหาการแข็งตัวของเลือดที่มักพบในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ก็อาจรบกวนการทำงานของไตได้ ที่สำคัญคือไตมีความไวสูงต่อการอักเสบหรือการให้ยากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในโรงพยาบาลจึงตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะมากกว่าผู้ป่วยโรคอื่น ๆ และมีความจำเป็นในการฟอกไต

ผู้ป่วย โควิด-19 กลุ่มสีเขียว อาจมีปัญหาเกี่ยวกับไตได้แม้อาการไม่หนักหรือไม่มีอาการ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้สังเกตอาการภายนอกประกอบ เช่น ปัสสาวะไม่สุด มีอาการบวมที่ข้อเท้า ขา และรอบดวงตา เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก รู้สึกสับสน คลื่นไส้และชัก อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่ต้องระวังว่ามีระดับโปรตีนในปัสสาวะสูงและการทำงานของเลือดผิดปกติ ส่วนผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนั้น ไตมักจะมีประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำกว่าปกติอยู่แล้ว จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์

 

 

การตรวจสุขภาพเป็นประจำและติดตามผลภายในช่วง 6 เดือนแรกจึงสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการรักษาอาการโควิดคงค้างต่าง ๆ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ก็จัดตั้งคลินิกเพื่อให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพระยะยาวที่เป็นผลมาจากโรคโควิด-19 อาทิ อาการผิดปกติจากระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ลิ่มเลือดอุดตัน และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการผิดปกติจากระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ Chulabhorn Royal Academy

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ