โควิด-19

ใช้การ "ทหาร" ปราบโรค นักวิชาการ มึนตึ๊บ หลังตั้ง ศบค.ชายแดนใต้ คุมโควิด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ใช้การ "ทหาร" ปราบโรค นักวิชาการ มึนตึ๊บ หลังตั้ง ศบค.ชายแดนใต้ คุมโควิด ระวังเข็ดเหมือน ศบค.กทม. แนะ วางอำนาจ ปล่อยหมอทำงาน

 

จากกรณีมีคำสั่งนายกรัฐมนตรี เรื่องจัดตั้งศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด - 19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์)เป็นผู้อำนวยการศูนย์ 

 

ล่าสุด 18 ตุลาคม 2564 ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม พอพูดถึงจังหวัดชายแดนใต้ ฝ่ายความมั่นคงจะเทคแอ็คชั่นมากเป็นพิเศษ เพราะยังคิดถึงเรื่องการจัดการปัญหาความไม่สงบ การตั้ง ศบค.ชุดนี้ ขึ้นมา ขอเรียกว่า "ศบค.ชายแดนใต้" ก็คือภาพสะท้อนเรื่องการเอาทหารไปคุมโรค ซึ่งเป็นเรื่องพิลึกกึกกือ ผิดฝาผิดตัว อันที่จริง ปัญหาความไม่สงบ ก็ให้ "ทหาร" ทำไป เพราะเป็นความถนัดของท่าน ส่วนเรื่องโรคระบาดก็ให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้นำ เพราะเป็นงานของแพทย์ พยาบาล แบบนี้ น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า 
 

 

ตอนคุมโควิด 19 ที่ กรุงเทพ และปริมณฑล ที่มีการตั้ง ศบค.กทม.ขึ้นมาดูแล ก็ใช้โมเดลเดียวกันกับที่กำลังจะใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ผลลัพธ์ก็เห็นกันอยู่ว่าเป็นอย่างไร เข็ดหรือไม่ เรื่องคุมโรค มันควรจะต้องเพิ่มอำนาจให้หมอ ให้เป็นผู้นำไปเลย เพราะมันเป็นงานเขา เขารู้ลึก รู้จริง แต่ความพยายามที่ผ่านมา คือการเพิ่มอำนาจให้กองทัพ ให้กองทัพไปสู้กับเชื้อโรค ยิ่งในพื้นที่ ที่มีความอ่อนไหวสูง มีความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันเป็นทุนเดิม มีเรื่องศาสนามาเกี่ยวข้อง อย่าง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ควรจะให้หมอหรือ"ทหาร"มาดูแลเรื่องสาธารณสุขมากกว่ากัน คำถามนี้ วิญญูชนมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว  

 

อย่าคิดว่า"ทหาร"จะทำได้ทุกอย่าง ต้องไว้ใจหน่วยงานอื่น ๆ กระทรวงสาธารณสุขไทยไม่เป็นรองใครอยู่แล้ว ทั่วโลกยอมรับความสามารถ มีของดี ต้องรู้จักใช้ นี่ไม่ใช่เรื่องความมั่นคงท่านต้องถอยไปบ้าง


 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ